เกิดอะไรขึ้นกับ ‘วงแหวนแห่งไฟ’ หลังมีทั้งภูเขาไฟและแผ่นดินไหวต่อเนื่อง

เกิดอะไรขึ้นกับ ‘วงแหวนแห่งไฟ’ หลังมีทั้งภูเขาไฟและแผ่นดินไหวต่อเนื่อง

เกิดอะไรขึ้นกับ ‘วงแหวนแห่งไฟ’ หลังมีทั้งภูเขาไฟและแผ่นดินไหวต่อเนื่อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังมีทั้งภูเขาไฟปะทุในประเทศฟิลิปปินส์ จนประชาชนต้องอพยพและที่ญี่ปุ่นยังมีผู้เสียชีวิตอีก 1 คน รวมถึงเหตุแผ่นดินไหวระดับ 7.9 แม็กนิจูดที่แอลาสกาจนเกิดคำถามว่า มีการเชื่อมโยงกันหรือไม่ และอาจมีภูเขาไฟระเบิดหรือแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขึ้นหรือเปล่า

จากความกังวลเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติเหล่านี้ มาดูกันว่าเหล่าผู้เชี่ยวชาญให้คำตอบอย่างไร


1. เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นที่ไหน
เหตุภูเขาไฟปะทุและแผ่นดินไหวเกิดบริเวณแนวร่องรอบมหาสมุทรแปซิฟิกที่เรียกว่า “วงแหวนแห่งไฟ” ที่ทอดยาวตั้งแต่ประเทศอินโดนีเซียไปจนถึงชายฝั่งประเทศชิลีเป็นระยะทาง 40,000 กิโลเมตร ซึ่งเส้นทางนี้เป็นที่ตั้งของภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่และเป็นพื้นที่ที่มักเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ วงแหวนนี้เป็นรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกที่ได้รับแรงดันจากความร้อนของหินเหลวใต้ดิน จึงทำให้เกิดการระเบิดเป็นครั้งคราวและกลายเป็นภูเขาไฟระเบิดหรือแผ่นดินไหว

2. ทำไมจึงเกิดตอนนี้
เหตุแผ่นดินไหวที่บริเวณวงแหวนแห่งไฟเกิดขึ้นทุกวัน แต่เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกันในช่วงที่ผ่านมาเกิดจากช่วงที่แผ่นดินมีการเคลื่อนไหว โดยโทชิยาสึ นากาโอะ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อการคาดการณ์แผ่นดินไหวแห่งมหาวิทยาลัยโตไกบอกว่า “แผ่นดินแนวร่องสมุทรแปซิฟิกกำลังอยู่ระหว่างการเคลื่อนไหว” แต่ถือว่าเป็นเรื่องปกติ

3. เหตุการณ์ต่าง ๆ เชื่อมโยงกันหรือไม่
แม้จะมีการตั้งข้อสังเกตุว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ อาจมีความเชื่อมโยงกันหรือเป็น “ปรากฏการณ์โดมิโน” แต่ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าวงแหวนแห่งไฟไม่ได้มีลักษณะการทำงานเช่นนั้น โยสึกิ อาโอกิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาธรณีวิทยากายภาพ มหาวิทยาลัยโตเกียวกล่าวว่า “กิจกรรมของภูเขาไฟแต่ละลูกไม่มีความเชื่อมโยงกัน” และจานีน คริปป์เนอร์ นักวิทยาภูเขาไฟกล่าวว่า “มันเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นปกติบนผืนโลก สื่อแค่รายงานมันมากขึ้นในตอนนี้”

4. แล้วจะมีเหตุเกิดขึ้นตามมาอีกหรือไม่
วงแหวนแห่งไฟอาจก่อให้เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดได้ก็จริง แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้จำเป็นว่าจะเป็นเหตุการณ์เตือนก่อนเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ โดยชินจิ โทดะ อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ภัยพิบัติแห่งมหาวิทยาลัยโตโฮกุกล่าวว่า “เราไม่สามารถทำนายแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟล่วงหน้าได้ วิทยาศาสตร์โลกไม่ได้พัฒนาไปไกลขนาดนั้น” และบอกว่าการทำนายมักเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ครั้งใหญ่ ๆ เท่านั้น

คลิกที่นี่ รวมเหตุการณ์แผ่นดินไหว

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook