เปิดกฎหมายห้ามล่าสัตว์ป่าที่เจ้าสัวใหญ่ฝ่าฝืน?

เปิดกฎหมายห้ามล่าสัตว์ป่าที่เจ้าสัวใหญ่ฝ่าฝืน?

เปิดกฎหมายห้ามล่าสัตว์ป่าที่เจ้าสัวใหญ่ฝ่าฝืน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เช้านี้มีข่าวใหญ่แชร์สะพัดทั่วโซเชียล เมื่อเจ้าของธุรกิจรับเหมายักษ์ใหญ่ของประเทศถูกจับในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

อ่านข่าวที่นี่ --> "เจ้าสัวเปรมชัย" ล่าสัตว์ป่าทุ่งใหญ่ฯ โดนหนักไม่ต่ำ 5 ข้อหา

                     จับเจ้าของยักษ์รับเหมาพร้อมพวก ฐานล่าสัตว์ในทุ่งใหญ่นเรศวร

โดยขณะที่เจ้าหน้าที่เข้าจับกุม พบซากไก่ฟ้าหลังเทากับเนื้อเก้ง ซึ่งสัตว์ทั้งคู่อยู่ในรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ที่ประกอบด้วยสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนม 201 ชนิด นก 952 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 91 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำและสะเทินบก 12 ชนิด แมลง 20 ชนิด ปลา 14 ชนิด และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ 12 ชนิด

Sanook! News นำข้อกฎหมายใน พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มาให้อ่านกัน

 

มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้ผู้ใดล่า หรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่เป็นการกระทำโดยทางราชการที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา ๒๖

มาตรา ๑๙ ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดตามมาตรา ๑๗ ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว และโดยต้องขออนุญาตจากอธิบดี และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต

มาตรา ๓๖ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้ามมิให้ผู้ใดล่าสัตว์ป่า ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองหรือมิใช่ หรือเก็บหรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า เว้นแต่จะกระทำเพื่อการศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการและได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

มาตรา ๔๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ วรรคหนึ่งหรือมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๕๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

รวมทั้งอาจจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในกรณีนี้อีก อาทิ

ร่วมกันเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และจากภาพข่าวที่พบอาวุธปืนในขณะเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการจับกุม อาจเข้าข่ายกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490

หลังจากนี้ คงต้องปล่อยให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการสืบสวนสอบสวนไปตามพยานหลักฐานที่มี ไม่เว้นแม้ผู้กระทำความผิดจะนามสกุลใหญ่โตหรือเป็นเพียงคนธรรมดา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook