“เซ็กส์จัด” เป็นเหตุ ทำหนูในออสเตรเลียเสี่ยงสูญพันธุ์

“เซ็กส์จัด” เป็นเหตุ ทำหนูในออสเตรเลียเสี่ยงสูญพันธุ์

“เซ็กส์จัด” เป็นเหตุ ทำหนูในออสเตรเลียเสี่ยงสูญพันธุ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันอังคาร (15 พ.ค.) ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า มาร์ซูเพียล (marsupial) หรือสัตว์กลุ่มที่เลี้ยงดูลูกด้วยน้ำนมในถุงหน้าท้องจำนวนสองสายพันธุ์ในออสเตรเลีย กำลังมีความเสี่ยงสูญพันธุ์ เพราะตัวผู้จะตายหลังจากการผสมพันธุ์แบบมาราธอน

“แอนทีไคนัสหางสีดำ” (black-tailed dusky antechinus) และ “แอนทีไคนัสหัวเงิน” (silver-headed antechinus) ถูกพบครั้งแรกในปี 2013 ในพื้นที่เปียกและมีความชื้นสูงของรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าพวกมันมีพฤติกรรมผสมพันธุ์อย่างหนักหน่วงแบบไม่คิดชีวิต โดยใช้เวลาผสมพันธุ์ได้นานถึง 14 ชั่วโมง

นอกจากพฤติกรรมในข้างต้น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย และแมลงศัตรู ก็ยังเป็นภัยคุกคามต่อสัตว์สองสายพันธุ์ที่มีลักษณะคล้ายกับหนูเหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์กลัวว่าพวกมันอาจจะสูญพันธุ์ไปจากออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการสูญพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสูงที่สุดในโลก

“พวกมันผสมพันธุ์อย่างดุเดือดบ้าคลั่ง และพยายามหาคู่ตัวใหม่ไปเรื่อยๆ ซึ่งอาจใช้เวลายาวนานหลายชั่วโมง ดังนั้นพวกมันจึงเหน็ดเหนื่อยมาก” แอนดรูว์ เบเกอร์ (Andrew Baker) นักวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีควีนแลนด์ (Queensland University of Technology) กล่าว

เขากล่าวว่า ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ประมาณ 2 สัปดาห์ ประมาณปลายหน้าหนาวของเขตขั้วโลกใต้ พวกมันมีความต้องการเพศสัมพันธ์อย่างมาก โดยพยายามที่จะผสมพันธุ์กับเพศเมียที่พบและต่อสู้กับคู่แข่งเพศผู้ เพราะพวกมันมีระดับฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป ฮอร์โมนความเครียดจะทำลายอวัยวะในร่างกายของพวกมันจนมีสภาพยับเยินและตายในที่สุด

“พวกมันส่วนใหญ่เป็นสัตว์หากินกลางคืน แต่ผมเคยเห็นพวกพวกมันในช่วงกลางวัน กำลังมองหาคู่ผสมพันธุ์ในสภาพมีเลือดไหลออกจากหลายแห่งของร่างกายรวมถึงขนก็หลุดร่วง”

แอนทีไคนัสตัวเมียมีอายุขัยประมาณ 2 ปี โดยราวครึ่งหนึ่งของตัวเมียมีจะตั้งท้องแค่ครั้งเดียวและให้กำเนิดลูกประมาณ 6-14 ตัวในขณะที่ตัวผู้มักตายก่อนอายุครบหนึ่งปี

ปัจจุบันมีสองพื้นที่ในรัฐควีนส์แลนด์ที่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์สายพันธุ์นี้ โดยมีจำนวนประชากรไม่ถึง 250 ตัว เบเกอร์เชื่อว่าในเวลา 20 ปีที่ผ่านมา จำนวนประชากรของพวกมันเติบโตขึ้นถึง 10 เท่า แต่ด้วยปัจจัยกดดันจากภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขาดแคลนแหล่งอาหาร ทำให้ตอนนี้นักวิจัยต้องเร่งหาวิธีช่วยเหลือไม่ให้มันสูญพันธุ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook