สปส.ยันเงิน1.6 หมื่นล้านพอแจก2,000พันบาท

สปส.ยันเงิน1.6 หมื่นล้านพอแจก2,000พันบาท

สปส.ยันเงิน1.6 หมื่นล้านพอแจก2,000พันบาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เลขาฯสปส.ยันเงิน 1.6 หมื่นล้านพอแจก 2,000 ให้ลูกจ้าง 8.3 ล้านคน เตรียมขอเพิ่ม 15 ล้านค่าออกเช็ค เผยแบบฟอร์มแจ้งสิทธิใกล้หมดเหตุคนงานแห่แจ้งแล้วกว่า 2.6 ล้าน ดักคอนำเงิน ชราพภาพไปเสริมสภาพคล่องยาก

เมื่อวันที่ 27 ก.พ. ที่กระทรวงแรงงาน นาย ปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการกองทุนประกันสังคม (สปส.) กล่าวความคืบหน้าในการแจกจ่ายเงินจำนวน 2,000 บาทให้กับผู้ประกันตนที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท ว่า งบประมาณจำนวน 1.6 หมื่นล้านที่รัฐบาลมอบให้เพื่อดำเนินการจ่ายเงิน 2,000 บาทให้กับลูกจ้างผู้ประกันตนจำนวนกว่า 8.3 ล้านคนขณะนี้มีความเพียงพอที่จะจ่ายให้กับผู้ประกันตนทุกกรณีได้ทันกำหนดในวันที่ 26 มี.ค. - 8 เม.ษ.นี้อย่างแน่นอน ทั้งนี้หากมีการของบประมาณเพิ่มเติมจากทางรัฐบาลอีกครั้งก็คงเป็นงบประมาณที่จะต้องใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าใช้จ่ายในการออกรถโมบายไปยังสถานประกอบการหรือค่าธรรมเนียมของธนาคารพานิชย์ในการออกเช็ค ซึ่งขณะนี้ สปส.ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าธนาคารพานิชย์แห่งใดจะเข้ามาดำเนินการออกเช็คเนื่องจากต้องรอการพิจารณาข้อเสนอจากธนาคารต่างๆ กับคณะกรรมการกองทุนประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เสียก่อน

" หาก สปส.จะต้องของบประมาณเพิ่มจากรัฐบาลจริงผมคิดว่าน่าจะขอไม่เกิน 15 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้แน่นอนเนื่องจากต้องรอว่าค่าธรรมเนียมในการออกเช็คของธนาคารพานิชย์แห่งไหนมีความคุ้มค่ามากที่สุดซึ่งจะทำให้ประหยัดเงินต้นทุนในการจ่ายและสามารถเฉลี่ยไปใช้ในส่วนอื่นๆได้ " นายปั้น กล่าว

นายปั้น กล่าวอีกว่า สำหรับผู้ประกันตนในมาตรา 38 (ผู้ว่างงานหรือถูกปลดออกจากงาน) จะได้รับเงินจำนวน 2,000 บาทอย่างแน่นอนแต่จะได้ล่าช้าออกไปดังนั้นผู้ประกันตนในมาตราดังกล่าวควรเร่งมาลงทะเบียนเพื่อพิสูจน์สิทธิโดยเร็วเพราะสปส.จะต้องตรวจสอบข้อมูลจากนายจ้างและขณะนี้ก็มีผู้ประกันตนมาลงทะเบียนแล้วกว่า 2.6 ล้านคนซึ่งทำให้แบบฟอร์มการลงทะเบียนตรวจสอบสิทธิเริ่มไม่เพียงพอ ทั้งนี้ตนได้เร่งให้ ปส.จังหวัดทั่วประเทศรีบอำนวยความสะดวกให้กับลูกจ้างที่รวมตัวมาลงทะเบียนอย่างเต็มที่แล้ว

นายปั้น ยังกล่าวถึงกรณีที่การนิคมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เสนอให้ สปส.พิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณจากเงินเพื่อเกษียณอายุหรือกองทุนชราภาพมาใช้เสริมสภาพคล่องและชำระหนี้สินให้กับสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจว่า ขณะนี้ตนยังไม่เห็นรายละเอียดข้อเสนอของ กนอ. ทั้งนี้หากบอร์ดสปส.เห็นว่าวิธีการดังกล่าวจะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆได้ ก็ต้องดำเนินการพิจารณาว่าเงื่อนไขที่ กนอ. เสนอมานั้นเข้าข่ายเหมือนกรณีที่ สปส.นำเงินไปฝากไว้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)หรือธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอส เอ็ม อี ) เพื่อปล่อยกู้ให้กับลูกจ้างและนายจ้างที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาทางเศรษฐกิจหรือไม่ หากเข้าข่ายกรณีดังกล่าวตนก็จะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด สปส. เพื่อทำการพิจารณาอย่างละเอียดอีกครั้ง

" ผมเห็นว่าเรื่องนี้มีความเป็นไปได้ยากเนื่องจากเงินในกองทุน สปส. จำนวนกว่า 5 แสนล้านบาทนั้นไม่ได้อยู่ในรูปของเงินสดที่ฝากไว้ตามธนาคารต่างๆ แต่มันอยู่ในรูปแบบพันธบัตรของรัฐบาลซึ่งจะได้ผลกำไรในอีก 20 - 30 ปีข้างหน้า ดังนั้นหากสปส.นำเงินในกองทุนมาให้สถานประกอบการมาใช้เสริมสภาพคล่องทางการเงินนั้นผมว่าเป็นการเสียรายได้และเสียโอกาสที่กองทุนได้รับในอนาคตเป็นจำนวนหลายล้านบาทด้วย " นายปั้น กล่าว

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook