ตามรอยบุพเพสันนิวาส "เจ้าแม่วัดดุสิต" เกี่ยวข้องอย่างไรกับราชวงศ์จักรี

ตามรอยบุพเพสันนิวาส "เจ้าแม่วัดดุสิต" เกี่ยวข้องอย่างไรกับราชวงศ์จักรี

ตามรอยบุพเพสันนิวาส "เจ้าแม่วัดดุสิต" เกี่ยวข้องอย่างไรกับราชวงศ์จักรี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรียกว่าเป็นละครที่ทำให้สังคมไทยตื่นตัวกับการศึกษาหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์อย่างมาก สำหรับ บุพเพสันนิวาส ล่าสุดในตอนที่ 13 มีฉากหนึ่งที่แม่หญิงการะเกดพูดคุยกับแม่หญิงจันทร์วาด กล่าวถึง เจ้าแม่วัดดุสิต พระนมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เจ้าแม่วัดดุสิต พระนมชั้นเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งได้รับพระราชทานตำหนักริมวัดดุสิดารามเป็นที่อาศัย จึงเป็นที่มาของคำว่า เจ้าแม่ดุสิต มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับชาติกำเนิดของเจ้าแม่วัดดุสิตมีมากมาย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าเจ้าแม่วัดดุสิตสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กล่าวไว้ในหนังสือ โครงกระดูกในตู้ โดยอ้างจากหนังสือราชินิกุลบางช้างไว้ว่า "เจ้าแม่วัดดุสิตมีศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าในราชวงศ์พระมหาธรรมราชา ซึ่งสืบเชื้อสายมาแต่ราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย"

อย่างไรก็ตาม หลักฐานหลายแห่งก็ไม่ได้บ่งบอกว่าสายตระกูลของเจ้าแม่วัดดุสิตนั้นสืบเชื้อสายมาจากเชื้อพระวงศ์สายไหนเช่นกัน แต่จากเอกสารพงศาวดารไทยหลายฉบับและของต่างประเทศเป็นที่ยืนยันว่าเจ้าแม่วัดดุสิตนั้นมีตัวตนอย่างแน่นอน

ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า เจ้าแม่วัดดุสิตสมรสกับขุนนางเชื้อสายมอญมีบุตรธิดา 3 คน คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) , เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตเอกในสมัยพระนารายณ์มหาราช และ แช่ม หรือ ฉ่ำ ธิดา

เจ้าแม่วัดดุสิต นับได้ว่าเป็นพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี เนื่องจากบุตรชายของท่าน คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี หรือ โกษาปาน เป็นปู่ของพระยาราชนิกูล (ทองคำ) ซึ่งเป็นบิดาของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือเรียกให้เข้าใจง่ายว่า เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นปู่ของสมเด็จพระราชอัยกา (ปู่) ในรัชกาลที่ 1 นั่นเอง 

โดยวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook