อังกฤษณรงค์ใช้ทิชชู่ต้านไข้หวัดเม็กซิโก

อังกฤษณรงค์ใช้ทิชชู่ต้านไข้หวัดเม็กซิโก

อังกฤษณรงค์ใช้ทิชชู่ต้านไข้หวัดเม็กซิโก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บริษัทยาเตรียมผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดเม็กซิโก การบินไทยฯเข้มมาตรการป้องกัน พร้อมจัดมาตรการทำความสะอาด พร้อมทั้งอบพ่นยาฆ่าเชื้อโรคเครื่องบินทุกครั้งหลังจากกลับจากประเทศที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยง

รัฐบาลอังกฤษเปิดตัวโฆษณาต้านไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโกระบาดด้วยการรณรงค์ให้ประชาชนใช้กระดาษทิชชูเมื่อไอหรือจาม โดยต้องทิ้งให้เป็นที่เป็นทางและล้างมือให้สะอาด

โฆษณาชุดนี้ของกระทรวงสาธารณสุขอังกฤษใช้ชื่อว่า "Catch it, Bin it, Kill it!" จากนั้นจะเริ่มแจกใบปลิวแก่ครัวเรือนทั่วประเทศตั้งแต่วันอังคารหน้าให้ข้อมูลเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโกที่พบในหลายประเทศ ตอกย้ำเนื้อหาในโฆษณาอีกครั้ง


บริษัทยาเตรียมผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดเม็กซิโก

บริษัทซาโนฟี-อาเวนติส เอสเอ, บริษัทแบกซ์เตอร์ อินเตอร์แนชันแนล และบริษัทแกล็กโซ่สมิทธไคลน์ ได้หารือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขถึงวิธีการเร่งเพิ่มปริมาณการผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก โดยแบกซ์เตอร์ ผู้พัฒนาวัคซีนรักษาไข้หวัดใหญ่ที่เกิดตามฤดูกาลและไข้หวัดนก เปิดเผยว่า กำลังจะได้รับตัวอย่างไวรัสไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกในอีกไม่กี่วันนี้

ทั้งสามบริษัทอยู่ในกลุ่มบริษัท ที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะเรียกร้องให้เร่งผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก แต่โดยปกติแล้วผู้ผลิตยาเพิ่งเริ่มผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ซึ่งจะระบาดในสหรัฐช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม เจสซี กู้ดแมน รักษาการหัวหน้านักวิทยาศาสตร์สำนักงานอาหารและยาสหรัฐ เปิดเผยว่า โดยปกติผู้ผลิตจะผลิตวัคซีนไปตามกำหนดเวลา แต่ในกรณีที่เกิดสถานการณ์การระบาดหรือ สถานการณ์ฉุกเฉิน ก็อาจขอร้องให้เร่งการผลิตได้

ขณะเดียวกัน ก็มีการตั้งถามที่จริงจังเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาทิฟลู ที่ถูกพิจารณาว่าอยู่แถวหน้าของของการป้องกันไวรัสมรณะชนิดต่าง ๆ การที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เพิ่มระดับการเตือนภัยการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกจาก 4 เป็น 5 และวัคซีนที่จะมีผลในการยับยั้งไวรัสไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก จะต้องใช้เวลาในการผลิตราว 3 ถึง 6 เดือน จึงมีเพียงยาต้านไวรัสอย่าง ทามิฟลูและรีเลนซ่า เท่านั้น ที่เป็นแนวหน้าในการรับมือ

ดร.เดวิด บัทเลอร์ โจนส์ ผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุขของแคนาดา ระบุว่า ประเทศของเขาได้สำรองยาทามิฟลูสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาไปจนกว่าจะได้รับวัคซีน แต่จากการทดสอบในห้องแลปเมื่อไม่นานมานี้ รวมทั้งที่ เนชั่นแนล ไมโครไบโอโลจี้ แลบอราทอรี่ของแคนาดา ได้แสดงให้เห็นว่า ทามิฟลูไม่ได้มีประสิทธิภาพในการต้านไวรัส H1N1 ที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ทำให้เกิดปัญหาตามมาว่า ถ้าทามิฟลูไม่สามารถต้านไวรัสทั่วไปอย่าง H1N1 ไทบ์ A ได้ แล้วมันจะสามารถต้านไวรัสตัวใหม่อย่าง H1N1 ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกได้อย่างไร

ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า อาจใช้ไม่ได้ผล และรัฐบาลแต่ละประเทศไม่ควรเอาชะตากรรมไปผูกไว้กับยาทามิฟลู รัฐบาลแต่ละชาติ พากันสั่งยาทามิฟลู ของบริษัทโร้ช มาเก็บไว้ในจำนวนมหาศาล แต่ไม่มีหลักประกันว่า ทามิฟลูจะมีประสิทธิภาพสำหรับสายพันธุ์ที่แพร่ระบาด มีรายงานด้วยว่า ยาทามิฟลู ไม่มีผลต่อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และแพทย์ได้ใช้ยาชนิดอื่นมารักษาผู้ป่วย

แต่สิ่งที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขวิตก ไม่ใช่เรื่องที่ประสิทธิภาพของยาทามิฟลู แต่การมใช้ยามากเกินไปต่างหากที่น่าวิตก และไวรัสไข้หวัดใหญ่ก็กลายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว การใช้ยาทามิฟลูโดยไม่จำเป็น ร้งแต่จะทำให้ประสิทธิภาพของยาไร้ประโยชน์ เนื่องจากไวรัสตัวใหม่อาจกลายพันธุ์จนดื้อยาไปในที่สุด


บินไทยฯเพิ่มมาตรการป้องกันโรคไข้หวัดแม็กซิโก

เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 30 เมษายน 2552 พลอากาศเอกณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส สำนักเลขานุการรักษาการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ที่ได้มีการแพร่ระบาดอยู่ในประเทศแม็กซิโก สหรัฐอเมริกา แคนาดา และประเทศสเปน ทางบริษัทจึงได้กำหนดมาตรการให้ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการ ทำความสะอาด ด้วยการอบพ่นยาฆ่าเชื้อโรค Eco Tru 1453 (Fumigation)

ทั้งบริเวณห้องผู้โดยสาร และห้องนักบินในทุกเที่ยวบิน ที่บินกลับมาจากประเทศที่มีความเสี่ยง พร้อมทั้งทำการตรวจสอบ ทำความสะอาด และเปลี่ยนแอร์ฟิลเตอร์ของระบบหมุนเวียนอากาศภายในเครื่องบินที่กลับมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงตามระยะเวลาอย่างเคร่งครัด โดยบริษัทได้ใช้ TRUE HEPA FILTER ซึ่งเป็นเครื่องกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถดักจับอนุไวรัสและเชื้อโรคได้สูงถึง 0.001 ไมครอน เหรือ 99.999%

พลอากาศเอกณรงค์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการฝ่ายบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้นนั้น ได้เน้นการทำความสะอาดทุกจุดสัมผัสทุกส่วนรวม 36 จุด อย่างเคร่งครัด ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรครวมทั้งการทำความสะอาดช่องระบายอากาศของเครื่องปรับอากาศบนเครื่องบิน ในส่วนของฝ่ายบริการบนเครื่องบินนั้น ทางพนักงานต้อนรับบนเครี่องบินจะให้บริการแก่ผู้โดยสารโดยมิให้ผู้โดยสารจับต้อง เครื่องมือ และอุปกรณ์บริการอาหารที่เป็นส่วนรวม พร้อมกับเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดภายในห้องน้ำระหว่างเที่ยวบินให้มากขึ้น

หากพบว่าผู้โดยสารมีอาการตัองสงสัย จะให้แยกห่างจากผู้โดยสารอื่น อย่างน้อย 2 แถวหน้า หรือ 2 แถวหลัง ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก และแจ้งด่านควบคุมโรติดต่อระหว่างประเทศก่อนเครื่องบินลงจอด พร้อมกันนั้นทางพนักงานได้จัดเตรียมหน้ากากอนามัยสำหรับผู้โดยสารสวมใส่บนเครื่องบินอีกด้วย

"โดยปกติแล้วเครื่องบินทุกลำของสายการบินไทย จะทำความสะอาดเดือนละ 1 ครั้ง แต่เมื่อเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์แม็กซิโกระบาด จึงได้เพิ่มมาตรการเข้มด้วยการทำความสะอาดเครื่องบิน พร้อมกับพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทุกครั้ง หลังจากบินกลับจากกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้โดยสารและผู้ที่มาใช้บริการ" พลอากาศเอกณรงค์ศักดิ์ กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook