เลขาสภาแจงของบสร้างรัฐสภาเพิ่ม 8,648 ล้าน เร่งย้ายสถานที่ใน 9 เดือน

เลขาสภาแจงของบสร้างรัฐสภาเพิ่ม 8,648 ล้าน เร่งย้ายสถานที่ใน 9 เดือน

เลขาสภาแจงของบสร้างรัฐสภาเพิ่ม 8,648 ล้าน เร่งย้ายสถานที่ใน 9 เดือน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เลขาธิการสภาฯ ตั้งโต๊ะแจงของบสร้างรัฐสภาเพิ่ม 8,648 ล้านบาท ยันต้องเร่งย้ายสถานที่ภายใน 9 เดือน

นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นำผู้เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ตั้งโต๊ะแถลงชี้แจงงบประมาณและปัญหาการก่อสร้างโดยละเอียดตั้งแต่การเริ่มก่อสร้างจนถึงปัจจุบัน พร้อมชี้แจงความจำเป็นที่ต้องขออนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรีเพิ่ม จำนวนกว่า 8,648 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร วงเงินกว่า 6,493 ล้านบาท งานสาธารณูปโภค กว่า 1,413 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาและผู้ควบคุมงาน 229 ล้านบาท

และวงเงินการขยายเวลาอีกกว่า 512 ล้านบาท เพื่อให้การก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ และสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ และรัฐสภาแห่งเดิม จำเป็นจะต้องย้ายสถานที่ทำการจากถนนอู่ทองใน ไปยังรัฐสภาใหม่ย่านเกียกกาย ภายใน 9 เดือนนี้ ซึ่งหากไม่สามารถเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จได้ ก็จะเกิดปัญหาแน่นอน โดยงบประมาณขณะนี้ ได้เสนอต่อสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาก่อนนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติ

นายพีระ นาควิมล ผู้อำนวยการการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บริษัทชิโน-ไทยฯ ยืนยันว่า ไม่มีใครต้องการให้การก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ล่าช้า เพราะทั้งรัฐ และเอกชน เสียหายทั้งสิ้น บริษัทจำเป็นต้องต่อด้วยน้ำตา เพื่อให้การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และจะต้องแบกรับภาระ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการต่อสัญญาอีกวันละ 1 ล้านบาท ซึ่งไม่สามารถเรียกร้องจากรัฐได้

แต่ที่บริษัทชิโน-ไทยฯ รับงานดังกล่าว เพราะมั่นใจว่าสภาผู้แทนราษฎรฯ จะสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ตามกำหนด แต่กลับส่งมอบพื้นที่ล่าช้าไปถึง 11 ครั้ง จึงส่งผลกระทบต่อการก่อสร้าง เพราะพื้นที่ที่ใช้ในการก่อสร้าง จำเป็นต้องใช้สนับสนุนการก่อสร้างอาคาร

โดยเฉพาะโครงหลังคาห้องประชุมพระสุริยัน และห้องพระจันทรา ที่มีน้ำหนักกว่า 2,000 ตัน และมีความหนากว่า 20 นิ้ว เพื่อป้องกันการยิงระเบิด RPG จากสะพานเกียกกาย ที่จะสร้างอยู่ใกล้เคียงกันนั้น ไม่สามารถขนส่งได้ จึงจะต้องมาประกอบในพื้นที่

นอกจากนี้ นายพีระ ยังกล่าวถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัทชิโน-ไทยฯ จากการขอขยายระยะเวลาการก่อสร้างดังกล่าวว่า บริษัทชิโน-ไทยฯ ได้ประกาศสำรองการขาดทุนของบริษัทต่อตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว 3,000 ล้านบาท ซึ่งส่งผลกระทบต่อพนักงานบริษัท ขณะเดียวกัน ยังมีหนังสือถึงสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการต่อสัญญา 2 ครั้งที่ผ่านมา จำนวน 1,673 ล้านบาท

ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินความเสียหาย จากการต่อสัญญาครั้งที่ 3 โดยจะมีการยื่นฟ้องต่อศาล เพื่อเรียกร้องค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น ภายในเดือนเมษายนนี้ และยังยอมรับว่า หากย้อนเวลากลับไปได้ บริษัทชิโน-ไทยฯ คงไม่ขอร่วมประมูลการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ในครั้งนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook