บทเรียนของ นักพิพากษ์ บนโลกโซเชียล

บทเรียนของ นักพิพากษ์ บนโลกโซเชียล

บทเรียนของ นักพิพากษ์ บนโลกโซเชียล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ข่าวการเสียชีวิตของนักร้องดังระดับโลก เชสเตอร์ เบนนิงตัน จากวง ลิงกิน พาร์ค ด้วยการฆ่าตัวตาย ด้วยสาเหตุที่คาดว่ามาจาก อาการป่วยโรคซึมเศร้า เป็นข่าวดัง ที่คนให้ความสนใจไปทั่วโลก เป็นสิ่งที่คนทั่วไปคาดไม่ถึง เพราะด้วยชื่อเสียง เงินทองที่สร้างมา ทำให้คนทั่วไปไม่มีทางคาดคิด และยิ่งไม่เข้าใจว่า อาการป่วยโรคซึมเศร้ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด

และด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องเหล่านี้ เกือบทำให้ นักพิพากษ์ บนโลกโซเชียลเกือบฆ่าตัวตายทางสังคมในโลกโซเชียล ไปอย่างน้อยสองคน ในบ้านเรา ซึ่งปรากฏการณ์นี้น่าสนใจและน่าจดจำเป็นบทเรียนสำหรับ คนไทยในยุคที่ โลกความเป็นจริงกับโลกบนสังคมโซเชียลมีความปะปนกันจนแทบแยกไม่ออก และมีผลกระทบกว้างขวางมากมายยากจะควบคุมได้

คนแรก ดีเจดัง ผมฟู ในนามที่รู้จักกันดี ดีเจพล่ากุ้ง ที่เกิดกระแสดรามา ร้อนแรง เมื่อ เจ้าตัวออกมาพิพากษ์ ตัดสิน การกระทำของนักร้องหนุ่มคนดัง จนเกิดการตอบโต้อย่างเผ็ดร้อน

adwd

“ความเห็นส่วนตัวผมครับ ตรงๆนะ พี่แกไม่น่าทำแบบนี้ด้วยประการทั้งปวง บอกเลยว่า ผมไม่เคารพการตัดสินใจของคุณ เลยแม้แต่นิดเดียว”
“เพลงก็เพิ่งจะออกมา !!!! แล้วใครเดือดร้อน !!!!”

“คนที่อยู่เบื้องหลังไง คุณไม่ได้รับรู้อะไรเลย มันเป็นเรื่องส่วนรวมเห้ยยยย ทำแบบนี้โคตรไม่แฟร์ ใครทำงานกลุ่มจะรู้ดี ถ้ามีคนนึงเบี้ยวงาน งานแม่งไม่เดิน มีความขัดแย้ง ความสนุกหายไป เพื่อนๆลำบาก นี่ไง ผลพลอยได้ ไม่สนุกเลย ....... ผมขอ ฝากบอกเพื่อนๆทุกคนเลยนะทั้งในวงการและนอกวงการว่า .... การฆ่าตัวตาย **มันไม่มีผลดีกับตัวเองและผู้อื่นเลย แม้แต่นิดเดียว”

“เข้าใจว่าเป็นโรคซึมเศร้า ผมไม่เคยเป็น เลยไม่รู้ว่ามันดำดิ่งไปขนาดไหน แต่กูก็เคยเครียดสุดๆในชีวิต เครียดจนหาทางออกไม่ได้ แต่กูก็ไม่เลือกการฆ่าตัวตาย !!! จำไว้ อย่าคิดจะทำ ดูไว้เป็นตัวอย่าง #บาปสุดๆ #RIP #เชสเตอร์ ชาลส์ เบน Chester Charles Bennington #โกรธมึงว่ะ #กูเคยฟังเพลงมึง #กูเคยร้องเพลงมึง #กูเคยแกะเพลงมึง #กูรักเพลงมึง”

เป็นการพิพากษ์ ตัดสิน การกระทำ สรุป โดยใช้บรรทัดฐานของตัวเอง เรียบร้อย และจะออกตัวว่าไม่เคยเป็นโรค ไม่รู้ถึงความลึกของปัญหาโรคนี้ ส่วนตัวแล้วชอบศิลปินคนนี้เอามากๆ ก็ตาม แต่สุดท้ายก็สรุป เอาความคิดของตัวเองพิพากษ์การกระทำดังกล่าวอยู่ดี

และแม้จะมีคนไม่เห็นด้วยและพยายามบอกถึงสาเหตุว่าเป็นเพราะ อาการของโรค แต่ดีเจพล่ากุ้งยังคงยืนยัน ความคิดของตัวเองว่า

“เรื่องเชสเตอร์ ผมแค่อยากบอกว่า การฆ่าตัวตายมันบาป มันไม่ดี แต่ถ้าเค้าเป็นโรคซึมเศร้า แล้วเขาต้องตายแบบนี้ นี่คือจุดจบทางเดียวรึ ? ผมก็แค่อยากบอกทุกคนว่า จะทำอะไรก็ได้ แต่อย่าฆ่าตัวตาย แค่นั้นเอง แต่ถ้าจะมีคนมาค้านว่า ที่เขาฆ่า เพราะเขาเป็นโรคซึมเศร้าไง

ดีเลย งั้นผมขออุทิศ ให้เคสผม เป็นตัวอย่างกับสังคมไทยไปเลย ว่าโรคซึมเศร้า มันต้องจบด้วยการ ฆ่าตัวตายทุกคนหรือบางคน หรืออย่างไร ใครเป็นหมอ ออกตัวมาเลย ผมก็ไม่มีความรู้พอ จะได้ชัดๆ ถ้าการแสดงออกของผม มันไปขัดแย้งกับใคร คุณจะด่าผม ด่าได้เลย #ผมก็ไม่ได้ฉลาดทุกเรื่อง # ทุกคนรักเชส #เสียดายเชส #สงสารเชส

ถ้าเขารู้ว่าเรามาทะเลาะกัน เขาจะดีใจไหม ว่ากันมาเลย ขอแบบความรู้นะ ไม่รับเกรียน เอาให้เป็นเรื่องใหญ่ไปเลย จะได้มีความรู้กันชัดๆ ทุกฝ่าย ไม่ต้องมาเถียงกันแบบนี้ #ไม่ได้โพสต์เอาเท่ห์ นี่คือความเห็นส่วนตัวจริงๆ”

จะด้วยความปรารถนาดีว่าไม่อยากให้ใครคิดสั้นหาทางออกด้วยวิธีการเหล่านี้ ก็ตาม แต่ ด้วยความไม่รู้ถึงความรุนแรงของโรค ไม่เข้าใจปมปัญหาลึกๆในอดีตของ ศิลปินที่ตัดสินใจจบชีวิต จึงทำให้ถูกกระแสตอบโต้ความคิด การพิพากษ์ของดีเจหนุ่มผมฟู อย่างมากมาย

sdw

อีกคนหนึ่ง อุ๋ย บุดด้า เบลส ที่ทวีต ข้อความ แสดงความเสียใจ และตามด้วยข้อความ “ ชื่อเสียง เงินทองก็ไม่สามารถเติมเต็มจิตใจมนุษย์ได้อย่างแท้จริง”

แต่หลังจากมีคนเข้ามาแสดงความเห็นไม่เห็นด้วยกับเขามากมาย และ บอกถึงสาเหตุของการจบชีวิตเพราะ ป่วยเป็นโรค ทำให้ อุ๋ย ออกมาทวีตขอโทษ

โดยบอกว่า “ผมไม่ทราบว่าเค้าเป็นโรค ผมขอโทษครับ ผมคิดว่าเค้าเครียดกับปัญหาชีวิต เพิ่งอ่านประวัติเค้าว่าโดนละเมิดตั้งแต่เด็กแผลในใจคงเยอะจริงๆ”
หลังจากนั้นมีรายงานว่า อุ๋ยได้ลบโพสต์ทวีตทิ้งไป

นับว่า เป็นการยอมรับผิด ถอยไม่เอามาดวัดของตัวเองไปสรุปเหตุการณ์จบชีวิตของศิลปินดัง

กระแสดรามา จากปรากฏการณ์ การจบชีวิตของ เชสเตอร์ ดังที่ยกมา เป็นบทเรียนที่น่าสนใจถึงการเชื่อมโยงของผู้คนบนโลกเสมือนจริงในนามสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์ค มีความกว้างขวาง จนเราไม่อาจจินตนาการได้

อย่านึกว่าเรามีเพื่อนบนโลกโซเชียลแค่จำนวน 5 พันคน หรือ ตามจำนวนที่เขากำหนดให้เรามีเพื่อนได้เท่านั้นเท่านี้ เราพูด เขียนอะไรลงไป มันก็คงไม่เกินนี้หรอก และคนที่ติดตามสื่อสารกันจริงๆคงไม่เกิน 100 หรือ 200 คนหรอก

แท้จริงแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้นเลย อย่าลืมว่า เครือข่ายที่เชื่อมโยงเป็นเน็ตเวิร์ค ในโลกโซเชียลมันต่อโยงกันไปจนยากจะรู้ว่า มันกว้างไกลขนาดไหน เรามีเพื่อนอาจจะ 100 คน ที่ปฏิสัมพันธ์กัน แต่ เพื่อนเรา 100 คน มีเพื่อนอีกเท่าไร ที่เขาปฏิสัมพันธ์กัน

แล้วเพื่อนของ เพื่อน ของเพื่อน มีปฏิสัมพันธ์กันโยงใยไปมากน้อยเพียงใด และเมื่อประเด็นถูกสื่อโซเชียลที่มีเครือข่ายกว้างขวางนำมาขยายต่อผลของมันยิ่งไปไกลเกินจะคิดออกได้

เรื่องนี้จึงเป็นบทเรียนหนึ่งที่น่าจดจำ สำหรับ นักท่องโซเชียล คนที่อยากมีตัวตนบนโลกไซเบอร์ ว่า ไม่ว่าคุณจะ บันทึก พูดถึง ว่ากล่าว พิพากษ์ใคร ฯ บนโลกโซเซียล ก็ตาม คุณไม่มีทางจะควบคุมมันได้

มันอาจจะส่งผลกระทบกลับมา หรือ ส่งผลกระทบต่อคนที่คุณได้ตัดสินไปอย่างกว้างขวาง ดังนั้นพึงคิดไว้เสมอว่า การกระทำใดๆบนโลกโซเชียล อาจส่งผลอย่างไม่คาดคิด พึงตั้งสติอย่างรอบครอบก่อนกระทำบนโลกที่ไร้การควบคุมนี้....!!!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook