ไขความกระจ่าง!! ตกรางรถไฟฟ้าจะโดนไฟช็อตหรือไม่..?

ไขความกระจ่าง!! ตกรางรถไฟฟ้าจะโดนไฟช็อตหรือไม่..?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของ น.ส.รสรินทร์ อายุ 31 ปี สาวท้อง 6 เดือนชาว จ.น่าน ที่เกิดอาการวูบแล้วตกลงไปในรางรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ทำให้ถูกรถไฟทับร่างจนเสียชีวิต เมื่อตอนเช้าของวันที่ 19 มิถุนายน 60

โดยสามีของผู้เสียชีวิต เผยว่าผู้ตายเป็นพนักงานบัญชีย่านสีลม กำลังตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน เพิ่งทำอัลตร้าซาวน์และทราบว่าลูกในครรภ์เป็นผู้ชาย ซึ่งที่ผ่านมาผู้ตายมักมีอาการปวดศีรษะและวูบอยู่เป็นประจำ

เนื่องจากเป็นการตั้งท้องลูกคนแรก เชื่อว่าเป็นสาเหตุทำให้เสียหลักพลัดตก เพราะระหว่างอยู่ในสถานีไม่มีอาการเครียด เนื่องจากในมือยังถือแอปเปิ้ลอยู่และครอบครัวยืนยันว่าที่ผ่านมาไม่เคยมีปัญหาใดๆ

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้สังคมตั้งถามว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เกิดจากสาเหตุใด อาจเป็นเพราะระบบความปลอดภัยของสถานีหรือไม่? ที่สำคัญหากตัวเราตกลงไปบนรางรถไฟฟ้าจะโดนไฟฟ้าช็อตหรือเปล่า และมีวิธีเอาตัวรอดอย่างไร

erfger

ทาง Sanook! News ได้ติดต่อขอมสัมภาษณ์ นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง รองกรรมการ ผู้อำนวยการบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เปิดเผยว่าต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตด้วยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางกรรมการบริหาร,ผู้บริหารและพนักงานได้ให้การช่วยเหลือเยียวยาเบื้องต้นเป็นเงินค่าทำศพ 40,000บาท และเงินที่ทางพนักงานช่วยกันรวบรวมอีกประมาณ 20,000 บาท

รวมเป็นเงิน 60,000 บาท และทางเราได้ให้การดูแลช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตอย่างเต็มที่โดยดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายศพไปที่ จ.น่าน และเป็นเจ้าภาพในการสวดศพเบื้องต้น นอกจากนี้ทางบริษัทยังทำประกันชดเชยค่าเสียหายไว้ด้วยซึ่งต้องรอผลสรุปของรูปคดีอีกทีนึง

ด้านมาตรการการป้องกันความปลอดภัยทางเรามี 3 มาตรการที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว

อันดับแรกความพร้อมของพนักงานแอร์พอร์ตลิงค์ซึ่งเรามีการอบรมพนักงานเป็นประจำและเน้นย้ำเสมอว่าหากมีผู้โดยสารตกลงไปที่รางต้องทำให้พื้นที่ปลอดภัยก่อนโดยการกดปุ่มหยุดรถฉุกเฉิน ซึ่งขณะที่เกิดเหตุการณ์ รปภ.ฝั่งตรงข้ามเห็นเหตุการณ์ก่อนจึงกดปุ่มหยุดรถฉุกเฉินตามมาด้วยกดปุ่มฉุกครั้งของ รปภ.ฝั่งเดียวกัน รวมทั้งพนักงานขับรถไฟฟ้าที่เห็นเหตุการณ์ก็กดปุ่มฉุกเฉินด้วย

ส่วนการยืนล้ำของเส้นเหลืองทางพนักงานรักษาความปลอดภัยของเรามีความเข้มงวดและจับตาดูตลอด หากมีผู้โดยสารยืนล้ำอยู่ รปภ.จะเป่านกหวีดเตือน และในชั่วโมงเร่งด่วนทางเราจะเพิ่ม รปภ.ขึ้นเป็น 2 คนประกบซ้ายขวา เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร

ซึ่งหลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ทางเราจะเพิ่ม รปภ.เป็น 3 คนต่อชานชาลาโดยยืนอยู่ตรงกลางเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต

yhty

มาตรการที่สองในการควบคุมผู้โดยสารไม่ให้หนาแน่นบนชานชาลา โดยเราจะกันผู้โดยสารไว้ที่ชั้นจำหน่ายตัว และค่อยๆปล่อยขึ้นไปทีละกลุ่ม ซึ่งเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยไม่ให้ผู้โดยสารหนาแน่นบนชานชาลาจนเกินไป

ส่วนมาตรการระยะยาวที่จะสามารถป้องกันผู้โดยสารตกลงไปในรางรถฟ้าได้นั้น ทางเราจะมีการติดตั้งแผงประตูกั้นชานชาลาซึ่งได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้วก่อนจะเกิดเหตุการณ์นี้ ซึ่งขั้นตอนอยู่ในช่วงการประมูลราคา เมื่อได้ผู้รับจ้างแล้วจะเริ่มติดตั้งซึ่งมีกำหนดการแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 61 แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ทางเราจะเร่งรัดให้ผู้รับเหมาติดตั้งให้แล้วเสร็จภายในปีนี้

ส่วนคำถามที่หลายคนสงสัยว่ารางรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์มีกระแสไฟฟ้าหรือไม่นั้น และตกลงไปจะโดนไปช็อตหรือเปล่า ขออธิบายดังนี้ครับ

ทาง BTS และ BM จะมีการจ่ายไฟที่ระดับราง แต่ทางแอร์พอร์ตลิงค์จะมีกระแสไฟยู่ด้านบนเหนือรางสูงประมาณ 2 เมตรเกือบถึง 3 เมตรหากลงไปที่รางจะไม่โดนไฟดูด แต่ไม่ใช่ว่าจะปลอดภัยซะทีเดียวเพราะว่ารถไฟของแอร์พอร์ตลิงค์วิ่งด้วยความเร็วสูงคือ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ฉะนั้นหากเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ต้องกดปุ่มหยุดรถไฟฉุกเฉินก่อนเพื่อให้พื้นที่ตรงนั้นปลอดภัยถึงจะลงไปช่วยผู้ประสบเหตุได้

1e32

ซึ่งทาง รปภ.ของเราได้รับการอบรมอย่างดีกับการรักษาความปลอดภัยตรงนี้ และขอย้ำว่าหากยังไม่กดปุ่มหยุดรถไฟก็ไม่ควรลงไปเพื่อให้การช่วยเหลือเด็ดขาดเพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้ทั้งผู้ประสบเหตุและผู้ให้การช่วยเหลือ เนื่องจากว่ารถไฟวิ่งด้วยความเร็วสูง

แต่ถ้าหากเกิดเหตุสุดวิสัยจนตัวเองตกลงไปบนรางรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ก็ให้พลิกตัวออกมาด้านข้างติดกับชานชาลา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ รปภ.ให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนหลังจากกดปุ่มหยุดรถไฟฉุกเฉินเรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องยอมรับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยจริงๆ เนื่องจากว่าผู้เสียชีวิตได้ตกลงไปบนรางรถไฟช่วงต้นสถานีทำให้รถไฟไม่สามารถเบรกได้ทัน เนื่องจากความเร็วที่รถเข้ามาในตัวชานชาลาคือ 60กม./ชม. ต้องใช้ระยะประมาณ 100 เมตร รถจึงจะหยุดได้สนิท

และถ้าหากรถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดคือ 160 กม./ชม. ต้องใช้ระยะเบรกถึง 800 เมตร รถถึงจะหยุดสนิท ทั้งนี้ต้องขอแสดงความเสียใจจริงๆกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทางแอร์พอร์ตลิงค์จะปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยขึ้นอีก นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กล่าวทิ้งท้าย

133ffdคลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด

จากข้อมูลข้างต้นจะพบว่ารถไฟฟ้า Airport link จะใช้ระบบไฟฟ้าแบบสายส่งเหนือหัวที่มีกระแสไฟฟ้า AC 25000 โวลท์ จึงทำให้บนรางไม่มีกระแสไฟฟ้า

แต่รถไฟฟ้า BTS และ MRT ใช้ระบบไฟฟ้าแบบใช้รางที่สามที่มรกระแสไฟ DC 750 โวลท์   ซึ่งสังเกตได้ง่ายๆ คือรางจะเป็นสีขาวๆอยู่ตรงกลางและอยู่สูงกว่ารางเหล็กที่รถไฟวิ่ง ซึ่งถ้าเราตกลงไปโดนรางที่สามก็อาจจะโดนไฟช็อตได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook