อวสานรถเมล์-รถไฟฟรี แทนที่ด้วยบัตรคนจน ช่วยประชาชนจริงหรือ?

อวสานรถเมล์-รถไฟฟรี แทนที่ด้วยบัตรคนจน ช่วยประชาชนจริงหรือ?

อวสานรถเมล์-รถไฟฟรี แทนที่ด้วยบัตรคนจน ช่วยประชาชนจริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปิดตำนานไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับโครงการรถเมล์ฟรีและรถไฟฟรีจากภาษีประชาชน ที่รัฐบาลออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งให้บริการมาเกือบ 10 ปี และถูกสั่งปิดโครงการไปแล้วเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 60 ที่ผ่านมา

แต่มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของผู้มีรายได้น้อยยังไม่ได้หายไปไหนเพียงแต่แปรรูปเปลี่ยนสถานะกลายไปเป็นโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน ซึ่งจะมีมาตรการการช่วยเหลือที่ชัดเจนเฉพาะบุคคล

โดยการสำรวจสิทธิ์ผู้ที่มีรายได้น้อยที่ต่ำกว่าปีละ 100,000 บาท จะได้รับการช่วยเหลือและได้ครอบครองบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือบัตรคนจนเพื่อใช้ในการขึ้นรถเมล์และรถไฟฟรี นอกจากนี้ยังช่วยเหลือค่าใช้จ่ายรายเดือนอีกด้วย

0

แต่ประเด็นคำถามที่ตามมาคือ การยกเลิกรถเมล์และรถไฟฟรี และแทนที่ด้วยบัตรคนจน สามารถช่วยเหลือและบรรเทาค่าครองชีพให้กับประชาชนจริงหรือไม่?

จาการสำรวจของทีมข่าว Sanook News! พบว่าหลังจากวันที่ 1 พ.ย. 60 ที่ผ่านมาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บัตรคนจนนั้นมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นจากการขาดเครื่อง E-ticket ที่ยังไม่ครอบคลุมในการให้บริการและที่สำคัญมีบางจุดที่เครื่องไม่สามารถพร้อมใช้งานได้

อย่างเช่น รถรถเมล์ ขสมก.บางคันที่รองรับระบบ E-ticket และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่เครื่องE-ticket ไม่ทำงานทำให้ต้องแก้ปัญหาด้วยการให้พนักงานเก็บค่าโดยสารจดบันทึกข้อมูลแทนสร้างความล่าช้าให้กับผู้โดยสาร

259454

ส่วนรถไฟพบปัญหาลักษณะคล้ายกันคือเครื่อง E-ticket ไม่ครอบคลุมถึงสถานีย่อยทำให้ชาวบ้านที่เป็นเกษตรอาศัยนั่งรถไฟฟรีเพื่อนำสินค้าไปขายในตัวเมืองไม่สามารถแบกรับภาระค่าเดินได้ ถึงแม้ว่าจะมีบัตรคนจนแต่ก็ไม่สามารถใช้ได้ ทั้งที่แต่ก่อนนั้นใช้บริการรถไฟฟรีจากภาษีประชาชน

ด้านปัญหาการใช้บัตรคนจนในการซื้อสินค้านั้นพบปัญหาเบื้องหลังที่มีผลกระทบจากร้านค้ารายย่อย เนื่องจากว่าผู้ค้ารายย่อยในหมู่บ้านไม่สามารถขายสินได้เหมือนเดิมเพราะคนในหมู่บ้านได้อาศัยบัตรคนจนไปรูดซื้อสินค้าในตัวเมือง

ทำให้กระแสเงินสดที่เคยหมุนเวียนในหมู่บ้านลดลงกว่า 50% และร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการธงฟ้าบางจังหวัดไม่มีการกระจายสู่ทุกตำบล หรือ บางตำบลมีการกระจุดตัวกันมากถึง 2-3 ร้านก็มี

1g4

ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นประชาชนที่มีบัตรคนจนส่วนใหญ่มีความเห็นไปทิศทางเดียวกันว่าโครงการบัตรคนนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่รัฐบาลช่วยเหลือผู้มีรายไดน้อย แต่ติดปัญหาตรงที่ความพร้อมในการใช้งานทำให้เกิดความล่าช้าเกิดขึ้น

และอีกความคิดเห็นส่วนหนึ่งมองว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่สามารถช่วยเหลือคนจนได้อย่างแท้จริงเพราะมองว่าการกระจายรายได้ไม่สู่ชุมชน แต่จะกระจุกตัวอยู่กับนายทุนมากกว่า เพราะก่อนที่จะมีบัตรคนจนนั้นกระแสการใช้เงินสดในการซื้อสินค้าภายในชุมชนมีมากขึ้น

ต่างจากปัจจุบันที่ลดน้อยลงอย่างน่าใจหายและที่สำคัญประโยชน์ที่ได้รับนั้นจำกัดอยู่แค่ในวงผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเท่านั้นเอง

1g3

ซึ่งแตกต่างจากโครงการรถเมล์และรถไฟฟรีจากภาษีประชาชนที่สามารถช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับประชาชนทุกคนไม่เฉพาะเจาะจงแค่ผู้ถือบัตรคนจน โดยหากดูจากสถิติพบว่าตั้งแต่ที่โครงการรถเมล์และรถไฟฟรี เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 51

ประชาชนได้รับผลประโยชน์รวม 897.05 ล้านคน แบ่งเป็นผู้ใช้บริการจากฝั่ง ขสมก.จำนวน 722 ล้านคน และฝั่ง ร.ฟ.ท. จำนวน 175.05 ล้านคน

โดย ขสมก.จัดรถเมล์ฟรีให้บริการ 800 คัน คิดเป็นรายได้ที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเดือนละ 255 ล้านบาท ส่วน ร.ฟ.ท. ให้บริการรถไฟฟรี ชั้น 3 จำนวน 164 ขบวน คิดเป็นรายได้ที่รัฐบาลสนับสนุนเดือนละ 88 ล้านบาท ซึ่งหากมองจากสถิติพบว่าโครงการรถเมล์-รถไฟฟรี นั้นสามารถเข้าถึงประชาชนได้มากกว่าและประชนได้ประโยชน์เป็นวงกว้าง

la5

แต่ถึงแม้ว่าโครงการรถเมล์-รถไฟฟรีจะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนในวงกว้าง แต่การช่วยเหลือกลับไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายคนไทย

ซึ่ง นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์  ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์เป็นที่น่าสนใจว่า ตามที่รัฐบาลได้เริ่มดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2551 (1  สิงหาคม  2551) และได้มีการขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการฯ เป็นระยะ ๆ

ถึงแม้ว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์กับประชาชนในวงกว้าง แต่ก็เป็นการช่วยเหลือบุคคลที่ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายผู้มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง  กล่าวคือ บุคคลสัญชาติไทยและต่างด้าวทุกคนสามารถใช้บริการรถเมล์และรถไฟฟรีได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนผู้มีรายได้น้อยอย่างแท้จริงและทั่วถึง

1g6

รัฐจึงเห็นชอบในหลักการแนวทางการจัดประชารัฐสวัสดิการ การให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยจะให้ความช่วยเหลือผู้ที่ลงทะเบียนรายได้น้อยและผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติแล้วจำนวน  11.67 ล้านราย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน นั่นคือเหตุผลและมุมมองในอีกด้านที่น่าสนใจ

ท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าจะเป็นโครงการรถเมล์-รถไฟฟรีจากภาษีประชาชน หรือ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทั้งสองโครงการมีจุดมุ่งหมายเดียวกันนั่นคือต้องการช่วยเหลือแบ่งเบาค่าครองชีพของผู้ที่มีรายได้น้อย โดยต่างกันเพียงแค่วิธีการเท่านั้น

ซึ่งทั้งสองโครงการจะมีประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริงหรือไม่นั้น คงต้องดูคำตอบที่ว่าผู้ที่รับผลประโยชน์จริงๆนั้นคือใครกันแน่ ประชาชนหรือคนเบื้องหลัง..?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook