'นักวิชาการ' แนะแนวทางอยู่ร่วมกันในสังคมแห่งความไม่เท่าเทียม

'นักวิชาการ' แนะแนวทางอยู่ร่วมกันในสังคมแห่งความไม่เท่าเทียม

'นักวิชาการ' แนะแนวทางอยู่ร่วมกันในสังคมแห่งความไม่เท่าเทียม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีนางสาวบุญศรี แสงหยกตระการ หรือป้าที่ก่อเหตุทุบรถยนต์ ในหมู่บ้านเสรีวิลล่า ย่านสวนหลวง ร.9 และสำนักงานเขตประเวศ มีการสั่งยุติการเปิดตลาด 5 แห่งในหมู่บ้านเสรีวิลล่า แต่ล่าสุดมีตลาดแห่งใหม่มาตั้งบริเวณทางเท้าริมรั้วสวน และทางเท้าริมรั้วบ้านของผู้พักอาศัยบริเวณนั้น โดยห่างจากบ้านของนางสาวบุญศรีเพียง 50 เมตร

ประชุมคดี ”ป้าทุบรถ” ยันเปิดตลาดผิด ชี้มีข้าราชการรับผลประโยชน์ 
10 ปีที่ต้องทน! ป้าทุบรถ VS ป้าเพื่อนเจ้าของตลาด
เก็บแทบไม่ทัน ตลาดผุดห่างบ้านป้าทุบรถ 50 เมตร เทศกิจจัดระเบียบแล้ว

ผู้ค้าในบริเวณดังกล่าวให้ข้อมูลว่า แม่ค้าทุกคนได้รับความเดือดร้อน ต้องรับภาระดูแลครอบครัว และยืนยันว่าต้องออกมาค้าขายเช่นนี้แน่นอน

ส่วนการที่ออกมาค้าขายบริเวณนี้ถูกมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่นนั้น ทางแม่ค้ากล่าวว่าตอนนี้ขอให้ทางบ้านหลังนั้นหยุดก่อนได้หรือไม่ เพราะแค่บ้านเพียงหลังเดียว ก็ทำให้บรรดาแม่ค้าเดือดร้อนมาก

พร้อมถามกลับไปว่าการที่เป็นกระแสในขณะนี้เป็นเรื่องสนุกมากหรือไม่ เพราะเป็นเพียงบ้านหลังเดียว ขณะเดียวกันการเป็นคนมีเงินแต่ต้องมาพบปัญหาแบบนี้ อยากถามกลับไปว่ามีความสุขกันหรือไม่ และเรียกร้องว่าอย่ามีปัญหากับพวกแม่ค้าอีกเลย เพราะทุกคนต้องกินต้องใช้

จากกรณีที่เกิดขึ้นนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวกับ Sanook! News ว่า ทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้น ภาครัฐควรจัดตั้งพื้นที่ตามสมควรให้ผู้ค้า เมื่อถึงคราวเปลี่ยนแปลง

resizeaprinya2ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อย่างไรก็ดีในกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่ที่ซึ่งจะมีแต่ผู้มีรายได้มากแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการรองรับ และให้มีการผ่อนผัน

ทั้งนี้ ไม่สามารถอ้างได้ว่าเป็นผู้มีรายได้น้อยจึงจะขอผ่อนผันกฎหมายเพื่อค้าขายในที่ห้ามขาย ทั้งบนทางเท้า และริมข้างทาง

ดร.ปริญญา อธิบายต่อว่า การอยู่ร่วมกันต้องมีกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่เราจะไม่สนใจกติกาไม่ได้ จึงต้องว่ากันไปตามกติกา หรือกฎหมายนั่นเอง ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของภาครัฐที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหานี้

โดยปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นถือเป็นเรื่องที่สะสมมานานในกรุงเทพมหานคร และการที่ปล่อยให้เกิดเรื่องแบบนี้ถือว่าที่ผ่านมา กทม.มีความหย่อนยานมากเกินไป หากทำให้เห็นว่าหน่วยงานรัฐเอาจริงเอาจังกับเรื่องที่ไม่ให้มีการค้าขายผิดที่ผิดทางนั้น ก็ต้องมีมาตรการในการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยด้วย

อาจารย์ปริญญา ยังกล่าวถึงประเด็นที่ไม่เคยถูกกล่าวถึงมาก่อน อย่างเรื่องของฝ่ายผู้ซื้อที่เป็นสาเหตุของปัญหาในสังคมด้วยเช่นกัน เพราะหากรู้ว่าสิ่งที่เป็นอยู่ไม่ถูกต้อง ก็ไม่ควรอุดหนุนนั่นเอง ซึ่ง ดร.ปริญญา กล่าวว่า เมื่อคนขายไปขายที่ไหนก็มีคนตามไปซื้อ ตามไปช็อป ตามไปกิน แล้วแบบนี้จะโทษผู้ค้าอย่างเดียวก็ไม่ถูกต้องนัก เพราะเรื่องนี้คือเรื่องเดียวกัน

อย่างไรก็ดีเรื่องที่เกิดขึ้น ทุกภาคส่วนมีความสำคัญในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีความซับซ้อน และเอกลักษณ์ของกรุงเทพฯ อยู่ที่ Street Food กทม.เป็นเมืองที่มีความเป็นตลาดซ่อนอยู่ การเก็บกวาดให้หมดไป เป็นสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์

aprinyaต้องไม่มีใครติดคุกเพราะจนช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

ส่วนที่กรุงเทพมหานคร และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กำลังพยายามทำอยู่ในตอนนี้นั้น ดร.ปริญญา กล่าวว่า บางสิ่งก็ถือว่าดีแล้ว แต่บางอย่างถือว่ามากเกินไป เพราะควรคำนึงเสมอว่าจะจัดการอย่างไรให้ประชาชนยังค้าขาย และอยู่ร่วมกันได้ โดยอาจารย์ปริญญา ได้ให้หลักการในการหาทางออกในเรื่องนี้ว่า

  1. ผู้มีรายได้น้อยต้องมีที่ทางในการประกอบอาชีพ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครเช่นกัน
  2. ภาครัฐต้องไม่ลืมว่า Street Food เป็นเสน่ห์ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบ
  3. จัดระเบียบกรุงเทพมหานครอย่างมีขอบเขต
  4. สิทธิของคนเดินเท้า สิทธิของเจ้าของบ้าน ที่มีผู้มาตั้งตลาดค้าขายต้องสมดุลกัน

จน เครียด ติดคุก ทำความรู้จักแคมเปญ #ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะจน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook