แพทย์ผู้ช่วยเหลือ 33 คนงานติดเหมืองถล่มในชิลี แชร์ไอเดียกรณี “ถ้ำหลวง”

แพทย์ผู้ช่วยเหลือ 33 คนงานติดเหมืองถล่มในชิลี แชร์ไอเดียกรณี “ถ้ำหลวง”

แพทย์ผู้ช่วยเหลือ 33 คนงานติดเหมืองถล่มในชิลี แชร์ไอเดียกรณี “ถ้ำหลวง”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นาทีนี้ เหตุการณ์ในประเทศไทยที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นกรณีนักฟุตบอลและโค้ช “ทีมหมูป่าอะคาเดมี” ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เป็นเวลานานกว่า 10 วัน และในขณะนี้ ทีมกู้ภัยหลายฝ่ายก็กำลังพยายามอย่างยิ่งที่จะหาวิธีพาทั้ง 13 ชีวิต ออกมาจากถ้ำได้อย่างปลอดภัย

ระหว่างที่ทีมหมูป่ารอการช่วยเหลืออยู่ในถ้ำหลวงนั้น บรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ต่างแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการช่วยเหลือ ซึ่งรวมถึง 2 ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านประสบการณ์การช่วยเหลือคนงานเหมือง 33 ชีวิต ที่ติดอยู่ในซากเหมืองถล่มที่ประเทศชิลี นานถึง 69 วัน เมื่อปี 2010 ได้แก่ ดร. ฌอน คริสตอฟ โรมาญอลี ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา และเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมฝึก เพื่อช่วยเหลือคนงานเหมืองทั้งหมด และอัลเบอร์โต อิตูร์รา เบนาวีเดส นักจิตวิทยา ซึ่งทั้งคู่ได้ให้สัมภาษณ์กับ CNN เกี่ยวกับกรณีถ้ำหลวงไว้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องการดูแลสุขภาพจิตของทีมหมูป่า

ทีมนักประดาน้ำกำลังขนอุปกรณ์ช่วยเหลือทีมหมูป่าGettyimagesทีมนักประดาน้ำกำลังขนอุปกรณ์ช่วยเหลือทีมหมูป่า

โรมาญอลีกล่าวว่า ขั้นตอนการดูแลสุขภาพจิตถือเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด เนื่องจากทีมหมูป่าไม่ได้เตรียมตัวมาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่จำกัด ดังนั้น อาการกลัวที่แคบหรือหวาดระแวงอาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งต่างจากคนงานเหมืองที่คุ้นเคยกับการอยู่ในพื้นที่แคบๆ อย่างไรก็ตาม การเป็นนักกีฬาที่มีทีมเวิร์กแข็งแกร่ง ก็อาจจะเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยให้ทีมหมูป่าจัดการกับผลกระทบทางจิตใจได้

ด้านเบนาวีเดสให้ความเห็นว่า การทำให้เด็กๆ ทีมหมูป่ารู้สึกว่าเหตุการณ์นี้เป็นการผจญภัยครั้งสำคัญที่สุดในชีวิต จะทำให้พวกเขารู้สึกสนุกสนานและอดทนต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ ทีมกู้ภัยที่อยู่กับเด็กๆ และโค้ชจะต้องทำให้พวกเขารู้สึกผ่อนคลาย ไม่เข้มงวดจนเกินไป และห้ามขัดขวางความเป็นไปได้ต่างๆ โดยไม่มีการวิเคราะห์หรือทดลอง ซึ่งข้อนี้ก็เป็นบทเรียนสำคัญที่เบนาวีเดส และทีมกู้ภัยที่ชิลีได้เรียนรู้มาก่อน

ในการดูแลด้านจิตใจและอารมณ์ โรมาญอลีระบุว่า จากการช่วยเหลือคนงานเหมือง ปัญหาพื้นฐานที่เขาพบคือความไม่มั่นใจว่าจะได้รับการช่วยเหลือหรือไม่ ซึ่งแม้ว่าจะพบตัวแล้ว แต่ผู้ประสบภัยจะยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถรอดชีวิตออกไปได้หรือไม่ อย่างน้อยจนกระทั่ง 2 วัน ก่อนที่จะมีการช่วยเหลือออกมา ความไม่มั่นใจนี้จะสร้างความวิตกกังวลและอาจส่งผลร้ายแรง หากไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ดังนั้น ทีมกู้ภัยต้องสร้างความเชื่อมั่นว่าผู้ประสบภัยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการช่วยเหลือ

“สิ่งที่ควรทำอีกอย่างหนึ่งคือพวกเขาควรทำตัวให้ยุ่ง และมีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการทำงานเล็กๆ น้อยๆ เช่น รับเสบียงและสิ่งของที่ส่งมา เล่าเรื่องราวที่จบอย่างมีความสุข จัดตารางเวลาสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ นำเพื่อนๆ ร้องเพลง หรือสวดมนต์ร่วมกัน กิจกรรมเหล่านี้ต้องผลัดเปลี่ยนกันทำ เพื่อสร้างบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน ไม่ใช่ให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้กำหนดอนาคต” เบนาวีเดสกล่าว

สองอดีตคนงานเหมือง ที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์เมื่อถล่มที่ประเทศชิลี เมื่อปี 2010Gettyimagesสองอดีตคนงานเหมือง ที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์เมื่อถล่มที่ประเทศชิลี เมื่อปี 2010

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นข้อได้เปรียบในสถานการณ์นี้ก็คืออายุและสภาพร่างกายของสมาชิกทีมหมูป่า เพราะเมื่อเทียบกับคนงานเหมืองที่อายุมากและมีโรคประจำตัว เด็กๆ และโค้ชทีมหมูป่ากลับไม่มีสัญญาณการป่วยด้วยโรคใดๆ ขณะเดียวกัน จุดแข็งของคนงานเหมืองที่สามารถเอาตัวรอดมาได้ก็คือความแข็งแกร่งด้านจิตใจ เนื่องจากพวกเขาเคยชินกับพื้นที่ที่จำกัด และไม่ได้วิตกกังวลง่าย นอกจากนี้ การช่วยเหลือคนงานเหมืองที่ชิลีไม่ได้เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง แต่กรณีของประเทศไทยยังต้องสู้กับระดับน้ำและปริมาณอากาศหายใจ

สำหรับประสบการณ์จากการช่วยเหลือ 33 คนงานเหมืองในชิลี ที่สามารถนำมาปรับใช้กับกรณีของทีมหมูป่าได้ เบนาวีเดสก็แนะนำว่า อย่าให้สิ่งที่จะทำให้ผู้ประสบภัยแยกตัวออกจากกัน หากจะฟังเพลงต้องฟังเพลงด้วยกัน โดยใช้ลำโพง ไม่ใช่หูฟัง เนื่องจากที่ผ่านมา ทีมของเขาเคยเจอกับสถานการณ์วิกฤตที่เกิดจากผู้หวังดีคนหนึ่งส่งอุปกรณ์ฟังเพลงส่วนตัวให้ผู้ประสบภัย ซึ่งทำให้ผู้ประสบภัยไม่สนใจกันและแยกตัวจากกันในที่สุด

ด้านโรมาญอลีระบุว่าทุกคนต้องทำงานกับสถานการณ์จริง โฟกัสที่สภาพแวดล้อมเฉพาะหน้า สิ่งที่สามารถใช้ได้ในสถานการณ์หนึ่ง อาจจะไม่เหมาะกับอีกสถานการณ์หนึ่ง ความช่วยเหลือของทีมจากทั่วโลกนั่นแหละที่เป็นเคล็ดลับสู่ความสำเร็จในกรณีเหมืองที่ชิลี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook