สาทิตย์ รื้อผัง-เปลียนโลโก้เอ็นบีที! ปัดกดดันดิจิตอล มีเดียฯ เลิกผลิต

สาทิตย์ รื้อผัง-เปลียนโลโก้เอ็นบีที! ปัดกดดันดิจิตอล มีเดียฯ เลิกผลิต

สาทิตย์ รื้อผัง-เปลียนโลโก้เอ็นบีที! ปัดกดดันดิจิตอล มีเดียฯ เลิกผลิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"สาทิตย์" ยัน ดิจิตอล มีเดียฯ ยกเลิกสัญญาร่วมผลิตข่าว ไม่ส่งผลกระทบต่อสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที กรมประชาสัมพันธ์ผลิตเองได้ แต่ยังติดปัญหาเรื่องเงินที่จะจ้างทีมงาน

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ บริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมผลิตรายการของสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ขอยกเลิกสัญญาในการร่วมผลิตว่า ทราบว่าผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวได้ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมนี้ เป็นต้นไป

"ขอชี้แจงว่าที่ผ่านมาสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีดำเนินการปรับปรุงเรื่องผังรายการมาตั้งแต่เข้ามาบริหารงาน โดยให้ยึดหลักว่าต้องเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ของรัฐควบคู่ไปกับการเปิดพื้นที่ให้สาธารณะ ดังนั้นการยกเลิกสัญญาการร่วมผลิตข่าวจึงไม่ส่งผลต่อการทำงานของสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ขณะเดียวกันสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีจะใช้โอกาสนี้ปรับผังรายการในส่วนที่บริษัทเอกชนดูแลไปในคราวเดียวกัน ซึ่งความตั้งใจเดิมคือได้วางแนวทางไว้ว่าจะเปิดตัวโลโก้และสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีให้เป็น "สถานีโทรทัศน์ของชาติ" อย่างแท้จริงในวันที่ 1 เมษายนนี้ แต่เมื่อมีการยกเลิกสัญญา กรมประชาสัมพันธ์จึงต้องกลับไปดูแลการผลิตข่าวเอง โดยจะกลับไปเน้นข่าวที่เป็นทางการ แยกแยะความเห็นส่วนตัวออกจากข่าว เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ" รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าในส่วนของการจ่ายเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างของกรมประชาสัมพันธ์และบริษัทดังกล่าวอีก 80 คนจะทำอย่างไร นายสาทิตย์ กล่าวว่า เบื้องต้นเท่าที่คุยกับ ผอ.สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ทราบว่าในช่วง 8 ปี ที่ผ่านมา กรมประชาสัมพันธ์ค่อนข้างมีปัญหาและอ่อนแอมาก ซึ่งเงินส่วนใหญ่ที่จะใช้จ่ายลูกจ้างก็มาจากบริษัทดังกล่าว ดังนั้นจึงเชิญอธิบดีและรองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์มาหารือในเรื่องนี้ ว่าจะหาเงินที่จะใช้จ้างลูกจ้างอีกประมาณ 80 คนจากที่ไหน

ต่อข้อถามว่ารัฐบาลสามารถยืนยันได้หรือไม่ว่า หากปรับผังรายการแล้วคุณภาพของการนำเสนอข่าวจะรวดเร็วเหมือนเดิม นายสาทิตย์กล่าวว่า ยืนยันว่าการนำเสนอข่าวจะเป็นทางการ มีความสมดุล รอบด้าน และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าที่ผ่านมากรมประชาสัมพันธ์มีความอ่อนแอ เพราะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซง และพึ่งพิงเอกชนมากขึ้น ทำให้ข้าราชการและลูกจ้างถูกลดบทบาทลงไปมาก ซึ่งจากนี้ถึงเวลาที่ต้องปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น

เมื่อถามว่า ที่ผ่านมาเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล สื่อภาครัฐก็มักจะถูกบีบหรือปิดกั้นการนำเสนอข่าว นายสาทิตย์ กล่าวว่า เรื่องนี้ก็เป็นอีกปัญหาที่ต้องแก้ไข ซึ่งในวันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้ คณะกรรมการปฏิรูปสื่อภาครัฐจะประชุมกันนัดแรก เพื่อศึกษาหารือถึงแนวทางการป้องกันการแทรกแซงทางการเมืองว่า จะปรับรูปแบบการบริหารอย่างไร เช่น จะแยกกรมประชาสัมพันธ์ในส่วนของการเสนอข่าววิทยุและโทรทัศน์ เป็นองค์การมหาชนหรือไม่ นอกจากนี้จะมีองค์กรวิชาชีพสื่อ และนักวิชาการ เข้ามาช่วยกันแก้ปัญหา

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook