สวยแต่รูป..จูบไม่หอม! ต้นตีนเป็ดออกดอกบานสะพรั่งทั่วเมืองสุราษฎร์ฯ ดมแล้วมึนตึ้บ

สวยแต่รูป..จูบไม่หอม! ต้นตีนเป็ดออกดอกบานสะพรั่งทั่วเมืองสุราษฎร์ฯ ดมแล้วมึนตึ้บ

สวยแต่รูป..จูบไม่หอม! ต้นตีนเป็ดออกดอกบานสะพรั่งทั่วเมืองสุราษฎร์ฯ ดมแล้วมึนตึ้บ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ต้นตีนเป็ดออกดอกสีขาวบานสะพรั่งสวยงามทั่วเมืองสุราษฎร์ธานี ด้านสังคมโลกออนไลน์ส่วนใหญ่ออกความเห็นเรื่องกลิ่นที่แรงจนออกการวิงเวียนศีรษะมึนงง

(23 พ.ย.) สภาพอากาศได้เริ่มปรับตัวเข้าช่วงปลายฝน ส่งผลให้ขณะนี้ทั่วทั้งเมืองสุราษฎร์ธานี มีต้นพญาสัตบรรณ หรือ ต้นตีนเป็ด ที่ปลูกไว้ตามริมถนนหลายสาย กว่า 100 ต้น กำลังออกดอกสีขาวบานสะพรั่ง มองดูสวยงาม แต่ปรากฏว่า สิ่งที่มาพร้อมกับความสวยงาม คือ กลิ่นของดอกพญาสัตบรรณ หรือ "ดอกตีนเป็ด" ที่ส่งกลิ่นตลบอบอวล

โดยที่บริเวณถนนเส้นบายพาส-เลี่ยงเมืองและ เส้นสุราษฎร์ฯ-นาสาร พบว่าตลอดเส้นทาง มีการปลูกต้นตีนเป็ดไว้จำนวนมาก แต่ละต้นระยะห่างกันไม่เกิน 3 เมตร และทุกต้นกำลังออกดอกสีขาวเป็นพุ่มบานเต็มต้น ซึ่งต้นพญาสัตตบรรณ หรือ "ต้นตีนเป็ด" ได้มีการนำมาปลูกไว้เพื่อให้ร่มเงา และเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวก็จะออกดอกส่งกลิ่นฟุ้งกระจายทันที กลิ่นนี้หากมีไม่มากก็จะหอมเย็นสดชื่น แต่พอทุกต้นออกดอกพร้อมกัน ส่งกลิ่นพร้อมกันก็จะฉุนเกินไป

ทางด้านกระแสต่อต้านกลิ่นของดอกตีนเป็ด ที่กำลังบานสะพรั่งในช่วงเดือน พ.ย. นี้ ได้รับความสนใจจากสังคมโลกออนไลน์ชาวสุราษฎร์ธานีอย่างมาก ในกลุ่มเฟซบุ๊กสุราษฎร์ฯ มีผู้โพสต์ภาพและข้อความแสดงความคิดเห็นเรื่องผลกระทบจากกลิ่นของดอกตีนเป็ด ที่นิยมปลูกตามถนนสายหลักและสายรองเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่เป็นความเห็นเรื่องกลิ่นที่แรงจนออกการการมึนเวียนศีรษะ ขณะที่หลายคนเรียกร้องให้ตัดทิ้งแล้วปลูกต้นไม้อื่น ๆ แทน

สำหรับสรรพคุณของต้นตีนเป็ดหรือต้นพญาสัตบรรณ ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้เปลือกต้นพญาสัตบรรณรักษาโรคบิด ลำไส้ติดเชื้อ และมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ในประเทศอินเดียมีการนำส่วนต่าง ๆ ของต้น พญาสัตบรรณมาใช้เป็นพืชสมุนไพรเช่นใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคมาลาเรียในชื่อ Ayush-64 ซึ่งมีขายตามท้องตลาด นำยางสีขาวและใบรักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ

นอกจากนี้ ต้นพญาสัตบรรณหรือ "ต้นตีนเป็ด" ยังเป็นแหล่งของสารอัลคาลอยด์ที่สำคัญในเกาะบอร์เนียว นำเนื้อไม้ไปทำทุ่นของแหและอวน พญาสัตบรรณเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที สารสกัดจากใบสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้ สารสกัดจากเปลือกลำต้นสามารถยับยั้งการเจริญของข้าว ข้าวโพด คะน้า ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมันได้

ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก BrightTV

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook