ไขข้อข้องใจ เหตุใด "พระเถระ" ที่ศาลไม่ให้ประกันตัวจึงต้องสึก

ไขข้อข้องใจ เหตุใด "พระเถระ" ที่ศาลไม่ให้ประกันตัวจึงต้องสึก

ไขข้อข้องใจ เหตุใด "พระเถระ" ที่ศาลไม่ให้ประกันตัวจึงต้องสึก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตลอดช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวที่ผู้คนในสังคมให้ความสนใจอยู่ไม่น้อยนั่นคือ ปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการบุกนิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ชนิดที่บางรูปมีสถานะเป็นถึงกรรมการในมหาเถรสมาคมด้วยซ้ำ ซึ่งมีหลักฐานเชื่อมโยงว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตเงินงบประมาณอุดหนุนวัดที่รัฐจัดสรรให้ผ่านสำนักงานพระพุทธศานาแห่งชาติ (พศ.) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า คดีทุจริตเงินทอนวัด

เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าควบคุมตัวพระเถระตามหมายจับแล้วนั้น ในเวลาต่อมาก็นำตัวไปยื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาล ในขณะเดียวกันทางฝ่ายกฎหมายหรือทนายความของผู้ถูกกล่าวหาสามารถยื่นคำร้องขอประกันตัวต่อศาลได้เช่นกัน 

ซึ่งอย่างที่เราทราบจากข่าวที่ปรากฏออกมาว่า ศาลได้พิจารณาแล้วไม่อนุญาตให้ประกันตัวพระเถระชั้นผู้ใหญ่ทุกรูปที่ถูกเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมตัว แล้วจากนั้นจึงนำไปสู่การสละสมณศักดิ์ ต้องถอดผ้าเหลืองเข้าไปอยู่ในเรือนจำนั่นเอง

ถึงตรงนี้หลายคนคงสงสัยว่าเพราะเหตุใด หลังจากที่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวแล้ว พระเถระจึงต้องสึกออกจากเพศบรรพชิต Sanook! News มีคำตอบมาฝากกัน

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ระบุเอาไว้ใน หมวด ๔ นิคหกรรมและการสละสมณเพศ ดังนี้

  • มาตรา ๒๔ พระภิกษุจะต้องรับนิคหกรรมก็ต่อเมื่อกระทำการล่วงละเมิดพระธรรมวินัย และนิคหกรรมที่จะลงแก่พระภิกษุก็ต้องเป็นนิคหกรรมตามพระธรรมวินัย
  • มาตรา ๒๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๔ มหาเถรสมาคมมีอำนาจตรากฎมหาเถรสมาคม กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติ เพื่อให้การลงนิคหกรรมเป็นไปโดยถูกต้อง สะดวกรวดเร็วและเป็นธรรม และให้ถือว่าเป็นการชอบด้วย กฎหมายที่มหาเถรสมาคมจะกำหนดในกฎมหาเถรสมาคม ให้มหาเถรสมาคมหรือพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ตำแหน่งใดเป็นผู้มีอำนาจลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุ ผู้ล่วงละเมิดพระธรรมวินัย กับทั้งการกำหนดให้การวินิจฉัยการลงนิคหกรรมให้เป็นอันยุติในชั้นใดๆ นั้นด้วย
  • มาตรา ๒๖ พระภิกษุรูปใดล่วงละเมิดพระธรรมวินัยและได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดให้ได้รับนิคหกรรมให้สึก ต้องสึกภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้ทราบคำวินิจฉัยนั้น
  • มาตรา ๒๗ เมื่อพระภิกษุรูปใดต้องด้วยกรณีข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) ต้องคำวินิจฉัยตามมาตรา ๒๕ ให้รับนิคหกรรมไม่ถึงให้สึก แต่ไม่ยอมรับนิคหกรรมนั้น

(๒) ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ

(๓) ไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง

(๔) ไม่มีวัดเป็นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง

ให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม

พระภิกษุผู้ต้องคำวินิจฉัยให้สละสมณเพศตามวรรคสอง ต้องสึกภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยนั้น

  • มาตรา ๒๘ พระภิกษุรูปใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย ต้องสึกภายในสามวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
  • มาตรา ๒๙ พระภิกษุรูปใดถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว และเจ้าอาวาสแห่งวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัดไม่รับมอบตัวไว้ควบคุม หรือพนักงานสอบสวนไม่เห็นสมควรให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม หรือพระภิกษุรูปนั้นมิได้สังกัดในวัดใดวัดหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้
  • มาตรา ๓๐ เมื่อจะต้องจำคุก กักขัง หรือขังพระภิกษุรูปใดตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล มีอำนาจดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้ และให้รายงานให้ศาลทราบถึงการสละสมณเพศนั้น

 

จะเห็นได้ว่ากรณีพระเถระชั้นผู้ใหญ่ในคดีทุจริตเงินทอนวัดนั้น เป็นเหตุที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ มาตรา ๒๙-๓๐ นั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook