ระวังเห็ดพิษ! แพทย์ชี้ใกล้หน้าฝน เก็บกินมั่วระวังถึงชีวิต

ระวังเห็ดพิษ! แพทย์ชี้ใกล้หน้าฝน เก็บกินมั่วระวังถึงชีวิต

ระวังเห็ดพิษ! แพทย์ชี้ใกล้หน้าฝน เก็บกินมั่วระวังถึงชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 28 พ.ค. 61 แพทย์หญิงนภาพร เกียรติดำรง รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูม รพ.อำนาจเจริญ  เปิดเผยว่า ขณะนี้หลายพื้นที่เริ่มมีฝนตก ทำให้เริ่มมีเห็ดชนิดต่างๆ ออกดอกเป็นจำนวนมาก และเป็นที่นิยมของประชาชนในการเก็บมาบริโภคด้วยการปรุงเป็นอาหารประเภทต่างๆ โดยที่เห็ดนั้นมีทั้งเห็ดที่รับประทานได้ และเห็ดพิษหรือเห็ดเมา มีลักษณะใกล้เคียงกับเห็ดที่รับประทานได้ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดเก็บมารับประทาน จนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

จึงอยากย้ำเตือนให้ประชาชนเลือกบริโภคเฉพาะเห็ดที่รู้จักจริงๆ เท่านั้น ไม่ว่าจะโดยการเก็บหรือซื้อมารับประทานก็ตาม หากไม่แน่ใจห้ามรับประทานอย่างเด็ดขาด

โดยจากสถิติย้อนหลัง 3-4 ย้อนหลัง ก็เคยมีผู้ป่วยที่เข้ารับมารักษาที่ รพ.อำนาจเจริญ จากการรับประทานเห็ดพิษบ่อยที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วพบมีผู้ป่วยที่มารับการรักษาจากการรับประทานเห็ดพิษ 16-20 รายต่อปี แต่ก็ไม่เคยถึงขั้นเสียชีวิต จนตอนนี้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย จากการกินเห็ดพิษ ซึ่งเป็นชายวัย 58 ปี ที่มาเข้ารับการรักษาที่ รพ.อำนาจเจริญ เมื่อช่วงวันที่ 24 พ.ค. 61

จากการตรวจเลือดพิสูจน์พบว่า ผู้เสียชีวิตมีอาการตับและไตไม่ทำงาน (ตับวาย ไตวาย) และต่อมาหัวใจวาย จนทำให้เสียชีวิตในที่สุด เป็นระยะที่ 3 ของการได้เห็ดพิษจำพวกที่ 1 แพทย์จึงคาดว่า เห็ดพิษที่ผู้ตายรับประทานเข้าไปนั้น เป็นเห็ดพิษที่มีพิษต่อตับ คือ  เห็ดพิษจำพวกที่ 1 เป็นชนิดที่รุนแรงมาก ยังไม่มีเซรุ่มต้านพิษของเห็ดประเภทดังกล่าว

อีกทั้งประกอบกับผู้ตายมีโรคประจำตัว คือ โรคเบาหวาน ความดัน และโรคไต ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ตายได้รับพิษขั้นรุนแรง เนื่องจากไตไม่สามารถขับสารพิษออกจากร่างได้ จนเป็นเหตุให้ชีวิต ขณะที่ภรรยาของผู้ตายที่ได้รับพิษตอนนี้อาการก็ยังคงน่าเป็นห่วงอยู่

ส่วนอาการที่เกิดจากการกินเห็ดพิษมีหลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด มักปรากฎหลังกิน 3 ชั่วโมง อาการพิษมากน้อยแตกต่างกันตามปริมาณที่กินเข้าไป ส่วนใหญ่หลังจากที่กินเห็ดพิษแล้ว จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระ แต่หลังจากนั้นผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงตามมา คือ การทำงานของตับและไตล้มเหลว ทำให้เสียชีวิตได้ทันที          

ขณะที่ทาง ด้านแพทย์หญิงพลอย พงษ์วิทยภานุ หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมสังคม เปิดเผยว่า ตอนนี้ได้มีการแบ่งประเภทของเห็ดพิษเป็น 6 กลุ่ม โดยกลุ่มที่รุนแรงที่สุดคือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีพิษต่อตับ จะเริ่มมีอาการหลังจากรับประทานเห็ดพิษเข้าไปแล้ว 6-12 ชั่วโมง โดยระยะที่ 1 จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนท้องเสีย ระยะที่ 2 ไม่มีอาการแต่ผลค่าตับและไตเริ่มผิดปกติ ระยะที่ 3 (2-4 วันหลังจากรับประทาน) ตับวาย ไตวาย หัวใจวาย ลิ่มเลือดอุดตัน และเสียชีวิตในเวลาต่อเมา

กลุ่มที่ 2 พิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง แบบที่ 1 หลังจากทานเห็ดพิษเข้าไปแล้ว 6-24 ชั่วโมง จะมีอาการมึนงง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ จากนั้นเพ้อ ชัก หมดสติ มีภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงแตก ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิต แบบที่ 2 หลังจากทานเห็ดพิษเข้าไป 30 นาที – 1 ชั่วโมง จะมีอาการเคลิ้ม ประสาทหลอน คล้ายคนเสพยา LSD

กลุ่มที่ 3 พิษต่อระบบประสาทอัตโนมัติ แบบที่ 1(พิษนี้จะไม่ทนความร้อน) หลังจากรับประทาน 30 นาที – 1 ชั่วโมง จะมีอาการหัวใจเต้นช้าลง หายใจไม่สะดวก เสมหะมาก น้ำลายมาก น้ำตาไหลมาก อาเจียน ปัสสาวะอุจจาระราด แบบที่ 2 จะมีอาการเมา เคลิ้ม ร่าเริง กระปรี้กระเปร่า ประสาทหลอน และเอะอะโวยวาย จากนั่นจะหลับไป  และหายเป็นปกติภายใน 1-2 วัน

กลุ่มที่ 4 พิษต่อไต(พิษนี้ทนความร้อน) หลังจากรับประทาน 24-36 ชั่วโมง จะมีอาการปวดท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ หนาวสั่น ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อ จากนั่นจะเริ่มมีปัสสาวะบ่อย และไตวายเรื้อรัง

กลุ่มที่ 5 พิษร่วมกับแอลกอฮอล์ หลังจากทานไปแล้ว 10-30 นาที จะมีอาการเกิดขึ้น เมื่อรับประทานพร้อมกับการดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้น จะทำให้หน้าแดง ตัวแดง ใจสั่น หอบ เหงื่อแตก เจ็บหน้าอก

และกลุ่มสุดท้ายกลุ่มที่ 6  พิษต่อทางเดินอาหาร หลังจากทาน 30 นาที – 3 ชั่วโมง จะมีอาการแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หายเองใน 24 ชั่วโมง โดยเห็ดพิษในกลุ่มที่ 1-2 จะรุนแรงมากหากรับประทานเข้าไป โดยสารพิษในเห็ดจะทนความร้อนได้ดี ดังนั้นถึงแม้เห็ดจะสุกแล้ว แต่ความเป็นพิษก็ยังมีสูง มีเพียงเห็ดพิษกลุ่มที่ 3 เท่านั้น ที่ไม่ทนความร้อน

หากพบผู้ได้รับพิษจากการกินเห็ด การช่วยเหลือเบื้องต้นที่สำคัญที่สุด คือ ทำให้อาเจียนออกมาให้หมด โดยการล้วงคอหรือกรอกไข่ขาว แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยใกล้บ้านทันที

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ ของ ระวังเห็ดพิษ! แพทย์ชี้ใกล้หน้าฝน เก็บกินมั่วระวังถึงชีวิต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook