คืบหน้าปฏิรูปตำรวจ ถ่ายโอนภารกิจให้หลายกระทรวง หวังช่วยลดงาน?

คืบหน้าปฏิรูปตำรวจ ถ่ายโอนภารกิจให้หลายกระทรวง หวังช่วยลดงาน?

คืบหน้าปฏิรูปตำรวจ ถ่ายโอนภารกิจให้หลายกระทรวง หวังช่วยลดงาน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ประธานอนุกรรมการภารกิจและอำนาจ ในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมหรือปฏิรูปตำรวจ ยืนยันกับ Sanook! News ว่าคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจพยายามจะให้เกิดการกระจายอำนาจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้การทำงานของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และราบรื่นยิ่งขึ้น

โดยให้กองบัญชาการตำรวจที่ดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิด เช่น กองบัญชาการตำรวจนครบาล หรือ บช.น. ที่ดูแลกองบังคับการตำรวจนครบาล ภาค 1-9 กองบังคับการตำรวจจราจร กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ และกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน, ตำรวจตระเวนชายแดน, สำนักงานพิสูจน์หลักฐาน และจเรตำรวจ เป็นกองบัญชาการที่ได้รับการกระจายอำนาจแบบบูรณาการ ซึ่งจะส่งผลดีทั้งเรื่องการของบประมาณ และการเจริญเติบโตในหน้าที่ตามสายงาน

ส่วนเรื่องที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีงานอื่นที่ไม่ใช่ภารกิจหลักอยู่เป็นจำนวนมากนั้น นายมนุชญ์ กล่าวว่า อนุกรรมการฯ ได้เสนอให้มีการถ่ายโอนภารกิจ และได้แจ้งไปยังหน่วยงานที่จะได้รับการโอนภารกิจให้ร่างแผนส่งมาภายในวันที่ 1 ก.พ. 61 เช่น

กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค, สำนักงานคุ้มครองอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรมสรรพสามิต กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง, สำนักนายกรัฐมนตรี, กระทรวงคมนาคม, เทศบาล กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร แล้ว โดยกระทรวงใดที่พร้อมรับโอนภารกิจจะมีอำนาจจับกุม เปรียบเทียบปรับ

ยกตัวอย่าง การออกใบสั่งให้กับคนที่จอดรถในที่ห้ามจอด ซึ่งจะลดภาระตำรวจไปได้มาก แต่ถ้าตรวจสอบแล้วรถคันที่มาจอดสวมทะเบียนรถคันอื่น ทำให้มีความผิดหลายบทเช่นนี้ก็จะเป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการคลี่คลายคดี

111111111111111111111111111นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร นั่งเป็นประธานในการประชุมร่วมคณะอนุกรรมการภารกิจและอำนาจ

ส่วนคดีที่เกี่ยวกับกรมป่าไม้ นายมนุชญ์เชื่อว่าเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้จะมีความรู้เรื่องพฤกษศาสตร์มากกว่า ทำให้เวลาเขียนสำนวนสามารถให้รายละเอียดได้ดี ทำให้อัยการไม่ยกฟ้อง

ซึ่งการถ่ายโอนภารกิจนี้ ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถปฏิบัติภารกิจหลักตามประมวลกฎหมายอาญา ที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ความมั่นคง ความปลอดภัย เช่น การลักชิง วิ่งปล้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทั้งนี้กระทรวงที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจต้องไปศึกษา และดำเนินการพัฒนาบุคลากร รวมถึงต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ให้มากขึ้น เพื่อจะได้ไม่ต้องจ้างคนเพิ่ม ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญจึงมีกำหนดระยะเวลาให้แต่ละกระทรวงที่ได้รับนโยบายไปทำให้เสร็จภายใน 3 หรือ 5 ปี ตามความเหมาะสม

อย่างไรก็ตามเรื่องทั้งหมดนี้คณะอนุกรรมการภารกิจและอำนาจ และคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ ต้องส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนวันที่ 1 เม.ย. 61 ตามกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook