อย่าเพิ่งเข้าใจผิด! ถอดรหัส จ.ม.ลาตาย “พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค”

อย่าเพิ่งเข้าใจผิด! ถอดรหัส จ.ม.ลาตาย “พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค”

อย่าเพิ่งเข้าใจผิด! ถอดรหัส จ.ม.ลาตาย “พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปริศนาจาก จ.ม.ลาตายของ “พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค” กลายเป็นชิ้นส่วนของเศษขนมปังที่อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจเจ้าของฉายามือปราบเสือใต้ได้ทิ้งเบาะแสเอาไว้เพื่อให้ปุถุชนคนรุ่นหลังได้ขบคิดและแก้ไขถึงปัญหาระบบขนส่งมวลชน ที่ท่าน “พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค” ได้พยายามแก้ไขและผลักดันมามากกว่า 30 ปี

โดยคำสั่งเสียสุดท้ายที่ “พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค” ได้ทิ้งเอาไว้คือ ช่วยกันคัดค้าน รางคู่ขนาด 1.000 ม. รถไฟฟ้ายกระดับ ผลักดันให้เกิดสร้างถนน Autobahn

e3e3

เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แล้วปัญหานี้ความจริงเป็นเช่นไร ?

สาเหตุที่ “พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค” ได้ออกตัวเป็นแกนนำคัดค้านการสร้างทางรถไฟขนาดความกว้าง 1.000 เมตร (Meter Gauge) มากว่า 10 ปี เนื่องจากมองว่าทางรถไฟขนาดความกว้าง 1.000 เมตร เป็นระบบเก่าอาจทำให้เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน ความเร็วของขบวนรถไฟและความปลอดภัย

โดยต้องการผลักดันให้ใช้รางขนาดความกว้าง 1.435 เมตร หรือ รางขนาดมาตรฐาน ที่เรียกว่า สแตนดาร์ดเกจ ซึ่งเป็นรางที่นิยมใช้กันมากที่สุดในโลก ทั้งในกลุ่มประเทศยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน หรือแม้แต่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงในประเทศญี่ปุ่น

ซึ่งประเด็นนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าระหว่างราง 1 เมตร กับ ราง 1.435 เมตร แบบไหนที่จะเหมาะกับประเทศไทยมากที่สุด

1ffffrf

ทั้งนี้หากมองดูในภูมิภาคอาเซียนพบว่ามีการใช้ระบบรางขนาด 1 เมตร เป็นส่วนใหญ่ดังนี้

Meter Gauge หรือ 1.00 เมตร นิยมใช้เป็นอันดับ 4 ของโลก : ไทย, เมียนมา, มาเลเซีย, กัมพูชา, เวียดนาม

Cape Gauge หรือ  1.067 เมตร นิยมใช้เป็นอันดับ 3 ของโลก : อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น แต่ถ้าเป็นรถไฟความเร็วสูงจะใช้รางขนาด 1.435 เมตร

European Standard Gauge หรือ 1.435 เมตร นิยมใช้เป็นอันดับ 1 ของโลก : ทวีปยุโรป, อเมริกา, แคนาดา, จีน เป็นต้น

ทั้งนี้ราง Standard Gauge สามารถใช้กับรถไฟความเร็วสูงเท่านั้น ทำให้ประเทศญี่ปุ่นใช้ระบบรางสองแบบเพื่อสะดวกในการขนส่งมวลชนนั่นเอง

แต่หากประเทศไทยจะเปลี่ยนจาก Meter Gauge เป็น Standard Gauge  จะมีค่าใช้จ่ายมหาศาลเพราะต้องรื้อระบบรางใหม่ทั้งหมดและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรถไฟ อาทิ แคร่ หรือ โบกี้ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น สะพาน อุโมงค์ หรือ ชานชาลา

ถึงแม้ว่าระบบราง Standard Gauge สามารถเชื่อมต่อกับประเทศจีนได้ แต่ในภูมิภาคอาเซียนที่มีพรมแดนติดกับไทยใช้ระบบ Meter Gauge เป็นส่วนใหญ่สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวน

1weq

ด้านระบบ Meter Gauge ก็มีประสิทธิภาพทัดเทียมรางเกจอื่นๆ ถ้ามีการดูแลรักษาอย่างดีพอ เช่นขนาดราง 1.067 เมตร ของญี่ปุ่นสามารถให้บริการรถไฟด่วนด้วยความเร็ว 140 กม.ต่อชั่วโมงได้

ทั้งนี้ ถ้าหากประเทศไทยดำเนินโครงการรถไฟทางคู่บนเส้นทางสายหลักรวมถึงการจัดหารถไฟดีเซลรางใหม่เสร็จ รถไฟทางคู่ไทยนั้น ก็จะสามารถรองรับความเร็วสูงสุดได้ถึง 160 กม.ต่อชม. โดยให้บริการเฉลี่ยที่ 130 กม.ต่อชั่วโมง สามารถทำให้ประเทศไทยเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านได้

เนื่องจากทุกประเทศรอบประเทศไทยนั้น ใช้ราง 1 เมตรเหมือนกันทั้งสิ้น สามารถโอนถ่ายสินค้าและผู้โดยสารข้ามชายแดน โดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวน และที่สำคัญงบประมาณในการก่อสร้างก็น้อยกว่ามากเนื่องจากว่าใช้ระบบรางเดิมไม่ต้องวางใหม่

ทั้งนี้รัฐบาลได้เร่งพัฒนา ทางคู่ทั้ง 2 รูปแบบไปพร้อมๆ กัน โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยน หรือไปยุ่งกับราง 1 เมตรเดิมให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น เพราะเราสามารถพัฒนาราง 1 เมตรได้อีกมากมาย และใช้ราง 1.435 เมตร ในการสร้างรถไฟความเร็วสูงโดยเฉพาะซึ่งจะมีประสิทธิภาพเหนือกว่าราง 1.435 เมตร แบบธรรมดาหลายเท่า

wqqw

เช่น “โครงการพัฒนาปรับปรุงเส้นทางเดิม” หรือรถไฟทางคู่ขนานเส้นทางเดิม ขนาดราง 1 เมตร 6 เส้นทาง วงเงิน 127,472 ล้านบาท และ “โครงการวางมาตรฐานใหม่สำหรับอนาคต” หรือ รถไฟทางคู่สายใหม่ ขนาดราง 1.435 เมตร 2 เส้นทาง วงเงิน 741,460 ล้านบาท

คัดค้านรถไฟฟ้ายกระดับ ซึ่ง “พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค” เคยพยายามผลักดันรถไฟฟ้าระบบใต้ดินจากประเทศเยอรมนี

ทั้งนี้หากพิจารณาจากแบบใต้ดินนั้นพบว่าต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างสูงกว่าลอยฟ้าถึง 3 เท่าในระยะทางเท่าๆ กันและต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสูงกว่า แต่แบบยกระดับมีข้อดีในเรื่องทัศนียภาพนั่นเอง

hhr

ด้านถนนออโต้บาห์น (Autobahn) ที่ได้ชื่อว่าเป็นถนนทางหลวงที่ดีที่สุดของโลก อยู่ในประเทศเยอรมนี รถสามารถวิ่งได้ความเร็วสูงถึง 180 – 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยปราศจากข้อจำกัดทางกฎหมาย ถนนถูกออกแบบให้มีพื้นหนาถึง 27 นิ้ว มีความแข็งแกร่งเทียบเท่ารันเวย์เครื่องบิน เรียบและกว้างกว่าถนนปกติ

รวมทั้งราดด้วยยางมะตอยพิเศษที่ป้องกันการแข็งตัวในฤดูหนาว แต่มีค่าบำรุงรักษาสูงถึง 620,000 ยูโร/กิโลเมตร/ปี (ราว 23 ล้านบาท/กิโลเมตร/ปี)

ซึ่งจากการวิเคราะห์แล้วพบว่า ถนนออโต้บาห์น (Autobahn) อาจจะยังไม่จำเป็นกับประเทศไทย ณ ปัจจุบัน เพราะยังมีถนนที่สามารถเรียกได้ว่าติดมาตรฐานไฮเวย์สากลได้หลายสายอยู่แล้ว โดยเฉพาะมอเตอร์เวย์ระหว่างเมืองอย่าง กรุงเทพ – ชลบุรี และ กรุงเทพ – นครราชสีมา ในอนาคต

และยังมีโครงการมอเตอร์เวย์ต่างๆ อีกหลายเส้นทาง เช่น บางใหญ่-กาญจนบุรี, พัทยา-มาบตาพุด ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างอีกด้วย

wdsdw

และประเทศไทยมิใช่ hub การผลิตรถยนต์ประเภท sport หรือ supercar รถยนต์บนถนนส่วนใหญ่ในไทยเป็นรถกระบะ และ SUV ที่ถูกออกแบบมาให้ทำความเร็วไม่มากอยู่แล้ว ดังนั้นการสร้าง autobahn เพื่อรองรับความเร็วสูง จึงแลดูเกินความจำเป็น

ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวคือมุมมองอีกด้านหนึ่งสำหรับการพิจารณาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมกับประเทศไทย เช่นเดียวกับมุมมองของ “พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค” ที่อยากเห็นประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าด้านการคมนาคมอย่างทันสมัย

ถึงแม้ว่ามุมมองอาจจะแตกต่างกัน แต่สุดท้ายแล้วอุดมการณ์ที่ท่านสร้างคือความหวังดีเพื่อคนไทยทุกคน เพราะฉะนั้นแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจผิดกับมุมมองที่แตกต่างกัน

อะไรคือถนนออโต้บาห์น (Autobahn) ที่ "สล้าง บุนนาค" สั่งเสียไว้ใน จม.ลาตาย

ย้อนประวัติ "พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค" คดีวิสามัญบันลือโลก โจ ด่านช้าง

เพื่อนร่วมรุ่น เผย พล.ต.อ.สล้าง เจอหน้าพูดแต่เรื่องทางรถไฟ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook