“รับน้อง” ต้อนรับหรือเอาคืน จากรุ่นสู่รุ่น

“รับน้อง” ต้อนรับหรือเอาคืน จากรุ่นสู่รุ่น

“รับน้อง” ต้อนรับหรือเอาคืน จากรุ่นสู่รุ่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลายเป็นข่าวครึกโครมอีกครั้งสำหรับการรับน้องแบบพิสดารที่ไม่สร้างสรรค์และยังทำลายประเพณีดีๆที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นอีกด้วย

ดังเช่นกรณีฉาวที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งที่ทำกิจกรรมรับน้อง โดยรุ่นพี่สั่งให้น้องนักศึกษาปีที่ 1 ถอดเสื้อออก ซึ่งน้องคนนี้เป็นสาวประเภทสองใส่เสื้อมา 2 ตัว ถูกรุ่นพี่ถกเสื้อขึ้นมาเกือบถึงหน้าอก จนนักศึกษาคนดังกล่าวต้องใช้มือปิดหน้าอก เพราะรู้สึกอาย และเห็นว่าการรับน้องลักษณะนี้ถือเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสม 

หากย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์การรับน้องที่ได้รับความนิยมและเผยแพร่มาจนถึงปัจจุบันคงหรือไม่พ้นระบบโซตัส (SOTUS) ซึ่งคือระบบรูปแบบหนึ่งของการฝึกนักเรียนนักศึกษาใหม่ในประเทศไทย และใช้เฉพาะในประเทศไทย

download

โดยคำว่า SOTUS เกิดจากการนำอักษรด้านหน้าที่แฝงความหมายมาผสมเป็นคำใหม่

Seniority คือ การเคารพผู้อาวุโส

Order คือ การปฏิบัติตามระเบียบวินัย

Tradition คือ การปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณี

Unity คือ การเป็นหนึ่งเดียว หรือความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกัน

Spirit คือ การฝึกจิตใจ การเสียสละกายและใจ มีน้ำใจเพื่อสังคม

ซึ่งจุดประสงค์ของระบบนี้ คือ การฝึกทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เพิ่งเข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ที่จัดขึ้นโดยรุ่นพี่ในคณะในแต่ละชั้นปี โดยการยึดถือกฎโซตัสทั้งหมด 5 ข้อ

หากรุ่นน้องตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว รุ่นพี่จะอ้างอภิสิทธิในการว้ากหรือการตะโกนด่าและต่อว่ารุ่นน้อง การออกคำสั่งกับรุ่นน้อง เพื่อบังคับให้รุ่นน้องต้องเกรงกลัวรุ่นพี่ หากไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งรุ่นพี่ ก็จะถูกลงโทษทางวินัย จะถูกประณามหรือกลั่นแกล้งต่างๆนานาและใช้อำนาจนี้สั่งลงโทษต่างๆ

untitled-11

ด้วยกฎความเป็นอาวุโสจึงมีรุ่นพี่บางคนใช้อำนาจเกินขอบเขตสั่งลงโทษหรือแกล้งน้องโดยไม่มีเหตุผลกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และที่สำคัญยังปลูกฝังการแกล้งน้องและการเอาคืนน้องจากรุ่นสู่รุ่นจนกลายเป็นสงครามการรับน้องมากกว่าการต้องรับน้องด้วยมิตรไมตรี

แต่อย่างไรก็ตามระบบโซตัสหรือว้ากหากทำตามขอบเขตและใช้อำนาจที่พอดีก็สามารถสร้างความสามัคคีในหมู่คณะได้ ซึ่งอดีตว้ากเกอร์คนหนึ่งที่เคยเป็นรุ่นน้องได้แสดงความคิดเห็นกับทาง Sanook! News อย่างน่าสนใจว่า

“สมัยก่อนตอนที่เป็นเฟรสซี่จะโดนรับน้องด้วยการร้องเพลงประชุมเชียร์เพลงมหาลัย มีการแสดงสันทนาการและจะมีรุ่นพี่ว้ากมาคอยจับผิดเรื่องการแต่งกายเรื่องระเบียบวินัย ซึ่งตอนที่โดนว้ากรู้สึกกดดันอย่างมากหากไม่ทำตามจะรู้สึกเหมือนตัวเองผิดแปลกจากกลุ่มกลายเป็นจุดด้อยจุดด่างพร้อยในรุ่น ช่วงแรกยอมรับว่าไม่ไหวที่ถูกว้ากถูกด่า

tyhj

แต่พอจบหลักสูตรแล้วมารู้ทีหลังว่าเป็นการแสดงของรุ่นพี่เป็นละครที่สมมุติขึ้นเพื่อที่จะทำให้รุ่นน้องรักกัน ซึ่งยอมรับว่าแผนนี้สามารถทำให้รุ่นน้องรักกันได้มีความสามัคคีกัน แต่ในใจลึกๆยอมรับว่าสามารถช่วยได้ 70% ถึงแม้ว่าจะดูสมเหตุสมผล แต่ก็ไม่ได้ชอบซะทีเดียว กิจกรรมนี้ก็คล้ายๆกับการละลายพฤติกรรมของคนที่ไม่เคยรู้จักกันให้รักกันมากขึ้นนั่นเอง

แต่ถ้าหากว่าไม่มีการว้ากเลยมีแต่กิจกรรมสันทนาการมีแต่ประชุมเชียร์ ก็จะไม่ค่อยมีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเลย ฉะนั้นแล้วการมีว้ากก็มีส่วนดีที่ช่วยให้นักศึกษาปี 1 มีระเบียบวินัยมากขึ้นมีการเห็นอกเห็นใจกันหากไม่ร่วมกิจกรรมเพื่อนๆก็ต้องถูกลงโทษทำให้เรารู้สึกเห็นใจกันเป็นห่วงเพื่อนที่ต้องถูกลงโทษเพราะเรา ถือว่าตรงนี้ก็เป็นจุดดีอย่างหนึ่งของว้าก

หลังจากที่เราผ่านจุดนั้นมาแล้วกลายเป็นรุ่นพี่ว้ากแล้วรู้สึกว่าไม่ได้มีอำนาจหรือการอยากเอาคืนน้องเลย แต่ที่เป็นว้ากเพราะอยากแกล้งน้องแบบขำๆมากกว่า ซึ่งเมื่อเราผ่านจุดนั้นมาแล้วทำให้เรารู้ว่าควรใช้อำนาจให้อยู่ในขอบเขตตามที่วางแผนไว้ ไม่ควรใช้คำหยาบ

ddfe

ห้ามโดนตัวน้อง ห้าทำกิริยานักเลงใส่น้อง ไม่ใช้อารมณ์ ไม่ลุแก่อำนาจ ไม่ลงโทษตามอำเภอใจ สิ่งที่ทำทุกครั้งต้องมีเหตุผลให้น้อง เพราะเราเคยเป็นน้องมาก่อนเราถึงรู้สึกถึงหัวอกเค้า เรามีหน้าที่ทำตามบทละครที่วางไว้เท่านั้น พอถึงตอนเฉลยก็จะเป็นฉากจบที่ทุกคนประทับใจ

ส่วนการรับร้องที่ใช้อารมณ์หรือการเอาคืน การแกล้งน้องแบบแรงๆ ยอมรับว่าเคยเห็นและเคยโดนมาเหมือนกัน ซึ่งอารมณ์นั้นทำให้เรารู้สึกว่าถ้าเราเป็นรุ่นพี่จะไม่ทำแบบนั้นกับน้องเลย ส่วนรุ่นพี่ที่ทำแรงๆแบบนั้นคิดว่าเป็นเฉพาะตัวบุคคลมากกว่า 

เพราะหากเป็นที่ระบบก็คงไม่ใช่ เนื่องจากว่าระบบมีการวางมีผลลัพธ์ที่ดีจึงสืบทอดกันมา แต่พวกที่รับน้องไม่สร้างสรรค์คงใช้แต่อารมณ์และความพอใจส่วนตัวล้วนๆ โดยเอาระบบมาอ้างเพื่อทำให้ตัวเองมีอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นที่จะทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจมากกว่า" อดีตว้ากกล่าว

คนที่เคยเป็นรุ่นพี่ย่อมผ่านการเป็นรุ่นน้องมาก่อน หากมีความรู้สึกคงเข้าใจว่าการถูกกระทำถูกกลั่นแกล้งจะรู้สึกเช่นไร เมื่อรับรู้และเข้าใจ แต่ยังยัดเยียดและส่งต่อความรู้สึกแย่ๆให้รุ่นน้อง เมื่อเติบโตขึ้นจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้อย่างไร 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook