อ.เจษฎา เฉลย ที่มาปรากฏการณ์ท้องฟ้าสีแดง
จากกรณีที่เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา โลกออนไลน์ได้มีการแชร์ภาพท้องฟ้าสีส้มแดงสว่าง บริเวณกรุงเทพฯ โดยเฉพาะบริเวณท้องสนามหลวงและพระบรมมหาราชวัง
โดยปรากฏการณ์ดังกล่าว คนโบราณเชื่อกันว่าเป็นสัญญาณเตือนสภาพอากาศ หากเกิดในเวลาเช้าหรือหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้วก็จะไม่ออกเรือ เพราะเป็นสัญญาณเตือนว่าจะมีพายุและลมแรงเช่น แต่ถ้ามีสีแดงช่วงโพล้เพล้ ระหว่างพระอาทิตย์ตกดิน เชื่อว่าเช้าวันต่อมาจะอากาศดี
ล่าสุด (28 ต.ค.) รายการเรื่องเช่าเช้านี้ ทางช่อง 3 รายงานว่า ได้มีการสอบถามไปที่ อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าว
อาจารย์เจษฎา เปิดเผยว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากการกระเจิงของแสง เนื่องจากช่วงเย็นแสงต้องผ่านชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นกว่าตอนกลางวัน แสงสีม่วง สีฟ้า ก็เลยกระเจิงออกไป ทำให้แสงที่เราเห็นมีแต่แสงสีส้มกับแสงสีแดง และยังเกิดจากแสงจากตัวเมืองสะท้อนกับเมฆจนเกิดเป็นสีส้มแดง สังเกตจากภาพถ่ายส่วนมากที่ถ่ายได้จากกรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้น
ขอขอบคุณภาพจากทวิตเตอร์ @watcharate, @thanya9234, @ponn_differ, @janejira1411, @artbeemkawaii และ @PattyPSora