บันทึกลับทุ่งใหญ่ ฉบับเจ้าสัวอิตาเลียนไทย

บันทึกลับทุ่งใหญ่ ฉบับเจ้าสัวอิตาเลียนไทย

บันทึกลับทุ่งใหญ่ ฉบับเจ้าสัวอิตาเลียนไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อชีวิตหนึ่ง พรากหนึ่งชีวิต จากไปอย่างไม่มีวันกลับ นอกจากการสูญเสีย ความเจ็บปวด ความสิ้นหวัง และความหดหู่เกิดขึ้นในจิตใจ เราได้อะไรจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น? ลองมาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน!

เหตุที่นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ยักษ์ใหญ่วงการรับเหมาสัมปทานก่อสร้าง ที่ชนะประมูลโครงการก่อสร้างของรัฐบาลบ่อยครั้ง เข้าป่า พร้อมนายยงค์ โดดเครือ ลูกน้องนายเปรมชัย นางนที เรียมแสน แม่บ้านปรุงอาหาร และนายธานี ทุมมาศ เจ้าของร้านอาหารแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ

ระบุว่าไปท่องเที่ยว แต่เมื่อนายวิเชียร ชิณวงษ์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร นำเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบกลับพบว่า ตั้งแคมป์ในที่จุดห้ามตั้ง ทั้งยังพบอาวุธปืน และเครื่องกระสุนจำนวนมาก หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเพิ่มเติมพบ สิ่งที่น่าหดหู่ที่สุด ดังที่เป็นข่าวและเป็นกระแสสังคมในตอนนี้

ทั้งซากสัตว์ป่าสงวน ที่เคยสง่างามยามมีชีวิต ถูกแล่ออกเป็นชิ้นๆ เหมือนมันไม่ใช่เจ้าของร่างกายของตัวเอง ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้ค่อยๆ หยิบออกมาจากถุงดำทีละชิ้น ทีละชิ้น ด้วยทั้งหน้าที่ ที่ต้องคุ้มครองดูแลสัตว์เหล่านี้ และผืนป่า แน่นอนว่าพวกเขาต้องปวดร้าวไม่ใช่น้อย

forestforfreedom8บันทึกลับจากทุ่งใหญ่ภาพจาก “บันทึกลับจากทุ่งใหญ่”

แต่เหตุการณ์นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ พรานบรรดาศักดิ์ ถูกเปิดเผยตัวตนให้สังคมได้รับรู้ ย้อนไปเมื่อ 45 ปีที่แล้วยุคของ จอมพลคนสุดท้าย ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย

29 เมษายน พ.ศ. 2516 เฮลิคอปเตอร์กองทัพบก ตกที่ จ. นครปฐม

นอกจากซากเฮลิคอปเตอร์ พร้อมผู้เสียชีวิต 6 คน ยังพบซากสัตว์ป่า ที่รายงานช่วงนั้นระบุว่า มีหลายชนิด หนึ่งในนั้นเป็นซากกระทิงใหญ่จำนวนมาก

จอมพลถนอม แถลงว่า เฮลิคอปเตอร์ลำนี้ไปปฎิบัติภารกิจลับเกี่ยวกับความมั่นคง และการรักษาความปลอดภัย นายพลเน วิน นายกรัฐมนตรีของเมียนมา ในช่วงปี พ.ศ. 2516

forestforfreedom6บันทึกลับจากทุ่งใหญ่ภาพจาก “บันทึกลับจากทุ่งใหญ่”

แต่เหล่านักศึกษา (ชมรมนิเวศวิทยา ม.มหิดล, ชมรมอนุรักษ์และกลุ่มอนุรักษณ์ ม.เกษตรศาสตร์, ม.ธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ไม่เห็นอย่างนั้น จนออกหนังสือ “บันทึกลับจากทุ่งใหญ่”

ผืนป่าตะวันตกเป็นป่าอนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ และอยู่ในพื้นที่ ที่มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ดูแล ป่าผืนนี้มีพื้นที่อนุรักษณ์อยู่ 17 แห่ง บนพื้นที่ 11. ล้านไร่ และมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ – ห้วยขาแข้ง อยู่ตรงกลาง ทั้งหมดกินพื้นที่ จ.กาญจนบุรี จ.ตาก และ จ.อุทัยธานี

26 – 29 เมษายน พ.ศ. 2516

forestforfreedom9บันทึกลับจากทุ่งใหญ่ภาพจาก “บันทึกลับจากทุ่งใหญ่”

นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และพลเรือนส่วนหนึ่ง ราว 60 คน มุ่งหน้าเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร จ.กาญจนบุรี เพื่อตั้งค่าย ล่าสัตว์ ริมห้วยเซซ่าโหว่ โดยใช้พาหนะ และอาวุธ ของหลวง อย่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง

ใน “บันทึกลับจากทุ่งใหญ่”  ตอน บันทึกการสำรวจป่าทุ่งใหญ่ เปิดเผยใจความที่หนึ่งในพรานบรรดาศักดิ์ ถ่ายทอดให้นายสมพงษ์ จิรบันดาลสุข ผู้เขียนบันทึกตอนนี้ ขณะไปเจอกันในป่าว่า

“นายทหารท่านหนึ่ง เล่าถึงความลำบากของชีวิตทหาร ที่ต้องอยู่ป่าเป็นเดือนๆ อย่างอดอยาก ประชาชนคงไม่ทราบว่าทหารนั้นต้องเป็นผู้เสียสละตลอดมา ดังนั้นเมื่อมีโอกาสก็ต้องพักผ่อนบ้าง รู้ว่าการล่าสัตว์เป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่กฎหมายออกมาจากพวกที่นั่งเขียนอยู่บนโต๊ะ เขาไม่เคยเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในป่า และความจริงแล้วการล่าสัตว์นี้ ล่าทั้งปีก็ไม่หมด และที่ทำแบบนี้เพราะต้องการความสนุก และผ่อนคลายอารมณ์”

นอกจากนั้นนายสมพงษ์ และเพื่อนๆ ยังถูกขอร้องแกมบังคับให้ร่วมรับประทานอาหารเย็น ที่มีแต่เนื้อสัตว์ที่ถูกล่ามาด้วย

อีกความจริงที่แสนขมขื่น คือ คืนนั้นมีการจุดพลุ และกระสุนส่องวิถี ฉลองวันเกิดให้นายตำรวจระดับรองผู้กำกับคนหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้เหล่านักศึกษากลุ่มของนายสมพงษ์ได้แอบถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐานด้วย

แต่จากรายงานในอดีตระบุสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 ไม่ใช่ครั้งแรกที่ป่าถูกบุกรุก ชาวบ้านแถวนั้นเห็นรถของเจ้าหน้าที่เข้าออกป่ามาเป็นระยะเวลายาวนานราว 8 ปี

515109458gettyimagesเหตุการณ์ วันนที่ 14 ตุลาคม 2516

การที่เฮลิคอปเตอร์ตก เป็นเครื่องยืนยันข้อสงสัยของประชาชนว่า พวกนั้นเข้าไปทำอะไร ประกอบกับตอนนั้นมีข่าวการทุจริตในรัฐบาลจอมพลถนอม และเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลทหารปกครองประเทศมาเกือบ 15 ปี ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายระบอบเผด็จการทหาร ต้องการเรียกร้องประชาธิปไตย

จึงทำให้เริ่มเกิดการประท้วง จนนำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลา วันมหาวิปโยค ซึ่งถือเป็นการลุกฮือครั้งแรกของประชาชน เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือ พวกเขาทำสำเร็จ

ตัดภาพกลับมาที่เรื่องราวในปัจจุบัน ที่เรากำลังรับรู้เรื่องราว การบุกรุกป่า และ ฆ่าสัตว์ป่า ร่วมกัน

กระแสสังคมตอนนี้เปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน เมื่อประชาชนเข้าถึงการศึกษามากขึ้น และการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง เป็นเรื่องที่ง่าย จากการส่งต่อข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย

ทำให้เห็นได้ว่ามีการตระหนักรู้ของคนในสังคมผ่านโซเชียลมีเดีย และสื่อ ในทิศทางที่สร้างสรรค์

เช่นที่ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Prinya Thaewanarumitkul เรื่อง ‘บรรษัทภิบาลอิตาเลียนไทย 2561’  มี 2 ข้อ มีใจความว่า

ผู้บริหารต้องไม่ทำอะไรที่เสียหายกับทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม และบริษัทจะไม่ทำอะไรเสียหายกับสังคม สภาพแวดล้อม ทั้งยังจะปลูกจิตสำนึกของความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดในหมู่พนักงานทุกระดับ

s__4669476

โดยนายปริญญา ยังระบุว่า การที่นายเปรมชัย พร้อมขอโทษ แต่ตัวเองไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย จะยังสามารถเป็นผู้บริหารของบริษัทที่มีบรรษัทภิบาลเช่นนี้ได้หรือไม่

เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคล เนื่องจากผู้บริหารถูกจับในที่ก่อเหตุพร้อมของกลาง และบริษัทนี้เป็นบริษัทที่รับงานก่อสร้างจากรัฐเป็นแสนล้านบาท ทั้งยังมีผู้ถือหุ้นมากมาย จึงควรแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

หากยังนิ่งเฉยประชาชนที่เป็นเจ้าของงบประมาณแผ่นดินที่รัฐเอาไปจ้างบริษัทเหล่านี้ ก็จำเป็นต้องมีมาตรการทางสังคมกับบริษัทกันบ้าง

492594396gettyimagesรำลึก 42 ปี 14 ตุลา ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อ14 ตุลาคม 2558
ด้านสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ออกเอกสาร “ความเห็นต่อกรณีข่าวผู้บริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์” ถึงสื่อ โดยนายปริย เตชะมวลไววิทย์ ผอ.ฝ่ายสื่อสารองค์กรและส่งเสริมความรู้ผู้ลงทุน ก.ล.ต. กล่าวว่า

“จากข้อมูลที่ปรากฏในข่าว กรณีที่เกิดขึ้นถือเป็นเรื่องส่วนตัว ที่ยังต้องมีกระบวนการในการพิจารณาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำหรับการเป็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนนั้น ตามกฎหมายหลักทรัพย์ฯ คุณสมบัติของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน จะพิจารณาในเรื่องการบริหารงาน ความซื่อสัตย์สุจริต และความเป็นมืออาชีพในการดำเนินกิจการของบริษัทจดทะเบียนเป็นหลัก ซึ่งเบื้องต้น ยังไม่พบว่ามีส่วนใดเกี่ยวข้องกับการบริหารงานของบริษัทจดทะเบียน

51477375gettyimagesรำลึก 14 ตุลา เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547
อย่างไรก็ตามคนยุคนี้อาจห่างไกลจากความรุนแรง อย่างสงครามโลก แต่ขณะเดียวกัน การเรียนรู้จากการแสดงออก (ของผู้ใหญ่ที่ผ่านความเจ็บปวดในยุคของพวกเขา) อยู่ทุกๆ วัน ทั้งเรื่องการเมือง สังคม วัฒนธรรม และค่านิยม

ก็ทำให้น่าจับตาว่า เรื่องที่ นายเปรมชัย และพวกทำลงไป จะทำให้เกิดอะไรขึ้น แล้วการตระหนักรู้ครั้งนี้ จะนำไปสู่การตื่นตัวเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ป่าไม้ สัตว์ป่าได้จริงจังมากแค่ไหน

เพราะไม่แน่ว่าผลที่นายเปรมชัยจะได้รับ อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รู้ว่า ผู้มีอำนาจ ตั้งใจออกแบบประเทศเพื่อลูกหลานในอนาคตจริง หรือสุดท้ายทำได้แค่ตอบสนองบารมี และรสนิยมของคนในยุคตน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook