วิศวกรอุโมงค์ผันน้ำ เผยนาทีดินถล่มทับ 2 นักธรณีวิทยาดับ

วิศวกรอุโมงค์ผันน้ำ เผยนาทีดินถล่มทับ 2 นักธรณีวิทยาดับ

วิศวกรอุโมงค์ผันน้ำ เผยนาทีดินถล่มทับ 2 นักธรณีวิทยาดับ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิศวกรบริษัทเอกชนเผยนาทีเหตุการณ์ดินในอุโมงค์ผันน้ำเขื่อนแม่งัด-แม่กวงถล่ม ทับ 2 นักธรณีวิทยาเสียชีวิต

ความคืบหน้ากรณีอุโมงค์ผันน้ำเขื่อนแม่งัด-แม่กวง ถล่มทับ 2 นักธรณีวิทยาของบริษัท อิตาเลี่ยนไทย หนึ่งในผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการฯ สำหรับที่เกิดเหตุนั้นเป็นอุโมงค์เข้า-ออก หมายเลข 6 เป็นอุโมงค์สำหรับใช้ในการลำเลียงขี้หินจากอุโมงค์ส่งน้ำออกมาในระหว่างการก่อสร้างเป็นอุโมงค์เข้า-ออก ได้ 677 เมตร คิดเป็นร้อยละ 90

เหลือเพียงอีกไม่กี่เมตร ก็จะแล้วเสร็จ แต่จุดเกิดเหตุตรงบริเวณความลึก 639 เมตร ซึ่งเพิ่งระเบิดหินช่วงดังกล่าวเมื่อวานนี้ และอยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบโดยนักธรณีวิทยาและทำการใส่ค้ำยันและฉีดคอนกรีตแล้ว แต่กลับเกิดเหตุดังกล่าวขึ้น

ล่าสุด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า (2 มี.ค.) นายสมหมาย บัวคำวิศวกร โครงการอิตาเลี่ยนไทย เล่าเหตุการณ์ว่า สาเหตุคือ ที่บริเวณอุโมงค์จุดเกิดเหตุนั้นช่วงประมาณ 2-3 เมตร จากการตรวจสอบพบว่ายังเป็นชั้นหินแข็งอยู่ ซึ่งทางผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ได้แจ้งว่าในจุดดังกล่าวยังมีความปลอดภัยดี จนกระทั่งตอนเกิดเหตุจากการตรวจสอบพบว่ามีน้ำอยู่บ้างแต่ไม่มาก แล้วกำลังลงความเห็นกันว่ายังคงมีความปลอดภัยอยู่

แต่ภายหลังจากเกิดเหตุนั้นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่เห็นในครั้งแรก คือมีน้ำจากใต้ดินชั้นบาดาลโผล่มาเป็นจำนวนมาก แล้วเกิดดันหินที่อยู่บริเวณเหนือหัวของผู้เสียชีวิตที่กำลังสำรวจอยู่จนหล่นลงมาทับร่าง

จึงเป็นเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงว่าจะมีโพรงน้ำบาดาลที่รุนแรงอยู่ในจุดดังกล่าว และขณะเดียวกันก็มีน้ำไหลออกมาเป็นจำนวนมาก และสาเหตุคือแนวรอยเลื่อนของหิน ที่มีน้ำไหลเข้ามาตามรอยเลื่อนมาดันแผ่นหินที่อยู่ข้างหลังจนกระทั่งเกิดถล่มลงมา

ขณะเดียวกันการดำเนินการก่อสร้างไปครั้งละ 1-2 เมตรนั้น จะต้องผ่านการตรวจสอบจากทีมของผู้เสียชีวิต ในการที่จะตรวจสอบและลงความเห็นก่อนการก่อสร้าง โดยทีมสำรวจนั้นจะมี 4 คน ซึ่งจะผลัดกันไปสำรวจและวิเคราะห์ก่อนจะนำข้อมูลมาให้กับทางเจ้าหน้าที่ก่อสร้าง

โดยก่อนหน้านี้ก็ตรวจพบว่ามีรอยน้ำไหลอยู่บ้าง เพียงแต่ไม่มากและที่ผ่านมาก็เป็นไปตามที่ทางผู้เสียชีวิตได้วิเคราะห์ให้ทุกครั้งว่าต่อไปลักษณะหินจะเป็นอย่างไร แต่ในครั้งนี้พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันมาก

โดยชั้นหินที่ตรวจพบที่เกิดเหตุเป็นหินโคลน หินซิล หรือ ภาษานักธรณีวิทยาเรียกว่าหินซิลท์สโตน และ มัสสโตน ซึ่งก็คือหินดินดาน หรือหินตะกอน แต่เฉพาะหินก็ไม่เท่าไหร่ แต่น่าจะมาจากรอยเลื่อนที่ทำให้หินเหล่านี้มันขยับแล้วขาดออกจากกัน จึงทำให้มีน้ำไหลเข้ามาตามรอยเลื่อนเหล่านี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook