ชำแหละ “บัตรคนจน” ซื้อตรงไหน ใช้อย่างไร ได้กี่อย่าง

ชำแหละ “บัตรคนจน” ซื้อตรงไหน ใช้อย่างไร ได้กี่อย่าง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

1 ต.ค. 60 ดีเดย์ไปแล้วสำหรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ เรียกง่ายๆ ว่าบัตรคนจน ซึ่งเป็นรัฐสวัสดิการที่รัฐบาลได้ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเพื่อแบ่งเบาภาระในสังคม

โดยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้แบ่งประเภทบัตรตามรายได้ของผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือเป็น 2 ประเภท คือ

1.กลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 3๐,๐๐๐ บาทต่อปี จะได้รับเงินอุดหนุนเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจำนวน 300 บาทต่อเดือน รวมทั้งค่าก๊าซหุงต้ม 45 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน ค่ารถเมล์และรถไฟฟ้า 500 บาทต่อคนต่อเดือน,ค่ารถโดยสาร บขส. 500 บาทต่อคนต่อเดือน,ค่ารถไฟ 500 บาทต่อคนต่อเดือน

1g4

2.กลุ่มที่มีรายได้เกิน 3๐,๐๐๐ บาทต่อปี แต่ไม่เกิน 100,000 บาท จะได้รับเงินอุดหนุนเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจำนวน 200 บาทต่อเดือน รวมทั้งค่าก๊าซหุงต้ม 45 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน ค่ารถเมล์และรถไฟฟ้า 500 บาทต่อคนต่อเดือน,ค่ารถโดยสาร บขส. 500 บาทต่อคนต่อเดือน,ค่ารถไฟ 500 บาทต่อคนต่อเดือน

แต่ทั้งนี้หลายคนยังสงสัยในวิธีการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ว่าสามารถใช้ที่ใด ซื้อของอะไรได้บ้าง มีเงื่อนไขอย่างไรและสามารถถอนเงินออกมาใช้ได้หรือไม่..?

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีลักษณะคล้ายบัตรเครดิต+บัตร ATM คือสามารถนำไปรูดซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคได้ ตามร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ โดยชำระเงินก็ง่ายมากเพียงแค่รูดบัตรจ่ายเงินผ่านเครื่องรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เครื่อง EDC จากนั้นก็จะได้ใบเสร็จเป็นแสดงยอดที่ใช้จ่ายไปและยอดคงเหลือในบัตร

1g3

แต่ถ้าสินค้าที่ซื้อมีราคาเกินกว่าเงินที่อยู่ในบัตร ก็สามารถเติมเงินเข้าไปในบัตรได้ผ่านบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Money ของธนาคารกรุงไทย ซึ่งนอกจากจะเติมเงินเข้าไปในบัตรแล้วยังสามารถใช้บัตรทำธุรกรรมฝาก ถอน โอน ผ่านตู้ ATM / ADM ของธนาคารกรุงไทยได้

เรียกได้ว่าสะดวกสบายสามารถพกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นแทนบัตร ATM ได้ แต่ไม่สามารถกดเงินหรือโอนเงินที่ได้รับจากการการอุดหนุนของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Money ได้ และถ้าเงินอุดหนุนใช้ไม่หมดเงินก็จะถูกตัดทันทีไม่สามารถเก็บสะสมเพื่อนำไปทบยอดในเดือนหน้าได้

1g6

ด้านสิ้นค้าที่สามารถซื้อได้มีแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ดังนี้

สินค้าอุปโภค บริโภค เช่น หมวดอาหารสด,หมวดอาหารและเครื่องดื่ม,หมวดของใช้ประจำวัน,หมวดยารักษาโรค

สินค้าเพื่อการศึกษา เช่น เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์การเรียน

สินค้าเพื่อเกษตรกรรม เช่น ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์และเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ

ซึ่งสามารถตรวจสอบร้านธงฟ้าประชารัฐได้ดังนี้ ร้านธงฟ้าประชารัฐ

ขณะที่สวัสดิการช่วยเหลือค่าโดยสารรถเมล์,รถไฟฟ้า,รถไฟ,และรถร่วม บขส. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แบ่งเป็น 2 แบบ

untitled-1copypptv

1. บัตร EMV + ตั๋วร่วม (แมงมุม) สำหรับผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนในเขต กทม. นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม และ สมุทรสาคร โดยบัตรนี้ ไว้ใช้กับระบบขนส่งมวลชนทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร

2. บัตร EMV สำหรับผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนในจังหวัดอื่นๆ (นอกเขต กทม. นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม และ สมุทรสาคร) สำหรับบัตรนี้ จะไม่สามารถใช้กับระบบขนส่งมวลชนทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร.

โดยรถโดยสารที่ร่วมโครงการจะทำการติดตั้งอุปกรณ์ อี-ทิกเก็ต เพื่อใช้สำหรับคิดเงินค่าโดยสารจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพียงแค่แตะเบาๆก็สามารถจ่ายค่าโดยสารไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

สอดคล้องกับ นายประยูร ช่วยแก้ว รองผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ และรักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เปิดเผยว่า เตรียมการทยอยติดตั้งให้ครบตามเป้า 800 คัน ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 ก่อน เพื่อรองรับผู้มีบัตรสวัสดิการรายได้น้อย

สำหรับประชาชนที่ไม่มีบัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย ขสมก. ได้ติดตั้ง ตู้รับเหรียญอัตโนมัติ หรือ แคชบ็อกซ์ ใช้จ่ายเงินสดได้ตามปกติ แต่เครื่องดังกล่าวจะรับได้แค่เหรียญเท่านั้น และจะเริ่มมีการเปิดจำหน่ายบัตรร่วมหรือบัตรแมงมุมให้ประชาชนได้ใช้บริการเครื่องอี-ทิกเก็ต อย่างเต็มรูปแบบทั้ง 2,600 คันได้ภายในเดือนมิถุนายน ปี 2560

1gr

ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐส่วนใหญ่ประชาชนยังขาดความรู้ในการใช้บัตรและร้านธงฟ้าประชารัฐก็ยังมีไม่ทั่วถึงไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทย ด้านเงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าเดินทางก็ยังไม่สามารถใช้ได้ทั้งหมดเท่าที่ควร เนื่องจากว่าปริมาณรถโดยสารที่ติดตั้งเครื่อง อี-ทิกเก็ต ยังมีไม่มากนัก

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัญหาที่ทางโครงการสวัสดิการประชารัฐต้องรีบแก้ไข หากในอนาคตการขนส่งบริการทั้งหมดครอบคลุมและร้านธงฟ้าประชารัฐสามารถให้บริการได้ทุกพื้นที่ โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพของคนที่มีรายได้น้อยย่อมเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดและจะช่วยแบ่งเบาภาระของคนไทยได้สมกับบ้านเมืองที่น่าอยู่เหมือนดั่งคำขวัญที่ว่า “สยามเมืองยิ้ม”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook