โซเชียลวิจารณ์เละ นักตกปลาจับสัตว์หายากมาถ่ายรูปคู่

โซเชียลวิจารณ์เละ นักตกปลาจับสัตว์หายากมาถ่ายรูปคู่

โซเชียลวิจารณ์เละ นักตกปลาจับสัตว์หายากมาถ่ายรูปคู่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โลกโซเชียลโจมตีนักตกปลาจับสัตว์หายากที่ทะเลพังงาขึ้นมาถ่ายรูป ขณะที่ สบทช.8 วอนหยุดทำลาย

จากกรณีโลกออนไลน์แชร์ภาพผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านหนึ่ง ขณะกำลังยกปลารูปร่างประหลาด มีส่วนหัวคล้ายปลากระเบน และมีส่วนหางคล้ายปลาฉลาม ขึ้นมาถ่ายรูปภายในเรือประมงพื้นบ้านหลังจากสามารถตกได้ด้วยเบ็ด ก่อนจะทำการโพสเฟซบุ๊ก พร้อมระบุสถานที่ "กลางทะเลอันดามัน" ทำให้โลกออนไลน์เข้ามาวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก

รวมทั้งบรรดานักอนุรักษ์ต่างไม่พอใจกับสิ่งที่พบเห็น เนื่องจากปลาลักษณะดังกล่าวเป็นปลาที่หายากใกล้สูญพันธุ์ และอยู่ในระหว่างที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกำลังผลักดันให้ปลาดังกล่าวมีสถานภาพสัตว์ป่าเป็นสัตว์น้ำตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

นายวิชัย สมรูป ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 (สบทช.8) เปิดเผยว่า ปลาในภาพดังกล่าวเป็น "ปลาโรนิน" พบอาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นทะเลที่เป็นดินทรายปนโคลน ซึ่งขณะนี้ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดสัตว์ป่าที่หายาก (สัตว์ทะเล) เป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่ม 4 ชนิด คือ เต่ามะเฟือง ปลาฉลามวาฬ วาฬบรูด้า และวาฬโอมูระ

พร้อมร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง รวม 12 ชนิด ครอบคลุมกลุ่มปลากระเบนปีศาจ กระเบนแมนต้า กระเบนเจ้าพระยา ปลาโรนิน ปลาฉนาก และ ร่างกฎกระทรวงกำหนดชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองเป็นชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ (กรณีกระเบนเจ้าพระยา) ซึ่งอยู่ระหว่างการยืนยันความถูกต้อง

ก่อนจะเสนอร่างทั้งหมดให้ ครม. เห็นชอบ และทูลเกล้าเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อลงพระปรมาภิไธย และเสนอร่างกฎกระทรวง 2 ฉบับ ให้ รมว.ทส. ลงนาม ก่อนที่จะประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป จึงอยากให้ผู้ที่สามารถจับได้หรือมีการพบเห็นโปรดอย่าไปทำร้าย หรือ ทำลาย เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ และหาก ครม. เห็นชอบ หากพบเห็นผู้ที่กระทำความผิดจะมีความผิดตามตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 อีกด้วย

news13-1

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook