กทม.ตั้งโครงการช้างยิ้มหวังแก้ช้างเร่ร่อน

กทม.ตั้งโครงการช้างยิ้มหวังแก้ช้างเร่ร่อน

กทม.ตั้งโครงการช้างยิ้มหวังแก้ช้างเร่ร่อน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กทม.ถกแนวทางแก้ปัญหาช้างเร่ร่อน จัดโครงการ ช้างยิ้ม เตรียมฝังไมโครชิพ หาที่พักช้างก่อนส่งกลับ พร้อมประสานทหารและการรถไฟ้า จัดหาสถานที่รองรับล ด้านรองผู้ว่าฯกทม.สั่งลุยจับ-ปรับเต็มเพดาน แฉมีขบวนการหากินกับช้างสร้างรายได้ถึงหลักล้าน

(13มี.ค.) นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมปศุสัตว์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน กทม. สำนักเทศกิจ กทม. และนางสาวโซไรดา ซาลวาลา กรรมการผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนช้าง เพื่อหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อน

หลังพบว่าเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างความเดือดร้อนรำคาญ ตลอดจนก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชนในเขตพื้นที่กทม.มาเป็นเวลานาน หลังจากเมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ได้ทำหนังสือสอบถามแนวทางการแก้ไขปัญหาไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกำลังรอคำตอบจากทางรัฐบาล

นายธีระชน กล่าวว่า ในส่วนของกทม.ได้เตรียมจัดกิจกรรมตามโครงการ " ช้างยิ้ม " โดยจะเร่งทำการสำรวจจำนวนช้างเร่ร่อน-ขอทานในพื้นที่กทม.ว่ามีทั้งหมดกี่เชือก พร้อมดำเนินการฝังไมโครชิพสำหรับช้างที่ไม่มีเอกสารหลักฐานบันทึกรูปพรรณช้างร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ ขณะเดียวกันจะประสานกับหน่วยทหารในพื้นที่กทม.และใกล้เคียงที่พอมีสถานที่สำหรับรองรับการกักตัวช้างและควาญช้าง รวมถึงประสานการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ขอใช้พื้นที่สวนรถไฟบางส่วนด้วย

นายธีระชน กล่าวต่อว่า ขณะที่การดำเนินการจับกุมช้างและควาญที่นำช้างมาเดินเร่ร่อนขอทานของกทม.นั้น จะสั่งการไปยังสำนักเทศกิจและฝ่ายเทศกิจของเขตต่างๆ เคร่งครัดจับกุมผู้กระทำผิดจับ-ปรับโทษสูงสุดตามพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ ซึ่งระวางโทษปรับ 10 , 000 บาทและจำคุก 6 เดือน พร้อมจัดเตรียมงบประมาณและยุทธภัณฑ์ต่างๆ เพื่อรองรับการดำเนินการขนย้ายและกักกันช้าง นอกจากนี้ยังเตรียมประสานหาแนวร่วมตามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนหน่วยงานอื่นๆ ที่มีแหล่งท่องเที่ยว หรือพื้นที่เพียงพอซึ่งสามารถจัดเป็นลานแสดงหรือปางช้างได้ให้รับช้างไปดูแลโดยให้เงินเดือนประจำเพื่อแก้ปัญหาช้างตกงานอีกทางหนึ่งด้วย ขณะที่กทม.นั้นยังไม่มีแนวคิดที่จะดำเนินการเรื่องนี้

ด้านน.ส.โซไรดา ระบุว่า ปัจจุบันมูลนิธิเพื่อนช้างเป็นห่วงช้างที่เข้ามาเร่ร่อนอยู่ในกทม.จำนวนกว่า 200 เชือก อาจได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุ และอาการป่วยต่างๆ จึงต้องการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้จะช่วยให้ปัญหาการล่าลูกช้างป่าลดลงด้วยเนื่องจากธุรกิจเกี่ยวกับช้างมีผลประโยชน์มหาศาล ปีหนึ่งมีการล่าและนำลูกช้างป่าเข้าประเทศไทยผ่านชายแดนประเทศเพื่อนบ้านกว่า 200 เชือก ซึ่งในอนาคตอาจทำให้ช้างสูญพันธุ์ได้ จึงควรมีการพิจารณาแก้ไขข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย โดยรัฐบาลต้องทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ

ขณะที่แหล่งข่าวระบุว่า ปัญหาช้างเร่ร่อนที่เรื้อรังมานานมาจากขบวนการหากินกับช้างโดยปล่อยให้เช่าช้าง โดยผู้ให้เช่าช้างจะมีรายได้ถึงหลักสิบล้านต่อปี ขณะที่ควาญผู้เช่าช้างจะมีรายได้อยู่ในหลักแสนบาทต่อปี ตลอดจนมีการปั่นราคาซื้อขายช้างให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงหลักล้านบาทต่อลูกช้าง 1 เชือกในปัจจุบัน ซึ่งมีนักการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ด้วย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook