เจาะปฏิบัติการช่วยเหลือ “ทีมหมูป่า” หลังติดในถ้ำหลวงนานกว่า 10 วัน

เจาะปฏิบัติการช่วยเหลือ “ทีมหมูป่า” หลังติดในถ้ำหลวงนานกว่า 10 วัน

เจาะปฏิบัติการช่วยเหลือ “ทีมหมูป่า” หลังติดในถ้ำหลวงนานกว่า 10 วัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เชื่อว่านาทีนี้คงไม่มีอะไรลุ้นระทึกมากไปกว่าการช่วยเหลือ “ทีมหมูป่าอะคาเดมี” ที่รอคอยความช่วยเหลืออยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ซึ่งทีมกู้ภัยก็พยายามหาวิธีการที่ดีที่สุด เพื่อให้สามารถพาทั้ง 13 ชีวิต รวมทั้งเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่เข้าไปช่วย ออกมาจากถ้ำได้อย่างปลอดภัย

เมื่อภารกิจหลักคือการต่อสู้กับธรรมชาติ ทั้งระดับน้ำในถ้ำที่อาจท่วมสูงเพราะฝนตก และสภาพแวดล้อมภายในถ้ำที่ทั้งมืดและคับแคบ ทางเลือกต่างๆ ล้วนมีอันตรายแฝงอยู่ ขณะเดียวกัน การรอคอยอยู่ในถ้ำนานๆ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพกายและจิตใจของผู้ประสบเหตุ แต่ท้ายที่สุดแล้ว ทีมกู้ภัยก็เลือกที่จะฝึกให้ทีมหมูป่าดำน้ำโดยใช้อุปกรณ์ ก่อนที่จะอพยพออกจากถ้ำให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

กระบวนการอพยพออกจากถ้ำหลวงมีอะไรบ้าง เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ The Guardian ได้สรุปไว้แล้ว ดังนี้

เจ้าหน้าที่ไทยเลือกที่จะให้เด็กๆ และโค้ชทีมหมูป่าฝึกดำน้ำ หายใจผ่านหน้ากากดำน้ำ และดำน้ำออกมา ซึ่งวิธีนี้มีข้อจำกัดอยู่ที่เส้นทางภายในถ้ำที่ซับซ้อน มืด แคบ และมีน้ำท่วมขัง โดยทีมหมูป่าจะสวมหน้ากากดำน้ำที่พอดีกับใบหน้า ชุดดำน้ำ รองเท้าบู๊ต และหมวกกันน็อก จากนั้นก็จะหายใจเอาอากาศจากถังที่เตรียมไว้ และนักประดาน้ำจะเป็นผู้นำทางออกจากถ้ำ โดยค่อยๆ จับเชือกโรยตัวขนาด 8 มม. ออกมา ซึ่งเชือกดังกล่าว หน่วยซีลได้ติดตั้งไว้เรียบร้อยแล้ว ระหว่างทางจะมีถังอากาศวางรอไว้ สำหรับเติมอากาศขณะเดินทางออกมา 

นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างทีมหมูป่ากับเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปช่วยเหลือ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กๆ รู้สึกสงบ ขณะที่อพยพออกจากถ้ำ

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งคือระดับน้ำภายในถ้ำ ที่แม้ว่าจะมีการสูบน้ำออกอยู่ตลอดเวลา แต่ฝนที่จะเทมาอย่างหนักในฤดูมรสุม จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากกว่าเดิม โดยมีการคาดการณ์ว่าปริมาณฝนที่มากที่สุดจะอยู่ 33 มม. ในวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคมนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook