ศาลปค.ไม่รับฟ้องคดีเอเน็ต นร.ถูกตัดสิทธิ์อดเข้าสอบ28ก.พ.เพียบ

ศาลปค.ไม่รับฟ้องคดีเอเน็ต นร.ถูกตัดสิทธิ์อดเข้าสอบ28ก.พ.เพียบ

ศาลปค.ไม่รับฟ้องคดีเอเน็ต นร.ถูกตัดสิทธิ์อดเข้าสอบ28ก.พ.เพียบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศาลปค.ไม่รับฟ้องคดีเอเน็ต นร.ถูกตัดสิทธิ์อดเข้าสอบ28ก.พ.เพียบ คนร้องยอมรับ"ผมแพ้แล้ว ไม่ไหวแล้ว"

ที่ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้อง คดีที่ นายสุวินัย กิตติเจริญฤกษ์ นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กับพวกซึ่งเป็นนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนต่างๆ รวม 16 คน ยื่นฟ้อง สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา , คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ผู้ถูกฟ้องเรื่องคำสั่งทางปกครอง ขอให้เพิกถอนมติตัดสิทธินักเรียนสมัครเข้าทดสอบ เอ-เน็ต และมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องให้โอกาสผู้ฟ้องคดีเข้าทดสอบ เอ-เน็ต ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552

ภายหลังจากที่ศาล ได้ไต่สวนนายสุวินัย นักเรียน ม. 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และพยานปากอื่นรวม 4 ปาก เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ และไต่สวนผู้แทนจาก สกอ. ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ แล้ว ศาลจึงมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีดังกล่าวแล้ว

นายสุวินัย กล่าวว่า บิดาตนได้แจ้งให้ทราบผลคำตัดสินของศาลปกครองกลางแล้วว่า ไม่รับคำฟ้องคดี แต่ยังไม่รับเอกสารอย่างเป็นทางการ จึงไม่รู้ว่าศาลให้เหตุผลที่ไม่รับฟ้องอย่างไร

"ผมแพ้แล้วครับ ตอนนี้ผมยังไม่รู้ว่าจะทำยังไงต่อไป ผมไม่ไหวแล้ว" นายสุวินัย กล่าว พร้อมกับร้องไห้ออกมาด้วยความเสียใจ

คดีนี้คู่ความยังมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วัน

ด้านนายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)ได้รับคำตัดสินเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยศาลมีคำสั่งยกคำขอทุเลาบังคับคดีของผู้ฟ้อง กรณีขอให้คุ้มครองชั่วคราวโดยให้เข้าทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นสูงหรือเอเน็ตในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ -1 มีนาคม ก่อนที่ศาลจะพิพากษาคดีออกมา โดยศาลให้เหตุผลการยกคำร้องว่า มติของคณะกรรมการอำนวยการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษานั้นชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องได้เข้าสอบก่อน ไม่เช่นนั้นจะไม่มีทางเยียวยานั้น

ศาลมีคำสั่งว่า แม้ผู้ฟ้องจะไม่ได้เข้าสอบเอเน็ต แต่ยังสามารถที่จะเข้ามหาวิทยาลัย โดยใช้ช่องทางอื่น ๆ ได้ และถ้ามีการทุเลาให้ผู้ฟ้องร้องให้เข้าสอบได้จะทำให้มีผลกระทบกับผู้เข้าสอบคนอื่นถึง 1.9 แสนคน เพราะสกอ.จะต้องมาปรับแผนผังเลขที่นั่งสอบใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามแม้นักเรียนไม่ได้เข้าสอบเอเน็ต แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษาได้ เพราะยังมีมหาวิทยาลัยอีกมากที่ไม่ได้ใช้คะแนนเอเน็ต อีก อย่างไรก็ตาม จะนำข้อผิดพลาดดังกล่าว สรุปเสนอทปอ.เพื่อปรับปรุงแอดมิสชั่นส์ในปีต่อไป

ด้านนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ทราบคำตัดสินของศาลแล้ว ส่วนตัวรู้สึกไม่สบายใจกับเด็กที่ตั้งใจสอบเอเน็ต แต่อาจเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือไม่ชัดเจนกับเรื่องข้อมูลชำระเงินค่าสมัครสอบ แต่ตนในฐานะดูแลศธ. จะรับบทเรียนนี้ไปปรับปรุงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือให้เกิดน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม เด็กกลุ่มนี้ยังสามารถสมัครคณะที่เปิดระบบรับตรงที่ไม่ใช้คะแนนเอเน็ต รวมถึงมหาวิทยาลัยเอกชน หรือไม่ก็อาจไปปีหน้า

นายพิสิฐ กิตติเจริญฤกษ์ ประธานเครือข่ายเด็กนักเรียน และผู้ปกครองเพื่อความยุติธรรม กล่าวว่า ตนได้รับทราบคำพิพากษาศาลปกครองแล้ว ที่มีคำสั่งให้ยกคำขอทุเลาบังคับคดี ที่ขอให้นักเรียนได้เข้าสอบเอเน็ต ในวันที่ 28 ก.พ.-1 มี.ค. เพื่อคุ้มครองและเยียวยาสิทธิของผู้ฟ้องคดีก่อนคำพิพากษา ซึ่งนักเรียนและผู้ปกครองก็รู้สึกเสียใจมาก เพราะวันที่ให้ปากคำในวันไต่สวนฉุกเฉินนั้น นักเรียนและผู้ปกครองยังมีความหวัง แต่เมื่อคำตัดสินออกมาเช่นนี้ ก็จำเป็นต้องน้อมรับคำตัดสินของศาล และถือว่านักเรียนและผู้ปกครองได้ทำดีที่สุดแล้ว

ทั้งในเรื่องสำนวนและหลักฐานที่ได้ยื่นแสดงต่อศาล จากนี้นักเรียนที่พลาดสอบเอเน็ตก็คงต้องไปหาที่เรียนในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เปิดรับตรง ที่ไม่ใช้คะแนนเอเน็ต อย่างไรก็ตาม ตนรู้สึกสงสารผู้ปกครองที่มีฐานะไม่ดี เนื่องจากคงหาสถานที่เรียนดีๆ ให้กับลูกได้ยาก ทั้งนี้จะหารือกับฝ่ายกฎหมายว่าจะดำเนินการฟ้องศาลปกครองสูงสุดต่อไปหรือไม่เพื่อทำความจริงให้ปรากฏ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook