แฉถึงตาย สาวฮิตฉีด ยามะเร็ง ให้ผิวขาว
สธ. เตือนสาวอยากขาวใช้ยา กลูตาไธโอน รักษามะเร็งฉีดเข้าร่างกายหวังให้เกิดผลข้างเคียงผิวขาว ชี้อันตรายโดยเฉพาะหากไม่ใช่แพทย์ฉีดให้เพราะหากพลาดถูกเส้น เลือดดำถึงตายได้ และจะช่วยให้ขาวได้เฉพาะตอนใช้ยาเท่านั้นหากหยุดเมื่อไหร่สีผิวก็จะกลับมา เหมือนเดิม แฉอีกไข่มุก น้ำลายหอยทาก และไข่ปลาคาเวียร์ ที่กำลังฮิตนำมาผสมกับเครื่องสำอางอ้างบำรุงผิวพรรณ ทาง การแพทย์ไม่พบว่ามีสรรพคุณดังกล่าว พร้อมติงโฆษณา ครีมกันแดดเกินจริง อ้างมีค่าความเข้มข้นในการป้อง กันเป็นร้อยๆ จริงๆ แล้วค่าสูงสุดมีแค่ 50 เท่านั้น และต้องทาแบบหนาเตอะถึงจะป้องกันได้เต็มที่ หากทาบางๆ ค่าความเข้มข้นก็จะลดลงอีก
เมื่อวันที่ 26 ก.พ. รศ.น.พ.ประวิตร อัศวานนท์ ประธานวิชาการสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้มีการสอบถามเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับไข่มุก ไข่ปลาคาเวียร์ น้ำลายหอยทาก ทั้งที่เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางและใช้โดยตรง โดยอ้างว่าเพื่อบำรุงผิวพรรณนั้น ขอยืนยันว่าจากการสืบค้นข้อมูลทางการแพทย์ ไม่พบว่ามีสรรพคุณในเรื่องของการบำรุงผิวพรรณแต่อย่างใด รวมถึงสารกลูตาไธโอนที่เป็นยารักษาโรคมะเร็ง แต่นิยมนำมาทำให้ผิวขาว ก็ยังไม่พบว่ามีการวิจัยทางการแพทย์ในมนุษย์ยืนยันสรรพ คุณดังกล่าว จึงไม่สามารถตอบได้ว่าได้ผลจริงหรือไม่ ดีหรือไม่ดี
"ในส่วนของทองคำ พบว่ามีงานวิจัยยืนยันว่ามีประสิทธิภาพในการสมานผิว ลดการอักเสบของผิวหนัง รวมถึงรักษาโรคปวดข้อ ซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่ในโบราณ จึงไม่แปลกใจว่าเรื่องทองจะทำให้ผิวพรรณดีขึ้น แต่สิ่งที่น่ากลัวคือ อานุภาพของเงินกับทองที่มีขนาดเล็กมาก อาจเข้าไปสะสมตามผิวหนังและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย" รศ.น.พ.ประวิตรกล่าว
รศ. น.พ.ประวิตรกล่าวว่า ในอดีตเรื่องความสวยงามเป็นกระแส ไม่ว่าจะเป็นโบท็อกซ์ คอลลาเจน ทำให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต้องมีคำเหล่านี้ดึงดูดผู้บริโภค ขณะนี้มีเรื่องของเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ โดยมีครีมที่อ้างว่าเป็นสเต็มเซลล์สำหรับทา เพื่อให้ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง ซึ่งเป็นเรื่องไม่จริง เพราะสเต็มเซลล์จะใช้วิธีฉีดเท่านั้น อีกทั้งการใช้สเต็มเซลล์ทางการแพทย์รับรองแต่เพียงการใช้เพื่อการรักษาโรค ทางโลหิตวิทยาเท่านั้น ดังนั้นเครื่องสำอางที่อ้างว่าเป็นสเต็มเซลล์นั้นไม่เป็นความจริง อย่างมากก็แค่มีสารในน้ำเลี้ยงสเต็มเซลล์เท่านั้นซึ่งไม่ต่างจากมอยส์เจอไร เซอร์ธรรมดาเลย แต่ในอนาคตยอมรับว่าเรื่องสเต็มเซลล์กำลังจะเป็นคำตอบในหลายเรื่อง แต่ขณะนี้ไม่ใช่
"นอกจากนี้ได้รับการสอบถามอย่างมากมาจากผู้บริโภค ว่า เห็นผู้ป่วยที่ไปรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวรักษาด้วยยารักษาโรคมะเร็งเม็ด เลือดขาวและมะเร็งทางเดินอาหาร อิมาทินิบ แล้วทำให้ผิวขาวขึ้น จึงมีคนมาถามกันเป็นจำนวนมาก จึงเกรงว่าจะเป็นกระแสที่จะนำยาดังกล่าวมาทาน อย่างไรก็ตามเชื่อว่ายาอิมาทินิบคงไม่มีนิยมมากเหมือนกับที่นำยารักษาโรค มะเร็งอย่างกลูตาไธโอนมาใช้ เพราะยาดังกล่าวมีราคาแพงเกือบแสนบาทต่อเดือน จึงขอเตือนผู้บริโภคทั้งหลายให้ระมัด ระวัง เพราะยาดังกล่าวถือว่าเป็นยาที่ดีในการรักษาโรคมะเร็ง แต่ไม่เหมาะสมกับการนำมาใช้เพื่อหวังผลข้างเคียงในเรื่องผิวขาว เพราะเมื่อหยุดทานสีผิวก็จะกลับตามกรรมพันธุ์" รศ.น.พ.ประวิตรกล่าว
รศ. น.พ.ประวิตรกล่าวว่า วิธีที่ทำให้ผิวขาวแต่ก็คงไม่ขาวเกินกรรมพันธุ์ของแต่ละคนคือ การหลีกเลี่ยงแสงแดด ไม่ว่าจะเป็นการกางร่ม ใส่แว่นดำ รวมถึงการใช้ครีมกันแดด ซึ่งอยากเตือนประชาชนทั้งหลายว่า ค่าประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดหรือเอสพีเอฟ ที่มีค่าเกินกว่า 100 หรือค่าที่สูงกว่า 50 นั้นเชื่อถือไม่ได้ เนื่องจากวิธีทดสอบประสิทธิภาพของครีมกันแดดมาตรฐานสหภาพยุโรปตรวจได้ไม่ เกิน 50 เท่านั้น ซึ่งค่าที่สูงๆ เท่ากับว่าการทดสอบยังไปไม่ถึง
" นอกจากนี้ค่าเอสพีเอฟที่เครื่องสำอางระบุไว้นั้น เป็นค่าที่ต้องใช้ทาใบหน้าในปริมาณครึ่ง-1ช้อนชา หรือหากทาตัวจะต้องทาปริมาณ 35 กรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณคนปกติไม่ใช้ เนื่องจากจะเยิ้มมาก เท่ากับว่าปริมาณที่ทาใบหน้าหากทาในปริมาณที่น้อยกว่าที่กล่าวไปข้างต้นค่า เอสพีเอฟก็จะลดลงตามไปด้วย จากเอสพีเอฟ 50 แต่ทาปริมาณน้อยอาจเหลือแค่ 10-15 เท่านั้น" รศ.น.พ.ประวิตรกล่าว
ด้านน.พ.จินดา โรจนเมทินทร์ หัวหน้าศูนย์เลเซอร์ สถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า การฉีดสารหรือยาใดๆ เข้าร่างกายถือเป็นเรื่องอันตราย โดยเฉพาะสารกลูตาไธโอนที่นิยมนำมาฉีดให้ผิวขาว จะต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ฉีดให้เท่านั้น และต้องทำในสถานพยาบาล ไม่สามารถทำในคลินิกเล็กๆ ได้ เพราะหากผู้ป่วยเกิดอาการแพ้รุนแรงจะไม่มีอุปกรณ์ช่วยชีวิต ที่สำคัญการฉีดสารเข้าร่างกายจะต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะหากพลาดฉีดเข้าเส้นเลือดดำผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ในทันที
รศ.น. พ.นภดล นพคุณ นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในวันที่ 4 มี.ค.จะประชุมหารือแนวทางการปฏิบัติในการโฆษณาครีมกันแดดเพื่อให้โฆษณามี ความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากประชาชนส่วนมากใช้ครีมกันแดดไม่ถูกวิธี จึงห่วงว่าจะเป็นการสร้างความเข้าใจผิด ซึ่งในต่างประเทศห้ามไม่ให้โฆษณาผลิตภัณฑ์สำหรับกันแดดไปแล้ว เนื่องจากพบว่ามีคนกลุ่มหนึ่งมีความเข้าใจผิดว่าทาครีมกันแดดแล้วสามารถ ป้องกันแสงแดดได้ แต่กลับพบว่ามีการเป็นมะเร็งผิวหนังเพิ่มขึ้น
รศ. น.พ.นภดลกล่าวต่อว่า นอกจากนี้จะปรับฉลาก ของครีมกันแดดให้เป็นไปตามกฎระเบียบใหม่ โดยให้แสดงคำเตือนชัดเจน มีข้อความเช่น การใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีสารป้องกันแสงแดด เป็นเพียงวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายจากแสงแดด ทั้งนี้กฎหมายผ่อนผันให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายต้องดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการ เครื่องสำอาง เรื่องการแสดงฉลากคำเตือนที่ฉลากเครื่องสำอางจะมีผลบังคับใช้ภาย ในวันที่ 31 ธ.ค.2553 ซึ่งขณะนี้ผ่อนผันมา 1 ปีแล้ว
"มีประชาชนจำนวนมากร้อง เรียนมายังสมาคม ว่าไปรักษาด้วยสเต็มเซลล์ แต่ไม่ได้ผลตามที่ได้โฆษณาแต่ต้องใช้เงินจำนวนมากกับการรักษา แม้จะไม่มีผลข้างเคียงก็ตาม โดยได้สอบถามว่ามีผลในการช่วยได้จริงหรือไม่ ซึ่งได้ให้คำตอบว่าเป็นการโฆษณาเกินจริง ซึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ใช้อาจไม่มีสเต็มเซลล์เลยก็เป็นได้" น.พ.นภดลกล่าว