นายกฯยันไม่ขึ้นภาษีเงินได้นิติ-บุคคล
นายกฯอภิสิทธิ์ยันสภาไม่ขึ้นภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา-นิติบุคคล หวัง ศก.โลกฟื้นตัวมีเงินใช้หนี้ วอนผู้ว่าฯทั่วประเทศเป็นเครื่องมือสำคัญสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ให้ เกิดขึ้นกับคนในชาติ เชื่อมมั่นศักยภาพคนไทยและสังคมไทย จะพาชาติฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจได้ กกต.โดดอุ้ม ปชป. สาทิตย์ วอนผู้ว่าฯ ทั่วประเทศช่วยดึงคำสยามเมืองยิ้มกลับคืนสังคมไทย
เมื่อเวลา 13.50 น.วันที่ 7 พ.ค.ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณากระทู้ถามสดของนายเรวัติ สิรินุกุล ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ถามนายกรัฐมนตรีกรณีการปรับปรุงวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553ว่าหากมีการปรับลดดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจและ ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศหรือไม่ และอยากทราบว่ารัฐบาลจะมีวิธีการอื่นที่จะหารายได้นอกเหนือจากการกู้เงิน หรือไม่อย่างไร
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า รัฐบาลจะใช้เงินนอกงบประมาณเข้ามากระตุ้นเศรฐกิจครั้งที่ 2 จำนวน 2แสนล้านบาทเพื่อใช้ในโครงการขยายพื้นที่แหล่งน้ำ การกระจายน้ำ ถนนระหว่างหมู่บ้าน รถไฟรางคู่ การปรับปรุงโรงเรียนและสถานศึกษาทั่วประเทศ โดยใน3ปีข้างหน้าเชื่อว่าจะมีเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มในระบบจำนวน 1.5ล้านล้านบาท และขอให้ความมั่นใจว่าการปรับลดงบประมาณประจำปี2553 ลงจะไม่กระทบต่อแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเนื่องจากจะนำเงิน นอกงบประมาณดังกล่าวมาใช้ในส่วนนี้
นายกฯ กล่าวว่า สำหรับวิธีการหารายได้อื่นนอกเหนือจากการกู้เงินและการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตบางส่วนเพิ่มขึ้นนั้น โครงสร้างภาษีอื่นๆอาทิภาษีทรัพย์สิน และภาษีมรดกก็ยังจะเดินหน้าต่อไป แต่ทั้งสองเรื่องต้องออกเป็นกฎหมายซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร ขอย้ำว่ารัฐบาลไม่มีนโยบายปรับเพิ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่เข้าใจว่าการเพิ่มภาษีสรรพสามิตไม่กระทบต่อเป้าหมายโดยรวม และหลังจากกู้เงินมาแล้วสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ก็ยังอยู่ในระดับที่ยอมรับของสากล
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มั่นใจว่าเมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นในเร็ววันนี้ ประเทศไทยก็จะสามารถจัดเก็บรายได้ตามเป้าหมายจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ สูงขึ้นซึ่งก็จะมีเงินเหลือนำไปชำระหนี้ต่างๆได้
นายกฯชี้รัฐบาลต้องอาศัยผู้ว่าฯเป็นเครื่องมือสร้างปรองดอง-สมานฉันท์
ที่ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ นายอภิสิทธิ์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ " ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ทั่วประเทศ กว่า 1,000 คน จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.ซ) ตอนหนึ่งว่า เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เป็นวันฉัตรมงคล ท่านทั้งหลายได้มีบทบาทสำคัญ ที่ร่วมกันช่วยสนับสนุนกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวฯ ในโอกาสเข้าปีที่ 60 แห่งการบรมราชาภิเษก ตนเชื่อว่าวันนั้นคนไทยได้เห็นและรู้สึกประทับใจยิ่งในการแสดงออกถึงความจง รักภักดีของพสกนิกร ซึ่งมีส่วนสำคัญในการผนึกกำลังกันของคนไทย เพื่อให้เกิดความสมานสามัคคีปรองดองสมานฉันท์
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ทุกคนคงทราบดีว่าบ้านเมืองเรากำลังถูกจับตา ว่าจะฟันฝ่าปัญหาวิกฤตต่างๆไปได้หรือไม่ ทั้งปัญหาเศรษฐกิจแ การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ยังไม่รวมถึงปัญหาที่คนไทยมีความทุกข์ใจมาตลอดระยะเวลา 2 - 3 ปีที่ผ่านมา คือปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ดังนั้นสิ่งที่อยากให้ทุกคนคิดและตระหนักคือ ถ้าเรามองปัญหาจากส่วนกลางเป็นตัวตั้งแล้วออกไปยังพื้นที่ ก็จะดูว่ามันแก้ยาก และไม่มั่นใจว่าเราจะแก้ได้แค่ไหน เช่น ถ้าพูดเรื่องเศรษฐกิจ เราจะไปดูเรื่องตัวเลข เช่นจีดีพี พอดูแล้วเราก็ว่าเป็นปัญหาใหญ่และแก้ไขได้ยาก หรือเราเห็นข่าวสารความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากส่วนกลาง เราก็รู้สึกว่าอยู่เหนือการควบคุมและจะกระทบกับเรา ถือเป็นปกติ ที่ทำให้หลายคนรู้สึกว่า ปัญหาที่เกิดในสังคมเรามันใหญ่เกินกว่าเราจะแก้ได้
นายกฯกล่าวว่า แต่จริงๆแล้วประเทศเราประกอบด้วยองค์กรหลายระดับ ทั้งส่วนกลาง จังหวัด กลุ่มจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ถ้าเราแก้ปัญหาจากภาพย่อย ปัญหาในภาพใหญ่อาจไม่ยากที่จะแก้ไข ถ้าทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในส่วนที่ตัวเองมองภาพได้ เริ่มจากในท้องถิ่น ถ้าเรามองภาพนี้ได้ เราเห็นทางออกได้ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ จังหวัด หรือกลุ่มจังหวัด ล้วนมีความหลากหลายและมีจุดแข็งของตัวเองทั้งสิ้น เช่น
การค้าชายแดน ที่มีส่วนสร้างฐานะเศรษฐกิจที่ดีให้ประเทศ หลายจังหวัดมีทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมวิถีชีวิตที่สวยงาม สามารถสร้างตัวเองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเฉพาะได้ โดยแยกอออกมาจากภาพใหญ่ที่เป็นธุรกิจท่องเที่ยวโดยรวมของโลกและประเทศ ถ้าเราสร้างภาพของตัวเองแยกออกมาได้ เศรษฐกิจในจังหวัดนั้นๆก็โตได้ และจะเป็นการช่วยเหลือเศรษฐกิจประเทศโดยรวมได้ เป็นการแก้ปัญกาโดยพื้นที่อย่างแม้จริง โดยไม่ต้องรอนโยบายและการสั่งการจากส่วนกลาง แม้กระทั่งปัญหาทางการเมือง ที่เกิดความขัดแย้ง เราก็สามารถรณรงค์เฉพาะพื้นที่ได้ เพื่อสร้างความสมานสามัคคี โดยเฉพาะคนที่ใช้ชีวิตกันมานานในพื้นที่เดียวกัน จะมีโอกาสง่ายกว่า การทำในระดับชาติ
นายอภิสิทธิ์กล่าว ยอมรับว่า การบริการแบบโมเดลสามหลี่ยม คือ ส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่นยังมีปัญหา เพราะส่วนกลางยังมีอำนาจและงบประมาณมากที่สุด ซึ่งเป้นสิ่งที่เราพยายามแก้ไข จึงพยายามผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่นมากขึ้น แต่ต้องยอมรับว่าการให้ท้องถิ่นมีอำนาจยังมีข้อจำกัดอยู่ แต่ขณะนี้มี 75 จังหวัด และ อีกหลายกลุ่มจังหวัด ที่มีโอกาสจัดทำโครงการที่จะรับการสนับสนุนงบประมาณ แต่ปัญหาคือการจัดงบประมาณที่ผ่านมา ยังไม่ชัดเจนว่า งบจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด แตกต่างจากงบท้องถิ่นอย่างไร โครงการไหนต่างกับท้องถิ่นอย่างไร ในช่วงปีงบประมาณ 2552 - 2553 ที่มีการจัดงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดไว้ 1.8 หมื่นล้านบาท ตัวเลขการจัดงบก็ยังไม่ชัดเจนว่าแต่ละจังหวัดจะจัดไปได้เท่าไหร่ ที่ว่าจะให้เท่าๆกันนั้น บางจังหวัดก็โต้เถียงว่าใครควรได้มากได้น้อย อีกทั้งการทำงานในนามของกลุ่มจังหวัดก็ยังมีน้อย
นายกฯ กล่าวต่อว่า ตนอยากให้เราเริ่มต้นกันในปีงบประมาณ 2554 ที่ต้องช่วยกันหมุนทั้งหมดนี้ให้เข้ากลับมาในเจตนารมย์ของการทำงานเป็นกลุ่ม พื้นที่ หรือกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการให้ได้ ยอมรับว่าปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น มีผลต่อการจัดงบประมาณในปี 2553 - 2555 ทำให้เราจัดงบได้น้อย แต่เรายังมีงบกระตุ้นเศรษฐกิต และเราจะมีเงินนอกงบประมาณมาใช้ในงบจังหวัดและกลุ่มจังหวัดด้วย ดังนั้นจะมีการคุยกันว่า ในงบปี 2554 ที่จะนำมาจัดงบในเรื่องนี้ จะจัดอย่างไร กลุ่มจังหวัดจึงต้องไปคิดกันอย่างจริงจังว่าแต่ละจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด วางกรอบด้านเศรษฐกิจ สังคม การพัฒนา อย่างไรที่เป็นปัจจัยเฉพาะของตัวเอง แต่ที่ผ่านมามีปัญหา เพราะมักคิดแต่จังหวัดของตัวเองก่อน โดยมองข้ามผลประโยชน์รวมของกลุ่มพื้นที่ แตค่ถ้าบริหารงานโดยยึดกลุ่มพื้นที่ จะทำให้โครงการมีเอกภาพและสอดคล้องกัน นำไปสู่ความสำเร็จ
ในปัจจุบันแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลรอบแรกเดินหน้าเต็มที่ ในการวางระบบดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ และสวัสดิภาพของคน แต่ที่ยังไม่ลงตัวตอนนี้คือด้านเกษตรกรรม ที่ยังคงมีการแก้ปัญหาด้วยการแทรกแซงราคา และมีการตั้งราคาที่สูง ซึ่งต่อไปจะมีการตั้งเป็นระบบการประกันภัยมากกว่า และได้เริ่มดำเนินการแล้วที่ทุ่งกุลาร้องไห้ กับข้าว 2 แสนตัน ที่มีการเปิดให้ซื้อประกันราคา สำหรับแผนกระตั้นเศรษฐกิจตามงบกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสอง 1.5 ล้านล้านบาท จะมีโครงการลงทุนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงซึ่งแต่ละจังหวัดจะ ต้องไปทำยุทธศาสตร์เสริมในส่วนนี้ ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าถ้าเราวางแผน เศรษฐกิจเราจะฟื้นขึ้นมาได้ เพราะผมยังมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทยและธุรกิจไทยเต็มที่
นายอภิสิทธิ์กล่าว ว่า ดังนั้นจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้องเริ่มต้นคิดแล้ว ว่า อุตสาหกรรมใดบ้างที่จะลงพื้นที่ภาคใต้ได้ และจะลงตรงจุดไหนที่ไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อมและท่องเที่ยว เพราะภาคใต้มีทั้งสามเหลี่ยมเศรษฐกิจและเรื่องอาหารฮาราล แต่ละพื้นที่ต้องมองเห็นจุดโอกาสของตัวเอง ทั้งหมดจะช่วยเรื่องการกระจายอำนาจให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น และถ้าทำได้อย่างนี้ การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ตนเชื่อว่าไม่ยากเกินไป เพราะการสร้างความปรองดองสัมผัสได้โดยการสร้างความยุติธรรมโดยการเปิดให้มี ส่วนร่วม ให้โอกาสและพัฒนา ในช่วงที่บ้านเมืองกำลังรับมือกับวิกฤต ประชาชนกำลังกังวลในบทบาทการทำงานของตนและรัฐบาล ก็ย้ำอีกครั้งว่า ขอให้ทุกคนมีความมั่นใจ สบายใจ ว่า ตนและรัฐบาล ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยลำพัง แต่การมีจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถทำให้งาน สำเร็จ วันนี้ที่มาไม่ได้มาสั่งให้ท่านทำให้รัฐบาล แต่เป็นการทำเพื่อประชาชน เพื่อประเทศ ความสำเร็จสัมผัสได้จากความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ และจะเป็นความภูมิใจของประชาชนในพื้นที่เอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนนายกฯเดินทางมาถึง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ได้เดินทางมารอก่อนหน้า และเข้าทักทายบรรดาข้าราชการะดับสูง อาทิ นายวิชัย ศรีขวัญ ปลัดกระทรวงหมาดไทย นายอนุชา โมกขะเวช อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขษธิการก.พ.ร. พร้อมชัดชวนกันยืนชมทัศนียภาพของแม่น้ำเข้าพระยาจากบนชั้น 2 ของหอประชุม จากนั้นนายสุเทพได้แยกตัวไปยืนคุยเป็นการส่วนตัวกับนายวิชัยอีกกว่า 10 นาที นอกจากนี้มีการวางกำลังรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยขอความร่วมมือให้ผู้เข้าร่วมประชุมรวมทั้งผู้สื่อข่าวติดบุตรแสดงตนทุกคน รวมทั้งมีการนำกำลังตำรวจน้ำ และหน่วยซีลของกองทัพเรือ ลอยลำเรือเพื่อระวังเหตุอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาอีกจำนวนหนึ่ง
"นายกฯ"มั่นใจศักยภาพคนไทยและสังคมไทยจะพาชาติฝ่าวิกฤติได้
เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นายอภิสิทธิ์ เป็นประธานเปิดงานมหกรรมการเงินครั้งที่ 9 โดยมีนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ น.พ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เลขาธิการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์ให้ความสนใจเดินชมงานอีกว่า 1 ชั่วโมงอีกด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า ในการจัดงานครั้งนี้ตนเชื่อว่าทุกคนตระหนักดีในภาวะที่เราต้องเผชิญ สถานการณ์ที่ต่างจากอดีตพอสมควร แม้เราจะเคยผ่านวิกฤตเศรฐกจิเมื่อปี 2540 มาแล้ว แต่ครั้งนั้นปัญหาเริ่มที่ระบบการเงินของเราเอง แต่สำหรับครั้งนี้ การเงินของเราไม่มีปัญหา แต่เราได้รับผลกระทบจากเศรษบกิจโลกที่ค่อนข้างรุนแรง เกิดการหดตัวทั้งส่งออกนำเข้า การท่องเที่ยวลดลง ซึ่งรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี แต่รัฐบาลได้เดินหน้าแก้ไขและออกมาตรการรองรับเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับ ประเทศ เตรียมความพร้อมในวันที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แม้การคาดการการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะยังต่างกัน แต่หลายฝ่ายก็คาดการณ์ตรงกันว่า เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวประมาณต้นปี 2553 ขณะที่รัฐบาลได้ติดตามตัวเลขดัชนีชี้วัดอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนมีนาคมและเมษายน ตัวเลขหลายตัวเริ่มดีขึ้น เชื่อว่าสิ่งที่รัฐบาลได้กระตุ้นลงไปช่วยเบาบางปัญหาเศรษฐกิจได้บ้าง สำหรับตลาดทุนก็เริ่มมีข่าวดีในสัปดาห์ที่ผ่านมา มูลค่าการขายเฉลี่ยต่อวันเริ่มกระเตื้องขึ้น ควบคู่กันไปกับปัญหาการเมือง ที่ต้องยอมรับว่ามีผลกระทบต่อเรื่องความเชื่อมั่น แต่ตนเชื่อว่าใน 2 - 3 วันมานี้ เราได้เห็นพลังของคนไทยในหลายรูปแบบ มีการแสดงออกว่าต้องการเห็นความสมานสามัคคี และแสดงออกให้เห็นถึงการยึดมั่นในสถาบันของชาติ ทั้งการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ กิจกรรมด้านศาสนา ซึ่งเหล่านี้จะทำให้การแก้ปัญหาเศรษบกิจง่ายขึ้น
"อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นเสมอเวลาที่เรามีวิกฤตเศรษฐกิจ คือ ปัญหาการเงิน สถาบันการเงินถูกต่อว่าเสมอในการทำงานช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ก็ถือเป็นปกติที่ต้องคำนึงถึงความเสี่ยง แต่รัฐบาลเองก็พยายามมีมาตรการมาช่วยเหลือ เช่น ธปท.ที่ใช้นโยบายด้านการเงินที่มีต่อเศรษฐกิจ การริเริ่มโครงการต่างๆของรัฐบาลที่บรรเทาความเสี่ยงของสถาบันการเงิน เพื่อตอบสนองความต้องการ แต่รัฐบาลก็ยังอยากให้มีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และจะพยายามหามาตรการต่างๆเพื่อเอื้อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อได้มาก ขึ้น ผมยืนยันอีกครั้งว่าแม้วันนี้ประสบปัญหาต่างๆ แต่ผมยังเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทยและสังคมไทย เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศเรายังเข้มแข็ง และเราได้รับภูมิคุ้มกันจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2551 ผมเชื่อมั่นในภาคการผลิตของเราหากได้รับการสนุบสนุนด้านการลงทุนเพิ่มเติม และคนไทยมีความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัวได้เร็ว ซึ่งจะช่วยนำพาประเทศให้เติบโตรุ่งเรืองก้าวหน้าต่อไป และผมเชื่อในพื้นฐานคนไทยรักสงบ มีน้ำใจไมตรีแก่กันเป็นฐานสร้างความสามัคคีสมานฉันท์ของคนในชาติอีกด้วย " นายกฯกล่าว
"สุเทพ"จี้ผู้ว่าฯเร่งปลูกฝังประชาธิปไตยแท้จริงให้ปชช.
ที่หอประชุมกองทัพเรือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวมอบนโยบายเรื่อง การเสริมสร้างความเชื่อมั่นในความมั่นคงของประเทศไทย" ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ตอนหนึ่งว่า แผนงานที่ตนอยากเห็นในแต่ละกลุ่มจังหวัด คือ การรณรงค์ปลูกฝังเรื่องของระบอบประชาธิปไตย เพราะขณะนี้คนมีความสับสน โดยเฉพาะเมื่อมีคนแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมกับแปลงสาร บิดเบือนทฤษฎีประชาธิปไตย ให้ออกไปเป็นความเชื่อในแบบของกลุ่มตนเองเพื่อให้เป็นประโยชน์กับกลุ่มของ ตัวเองมากที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ประชาชนมีความคิดที่แตกต่างในระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ผู้ว่าฯ รู้ดีแต่ไม่ยอมทำ เพราะอาจจะเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของนักการเมือง
ดังนั้น จึงอยากฝากให้ผู้ว่าฯ จัดทำโครงการเช่นการจัดการฝึกอบรม เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ มีความคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักประชาธิปไตย กับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยหาทางรณรงค์ให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธาในทางนี้ ส่วนการใช้สิทธิประท้วงชุมนุมนั้น จะต้องไม่ล้ำเส้นเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ หากเกินจากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดต้องไม่ยอม หากเรื่องใดจัดการไม่ได้ก็สามารถติดต่อกับตนได้ทันที
"หากในหมู่บ้านไหนยังแบ่งฝักแบ่งฝ่ายก็ถือว่ายังไม่มีความคิดพื้นฐานใน ระบอบประชาธิปไตย วันนี้ผมคิดว่าเป็นหน้าที่ของผู้ว่าฯ ช่วยรณรงค์ให้เกิดกระแสรักและหวงแหนในระบอบประชาธิปไตย ไม่ยอมให้ใครมาโกงการเลือกตั้ง ไม่ยอมให้มีการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง เพราะนี่คือที่มาของอำนาจประชาธิปไตย และหากเอ็กซเรย์การเมืองไทยตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่ารากฐานมาจากการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ นอกจากนี้ จะต้องทำให้ประชาชนหันมาคิดเหมือนกันว่าประเทศไทยจะต้องปกครองด้วยระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะขณะนี้มีคนกำลังคิดวิถีประชาธิปไตยแบบใหม่"นายสุเทพ กล่าว
รองนายกฯ กล่าวต่อว่า ด้วยเหตุนี้ในแผนงานของผู้ว่าฯ จะต้องมีโครงการเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงออกถึงความจงรักภัคดีสถาบันพระมหา กษัตริย์ เหมือนเช่นกิจกรรมวันฉัตรมงคลที่ผ่านมา เพื่อทำให้ชาวต่างประเทศที่รับรู้ข่าวสารก่อนหน้านี้ได้รับทราบข้อเท็จจริง ว่า สิ่งที่ได้รับข่าวสารจากอีกฝ่ายก่อนหน้านี้นั้นไม่เป็นความจริง ซึ่งรัฐบาลจะจัดงานในลักษณะดังกล่าวอีกในวันแม่แห่งชาติ และ วันพ่อแห่งชาติ ขณะเดียวกัน ในแต่ละกลุ่มจังหวัดต้องมีการรณรงค์ขนบธรรมเนียมประเพณี ให้เป็นจุดขายของจังหวัด เช่นการพาบุตรหลานเข้าวัด ซึ่งจังหวัดใดที่ทำเช่นนี้อาจมีรางวัลพิเศษ
นายสุเทพ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังอยากให้ผู้ว่าฯ ในกลุ่มจังหวัดต่างๆ ตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง ลึกซึ้ง และปลูกฝังให้ประชาชนมีอุดมการณ์ยึดถือปรัชญานี้ในการดำเนินชีวิตของประชาชน โดยจัดประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งตนเชื่อว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความมั่นคง ทั้งนี้ ผู้ว่าฯ ในแต่ละจังหวัดจะต้องสำรวจประชาชนในจังหวัดตนเองว่ามีชุมชนใดที่ประชาชนยัง มีเศรษฐกิจไม่ดีพอที่จะดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีได้
"สุเทพ"ชี้ใช้กม.ความมั่นคงที่จ.ภูเก็ต เพราะไม่อยากมีม็อบ
นายสุเทพ กล่าวถึงการประชุมอาเซียนซัมมิตและประเทศคู่เจรจาที่จะมีการจัดในวันที่ 11 - 12 มิ.ย.ที่ จ.ภูเก็ต นี้ ว่า นายกฯ ได้มอบหมายให้ตนเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการประชุม โดยมีหลายภาคส่วนร่วมด้วย และเราจะจัดการประชุมครั้งนี้ให้ดีที่สุด ในส่วนที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาความปลอดภัยของผู้นำต่างประเทศ เนื่องจากเคยมีเหตุการณ์ที่พัทยาที่ทำให้เราสูญเสียความน่าเชื่อถือไป ดังนั้นครั้งนี้ต้องทำสุดความสามารถ จึงมีการแต่งตั้งให้พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เป็นประธานในการอำนวยการในการบริหารจัดการดูแลเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับ ผู้นำ โดยจะมีการใช้กำลังของทหารและตำรวจผสมกัน แต่เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทหารเป็นไปอย่างสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะครั้งนี้รัฐจะใช้กำลังทหารเป็นหลักเพราะกำลังตำรวจมีไม่เพียงพอ ทางรัฐบาลจะมีการประกาศพระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (พ.ร.บ.ความมั่นคง) ให้พื้นที่จ.ภูเก็ต เป็นพื้นที่ความมั่นคง ยืนยันว่าการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้จะไม่กระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชน รวมทั้งไม่กระทบต่อการท่องเที่ยว และจะเป็นการประกาศในช่วงเวลาสั้นๆก่อนและระหว่างการประชุมเท่านั้น
"ชัย"สั่ง เลื่อนพิจารณา"พรบ.เกษตรกร"หวั่น"ม็อบเกษตรกร"บุก
ที่รัฐสภา คณะทำงานภาคประชาชนติดตามร่างพรบ.สภาเกษตรกร ได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ระงับการพิจารณาร่าง พรบ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยทางตัวแทนระบุว่า โดยเนื้อหาของร่าง พรบ.ดังกล่าวนั้นยังไม่ได้เปิดให้มีการรับฟังปัญหาของเกษตรกรอย่างจริงจัง จึงอยากให้ทางรัฐสภาเปิดให้มีการรับฟังปัญหาของเกษตรกรอย่างจริงจังเสียก่อน
ด้านนายชัย กล่าวภายหลังรับหนังสือเรียกร้อง ว่า ก่อนหน้านี้ตนทราบว่าคณะทำงานภาคประชาชนติดตามร่างพรบ.สภาเกษตรการ จะมายื่นหนังสือ จึงได้สั่งให้เลื่อนการพิจารณาร่าง พรบ.ฉบับนี้ออกไปก่อนแล้ว
"ผมขอให้ตัวแทนเกษตรกร นำข้อเรียกร้อง ปัญหาต่างๆ รวมถึงหลักฐานมายื่นต่อทางสภา เนื่องจากสภานั้นไม่มีเวลาเพียงพอที่ไปสำรวจปัญหาของเกษตรกร เพราะยังติดงานจำนวนมาก นอกจากนี้หากทางเกษตรกรต้องการเสนอกฎหมาย ขอให้ตัวแทนเกษตรการเสนอ กฎหมายที่ต้องการมา ตามช่องทางของรัฐธรรมนูญ ด้วยการเข้าชื่อประชาชน 2 หมื่นรายชื่อต่อไป" นายชัย กล่าว
กกต.อุ้มปชป.บริสุทธิ์ไม่ฮั้วเลือกตั้ง ชี้เป็นสิทธิไม่ส่งแข่งพรรคร่วม
นาย สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการกกต. แถลงภายหลังการประชุมว่า กกต.มีมติเอกฉันท์ให้ยกคำร้องตามที่คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีนาย เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา นาย วัชรพล โรจนวรวัฒน์ และนาย สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส. เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ตรวจสอบพรรคประชาธิปัตย์ ว่ามีเจตนาไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 52 ในพื้นที่ทับซ้อนกับพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และการนำผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปีมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ทำให้การได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศของพรรคประชาธิปัตย์ไม่เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญและขัดต่อคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่า ในประเด็นที่กล่าวหาว่านำผู้ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองมายุ่งเกี่ยวทางการ เมืองนั้น กกต.ได้เคยมีมติให้ยุติเรื่องไปแล้ว เพราะเห็นว่าการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดต่อคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีการวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวอีก
นายสุทธิพล กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องการไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งในพื้นที่ทับซ้อนกับพรรคร่วมรัฐบาล นั้น อนุกรรมการได้นำฐานข้อมูลการเลือกตั้งส.ส.เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 48 และ 23 ธ.ค. 50 มาเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งซ่อม 11 ม.ค. 52 สรุปได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ เคยส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งซ่อมในพื้นที่พรรคร่วมรัฐบาลด้วยเช่นในจ.นครปฐม ปทุมธานี สิงห์บุรี ราชบุรี ลำปาง และสมุทรปราการ เขต 1 สระบุรี เขต 2 กทม.เขต 10 เพราะเห็นว่า เป็นเขตที่ผู้สมัครของพรรคเคยได้รับคะแนนเสียงใกล้เคียงกับผู้ที่ได้รับการ เลือกตั้ง ส่วนเขตอื่นที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ส่งลงเลือกตั้งทั้งที่การเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 23 ธ.ค. 50 พรรคเคยส่งนั้น เนื่องจากเห็นว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ผู้สมัครของพรรคได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนที่น้อยกว่าผู้ที่ได้รับ เลือกตั้งกว่า 10 เท่าตัว ทางพรรคจึงพิจารณาไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งดังกล่าว เพราะจะทำให้พรรคเสียเงินในการลงเลือกตั้งไปโดยเปล่าประโยชน์
"จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ทางคณะกรรมการฯจึงเห็นว่าการที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือก ตั้งซ่อมในวันที่ 11 ม.ค. 52 ในบางพื้นที่ถือเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 95 วรรค 2 และการกระทำดังกล่าวไม่ได้ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับผลประโยชน์อื่นใด อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองอื่น ไม่ได้ทำให้การเลือกตั้งซ่อมดังกล่าวไม่สุจริต ไม่เที่ยงธรรมแต่อย่างใด จึงให้ยกคำร้อง "เลขาฯกกต.กล่าว
นายสุทธิพล ยังกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ทางเลขานุการของคณะกรรมการไต่สวนฯ ยังได้นำเสนอกกต.ถึงหนังสือของอัยการสูงสุดที่แจ้งต่อนายเรืองไกร กรณีที่นายเรืองไกรขอให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เลิกกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศด้วยวิถีทางที่ไม่เป็น ไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 , 237, 238 และพ.ร.บ.พรรคการเมืองมาตรา 94 , 95 , 98 , 103 ,110 ,111 และขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวไม่เข้าข่ายกระทำการให้ ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศด้วยวิถีทางที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญอัน เป็นการต้องห้ามกระทำมิได้ตามมาตรา 68 ที่รัฐธรรมนูญกำหนด จึงมีคำสั่งให้ยุติเรื่องดังกล่าว
"สาทิตย์"ลั่นดึงสยามเมืองยิ้มกลับคืนสังคมไทยวาดฝันผุดช่อง 11 เวอร์ชั่น 2
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในการมอบนโยบายการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เรื่อง " การเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ " ว่า แต่ละจังหวัดต้องนำความคำว่า " สยามเมืองยิ้ม " กลับมาให้ได้ โดยต้องมีการนำเสนอผ่านสื่อทุกช่องที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งหลายช่องทาง โดยในท้องถิ่นขณะนี้สื่อที่มีบทบาทมากที่สุด คือ เคเบิ้ลทีวีที่ปัจจุบันมีมากกว่า 500 ราย
นอกจากนี้ยังมีทีวีดาวเทียมที่ทำรายการให้เคเบิลทีวี ขณะที่กรมประชาสัมพันธ์มีสถานีประจำภูมิภาคต่างๆประมาณ 10 แห่งทั่วประเทศ ทั้งนี้โดยส่วนตัวคิดไว้ว่าอีก 2 - 3 เดือนข้างหน้า แทนที่คนทั่วประเทศจะดูช่อง 11 จากกรุงเทพฯอย่างเดียวนั้น จะมีการเปลี่ยนเป็นให้มีทีวีจากกรุงเทพฯซึ่งเป็นทีวีของรัฐ 1 ช่อง และให้มีทีวีจากท้องถิ่นๆนั้นอีก 1 ช่องโดยจะใส่ไว้ในเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น โดยเนื้อหารายการแบ่งเป็นรายการของรัฐ 50% รายการของท้องถิ่น 50 % เพื่อให้ประชาชนได้ติดตามข่าวของทั้งพื้นที่ส่วนกลางและของท้องถิ่น นอกจากเคเบิ้ลทีวีแล้ว สื่อที่สามารถเข้าถึงประชาชนในท้องถิ่นได้อีกคือ วิทยุชุมชน ซึ่งขณะนี้อยู่ประมาณ 4 พันกว่าสถานี ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถใช้ประโยชน์จากตรงนี้ให้มาก นอกจากนี้ทางข้าราชการต้องคิดนอกกรอบโดยอาจจะมีการสื่อสารต่อประชาชนในทาง อื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็น เอสเอ็มเอส ตัววิ่งประชาสัมพันธ์ต่างๆ อินเตอร์เน็ต ซึงสามารถเข้าถึงประชาชนได้ทั้งสิ้น และทางรัฐบาลก็จะปรับปรุงเว็บไซด์ของภาครัฐเพื่อให้ทันสมัยมากขึ้นด้วย