ศาลฎีกาไม่รับฟ้องข้อหา "คสช." เป็นกบฏ ชี้มีรัฐธรรมนูญชั่วคราวคุ้มครอง

ศาลฎีกาไม่รับฟ้องข้อหา "คสช." เป็นกบฏ ชี้มีรัฐธรรมนูญชั่วคราวคุ้มครอง

ศาลฎีกาไม่รับฟ้องข้อหา "คสช." เป็นกบฏ ชี้มีรัฐธรรมนูญชั่วคราวคุ้มครอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศาลฎีกา ยกฟ้องเช่นเดียวกับ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ในคดีที่กลุ่มพลเมืองโต้กลับ ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับคณะคสช.รวม 5 คน ในข้อหาร่วมกันเป็นกบฏ จากการเข้ายึดอำนาจการบริหารประเทศ เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557

วันนี้ (22 มิ.ย.61) ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ให้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ยกฟ้องไม่รับไต่สวนมูลฟ้อง คดีที่กลุ่มพลเมืองโต้กลับ ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กับพวกรวม 5 คน ในข้อหาร่วมกันเป็นกบฏ

โดยศาลพิเคราะห์ว่าการทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 เป็นการกระทำความผิด แต่จำเลยมีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 คุ้มครอง

คดีนี้ กลุ่มพลเมืองโต้กลับ Resistant Citizen โดย นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ และพวกรวม 15 คน มี นายอานนท์ นำภา เป็นผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ยื่นฟ้อง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. รวม 5 คน ประกอบด้วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย, พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง, พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว และพล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ในข้อหาร่วมกันเป็นกบฏ ที่เป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 จากกรณีเข้ายึดอำนาจทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557

ทั้งนี้ กลุ่มพลเมืองโต้กลับ นำโดย นายพันธ์ศักดิ์, นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว ได้เดินทางมาที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เพื่อฟังคำพิพากษาด้วย

อย่างไรก็ตาม มาตรา 113 แห่งรัฐธรรมนูญฯ ระบุว่า ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ

(1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ

(2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ

(3) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร 

ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook