ต้นไม้ริมทางอันตราย! กรณีศึกษาหลังสูญเสีย "น้องอิน ณัฐนิชา" ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต

ต้นไม้ริมทางอันตราย! กรณีศึกษาหลังสูญเสีย "น้องอิน ณัฐนิชา" ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต

ต้นไม้ริมทางอันตราย! กรณีศึกษาหลังสูญเสีย "น้องอิน ณัฐนิชา" ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การเสียชีวิตของ น.ส.ณัฐนิชา เชิดชูบุพการี หรือ น้องอิน ดาราสาวที่ประสบอุบัติเหตุรถยนต์พุ่งชนต้นไม้ บริเวณ ถ.กาญจนาภิเษก ตะวันตก ฝั่งขาออก แยกทางหลวง 347 จนเสียชีวิต ภาพที่ปรากฏในข่าวจะเห็นอย่างชัดเจนว่าแรงกระแทกจากตัวรถที่พุ่งชนต้นไม้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความสูญเสีย


ในขณะที่กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) กรมการขนส่งทางบก ให้ข้อมูลไว้ว่า อุบัติเหตุจากการขับรถชนต้นไม้ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ขับขี่ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากรถเสียหลักหลุดออกจากถนน และชนต้นไม้ด้วยความเร็วเพียง 60 กม./ชม. แรงปะทะจะเทียบเท่ากับรถตกจากตึกสูง 5 ชั้น และจะมีความรุนแรงมากขึ้นหากรถพุ่งชนต้นไม้ด้วยความเร็ว 100 กม./ชม. ซึ่งก็จะเทียบเท่ากับรถตกจากที่สูง 39 เมตร หรือตกจากตึก 13 ชั้น

ดร.นรบดี สาละธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านอุบัติเหตุทางท้องถนน สมาคมวิทยาการจราจรและขนส่งแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลกับ Sanook! News ว่า ตามหลักของความปลอดภัย ต้นไม้ที่ไม่ควรปลูกริมถนน คือต้นไม้ที่หยั่งรากลึก แกนไม้เนื้อแข็ง และต้นไม้ที่โตเร็ว ยกตัวอย่างเช่น ต้นกระถินณรงค์ ต้นประดู่ ต้นจามจุรี และต้นตีนเป็ด เนื่องจากต้นไม้ที่มีขนาดเส้นรอบรูป 30 เซนติเมตร วัดที่ตำแหน่งความสูงลำต้นจากพื้นดินขึ้นมา 1 เมตร (หรือมีขนาดเทียบเท่าขวดน้ำอัดลมขนาด 1.25 ลิตร) ก็จะสามารถทำอันตรายเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้

แต่ในประเทศไทย การตัดต้นไม้ริมทางอาจจะทำได้ยาก เนื่องจากมีข้อถกเถียงเรื่องการอนุรักษ์ จึงมีวิธีการป้องกันโดยติดตั้งการ์ดเรล (Guard Rail) แต่ก็มีราคาแพง นอกจากนี้ยังติดตั้งหมุดเป้าสะท้อนแสงริมทางเพื่อแจ้งเตือนผู้ขับขี่ กรณีรถยนต์ออกนอกเส้นทาง ซึ่งก็เริ่มเห็นใช้กันทั่วไป

ส่วนกรณีที่มีผู้นิยมปลูกต้นกล้วยริมถนนนั้น แม้ว่าจะลดแรงกระแทกได้ แต่ ดร.นรบดีไม่แนะนำ เนื่องจากในระยะยาว กอกล้วยจะปิดบังเส้นทางการไหลของน้ำริมถนน หรือการที่ชาวบ้านเก็บผลผลิตริมทาง ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน 

ในขณะที่เขต Clear Zone ตามมาตรฐานการก่อสร้างถนนของ AASHTO (American Association of State Highway and Transportation) มีการระบุไว้ว่าหากจะปลูกต้นไม้ และติดตั้งเสาไฟริมทาง ควรอยู่ห่างจากขอบผิวถนน 10-12 เมตร เพื่อลดความสูญเสียกรณีเกิดอุบัติเหตุ หลักการนี้จะเห็นได้จากถนน Autobahn ก่อสร้างตามมาตรฐานนี้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีระแนงแนวรั้วเพื่อป้องกันเพิ่มเติมอีกด้วย 


ดร.นรบดี กล่าวเพิ่มเติมว่า  จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในประเทศไทย พบว่าร้อยละ 30-45 ความสูญเสียเกิดจากการชนต้นไม้ เสาไฟ หลักกิโลเมตร และสิ่งปลูกสร้างข้างทาง การใช้ความเร็วสูงในการขับขี่ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต และทรัพย์สินมากขึ้นตามไปด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook