ชีปะขาวบุก บินขึ้นเล่นไฟนับล้านตัว ชี้วัดปลาในน้ำอุดมสมบูรณ์

ชีปะขาวบุก บินขึ้นเล่นไฟนับล้านตัว ชี้วัดปลาในน้ำอุดมสมบูรณ์

ชีปะขาวบุก บินขึ้นเล่นไฟนับล้านตัว  ชี้วัดปลาในน้ำอุดมสมบูรณ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 61  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณหน้าด่านท่าเทียบเรือเทศบาลเมืองมุกดาหาร เขื่อนริมแม่น้ำโขง อำเภอเมืองมุกดาหาร กองทัพแมลง หรือชาวบ้านเรียกว่า “ ชีปะขาว ” ในแม่น้ำโขง

ได้บินมาเล่นแสงจากไฟที่ให้แสงสว่างตามแนวถนนสายต่างๆ นับล้านตัว สร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนและผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหาร และโรงแรมเป็นอย่างมาก

 b

แต่ในทางกลับกัน เป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชัง เป็ด ไก่ ที่พากันเก็บซากแมลงชีปะขาวไปเป็นส่วนผสมของอาหารเลี้ยงปลา ซึ่งจำนวนแมลงชีปะขาวที่ออกมามากหรือน้อยนั้นจะบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของปลาน้ำโขง

หากออกมามากบ่งชี้ว่าปลาในแม่น้ำโขงจะมีมาก แต่หากออกมาน้อยปลาในลำน้ำโขงในปีนั้นๆ จะลดน้อยลง

c

แมลงชนิดนี้ชาวมุกดาหารเรียกว่า แมลงชีปะขาวหรือแมลงปอ  โดยในหนึ่งปีจะออกมาครั้งหรือสองครั้งปีไหนถ้าออกมามากแสดงว่า ปีนั้นจะอุดมสมบูรณ์ปลาน้ำโขงจะมาก แต่ในปีนี้แมลงชีปะขาวออกมามากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งบ่งบอกว่าปลาในแม่น้ำโขงมีมากนัก  

แมลงชีปะขาวจะขึ้นมาจากแม่น้ำโขงและจะมีอายุสั้นเพียงหนึ่งวัน แมลงชีปะขาวเป็นสัตว์ที่มีอายุสั้นที่สุดในโลก เพราะแมลงชีปะขาวจะขึ้นมาเล่นไฟเหมือนผึ้งแตกรังแล้วตกลงพื้นทำให้ขาวเหมือนหิมะ

e

สำหรับ “ ชีปะขาว ” จัดอยู่ในกลุ่มของแมลงอันดับอีฟีเมอรอปเทอรา (Ephemeroptera) เป็นกลุ่มแมลงน้ำที่พบอาศัยอยู่ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำไหล ใช้ชีวิตส่วนมากเป็นตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ

ลักษณะเฉพาะของแมลงชีปะขาวคือ ระยะที่มีปีกมี 2 ระยะ คือ ตัวรองตัวเต็มวัย (subimago) ระยะนี้ปีกจะมีสีขุ่น ปกคลุมด้วยขนขนาดเล็ก กันน้ำได้ อวัยวะเพศยังเจริญไม่เต็มที่ จากนั้นจะลอกคราบอีกครั้งกลายเป็นตัวเต็มวัย (imago) ปีกใสเป็นเงา อวัยวะเพศเจริญเต็มที่พร้อมจะผสมพันธุ์และวางไข่

d

ตัวเต็มวัยของแมลงชีปะขาวจะไม่กินอาหาร เนื่องจากโครงสร้างของส่วนปากลดรูปไป ทำให้ตัวเต็มวัยของแมลงชีปะขาวมีอายุสั้น คือ มีอายุประมาณ 1-2 ชั่วโมง จนถึง 14 วัน

ตัวเต็มวัยของแมลงชีปะขาวทำหน้าที่ผสมพันธุ์และวางไข่เท่านั้น จากนั้นจะตายไปในช่วงผสมพันธุ์ ดังนั้นแมลงชีปะขาวจึงได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีอายุสั้นที่สุดในโลก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook