มติทันตแพทยสภาถอนใบอนุญาต "หมอดลฤดี" หนีทุน 24 ล้าน

มติทันตแพทยสภาถอนใบอนุญาต "หมอดลฤดี" หนีทุน 24 ล้าน

มติทันตแพทยสภาถอนใบอนุญาต "หมอดลฤดี" หนีทุน 24 ล้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทันตแพทยสภา มีมติถอนใบอนุญาต "หมอดลฤดี จำลองราษฎร์" หนีทุนกว่า 24 ล้านบาท ชี้เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทันตแพทย์ไพศาส กังวลกิจ นายกทันตแพทยสภา ระบุ คณะกรรมการทันตแพทยสภามีมติ ให้เพิกถอนใบอนุญาต นางสาวดลฤดี จำลองราษฎร์ อดีตอาจารย์ภาควิชาทันตกรรมเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ม.มหิดล) ที่ได้รับทุนไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ที่สหรัฐอเมริกา หลังไม่ชดใช้ทุนให้กับ มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กว่า 24 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกระทำที่ไร้ความรับผิดชอบ เป็นการประพฤติที่เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ และขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกของทันตแพทยสภาตาม มาตรา 12 (3) แห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537 และการเพิกถอนใบอนุญาตนี้ ถือเป็นการจำกัดสิทธิไม่ให้ประกอบวิชาชีพในประเทศไทย แต่ก็ไม่ครอบคลุมการประกอบวิชาชีพในต่างประเทศ 

 โดย ขั้นตอนหลังจากนี้ ทันตแพทยสภา จะเสนอมติดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพิจารณาขอความเห็นชอบ ก่อนจัดทำเป็นคำสั่งทางปกครอง ออกประกาศทางเว็บไซต์ของทันแพทยสภาเพื่อประกาศผล อย่างเป็นทางให้สาธารณชนรับทราบ ขณะเดียวกันกรณีนี้เป็นครั้งแรกที่ทันตแพทยสภามีมติเพิกถอนใบอนุญาตที่เป็นใบเบิกทางของวิชาชีพทันตกรรมและถือเป็นบรรทัดฐานให้กับทันตแพทย์ เพื่อหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ซ้ำ ส่วนการดำเนินการกับผู้ค้ำประกัน ให้กับนางสาวดลฤดี เบื้องต้นได้มีการพูดคุยกับมหาวิทยาลัยมหิดล เตรียมเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายทั้ง 4 คนแล้ว และในส่วนทางกฎหมาย ผู้เสียหายก็สามารถยื่นฟ้องแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากนางสาวดลฤดีได้ 

อย่างไรก็ตาม สำหรับนางสาวดลฤดี ศึกษาจบคณะทันตแพทย์เมื่อปี 2536 เข้าใช้ทุนโดยการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนที่จะขอทุนไปเรียนต่อ ระดับปริญญาโทและเอกที่ สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2537 ระหว่างไปศึกษาต่อได้ยื่นขอขยายเวลาการศึกษาออกไปถึงปี 2547 แต่ในปี 2546 กลับยื่นขอออกจากราชการซึ่งถือเป็นการผิดสัญญาทุน ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงยื่นฟ้งศาลปกครอง ในปี 2549 ซึ่งศาลพิพากษาให้ชดใช้ แต่นางสาวดลฤดีกลับมีการบ่ายเบี่ยงมาตลอดจนสร้างความเสียหายให้กับผู้ค้ำประกัน และมีการสอบสวนเรื่อยมาจนล่าสุดมีมติให้เพิกถอนใบอนุญาตซึ่งเป็นโทษสูงสุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook