"หลับไป-ทำงานไป" เหมาะสมมั้ย ถามใจเธอดู

"หลับไป-ทำงานไป" เหมาะสมมั้ย ถามใจเธอดู

"หลับไป-ทำงานไป" เหมาะสมมั้ย ถามใจเธอดู
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไม่นึกไม่ฝันว่าจะได้หยิบยกประเด็นนี้มาสื่อสารกับผู้อ่านของ Sanook! News เลยจริงๆ ถ้าไม่เป็นเพราะว่าเมื่อวานนี้ (7 มิ.ย. 61) การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวาระเพื่อพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2562 มีภาพสมาชิก สนช.ผู้ทรงเกียรติบางท่านนั่งหลับระหว่างฟัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงเนื้อหาและรายละเอียดของโครงการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน 3 ล้านล้านบาท

>> นายกฯ ฉุนสื่อจับผิด สนช.หลับคารัฐสภา บอกไร้สาระ

จริงๆ แล้ว ภาพที่เราๆ ท่านๆ ได้เห็นกันเมื่อวานนั้น ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นแต่อย่างใด เพราะก่อนหน้านี้หลายคนคงเคยเห็นภาพเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันมาบ้างแล้ว แต่ไม่อยากจะย้อนอดีตไปขุดคุ้ยให้เสียเวลา เอาเป็นว่าถ้าผู้ทรงเกียรติท่านใดมีปัญหาในเรื่องการพักผ่อนนอนหลับ ลองศึกษาข้อมูลจากเนื้อหาเหล่านี้น่าจะมีประโยชน์ต่อการเตรียมตัวมาทำหน้าที่อยู่บ้างไม่มากก็น้อย

>> นอนกี่ชั่วโมง ถึงจะ “พอดี” กับ “อายุ”

>>  5 ท่านอนผิดๆ ที่ทำให้คุณปวดหลัง-ปวดคอ

>> ข้อดี-ข้อเสียของแต่ละท่านอน นอนท่าไหนหลับสบายที่สุด

>> 7 วิธีการหลีกเลี่ยงอาการ "นอนกรน"

แต่สิ่งที่อยากจะชวนแลกเปลี่ยนความเห็นกันต่อก็คือ หลังจากมีภาพสมาชิกผู้ทรงเกียรตินั่งหลับกลางที่ประชุมสภาฯ เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน รวมทั้งสื่อโซเชียล-สื่อออนไลน์ กันอย่างกว้างขวาง ก็มีสมาชิก สนช.บางท่านตำหนิการปล่อยภาพดังกล่าวของสื่อต่างๆ ทั้งยังระบุว่าที่ผ่านมาสื่อมวลชนยังทำงานแบบเดิมๆ ไม่มีการปฏิรูปแต่อย่างใด

ประเด็นที่น่าคิดก็คือ

  1. การทำหน้าที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ มีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติ แต่การนั่งหลับในระหว่างที่มีการประชุม โดยเฉพาะวาระที่มีความสำคัญในระดับพิจารณางบประมาณรายจ่ายของประเทศ เป็นเรื่องสมควรหรือไม่
  2. การทำหน้าที่สื่อมวลชน รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือเป็นเรื่องพื้นฐานของความเป็นสื่อสารมวลชน เหตุใดจึงถูกตำหนิว่าเป็นการทำหน้าที่อย่างไม่เหมาะสม

 

ในเมื่อต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ของตนเอง ฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งประกอบไปด้วย ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ 

ขณะที่อีกฝ่ายทำหน้าที่ตัวกลางรายงานข้อมูล ข้อเท็จจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้นตามหลักวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และสื่อสารมวลชน

ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าบ้านเมืองเรากำลังอยู่ในช่วงเวลาของการปฏิรูป ถ้านับตั้งแต่วันที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำกองทัพเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลก่อน ก็เป็นเวลากว่า 4 ปีแล้ว มาจนถึงตอนนี้เริ่มมีเสียงเรียกร้องจากผู้คนในสังคมที่ดังขึ้นเรื่อยๆ ในทำนองว่า รูปธรรมที่ชัดเจนของการปฏิรูปบ้านเมืองคืออะไรบ้าง 

และไม่ต้องบอกก็คงรู้ว่า ระหว่างภาพสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัตินั่งหลับกลางที่ประชุมสภาฯ กับ การรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ประชาชนทั่วไปอยากจะให้ปฏิรูปเรื่องอะไร

 

>> กัมพูชา "พักงาน" ตำรวจงีบหลับกลางห้องประชุม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook