“เวิร์คไลฟ์บาลานซ์” จีนวางแผนให้ชาวจีนทำงานแค่ 4 วันต่อสัปดาห์ ภายในปี 2030

“เวิร์คไลฟ์บาลานซ์” จีนวางแผนให้ชาวจีนทำงานแค่ 4 วันต่อสัปดาห์ ภายในปี 2030

“เวิร์คไลฟ์บาลานซ์” จีนวางแผนให้ชาวจีนทำงานแค่ 4 วันต่อสัปดาห์ ภายในปี 2030
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่า รายงานของสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน (CASS) ระบุว่าชาวจีนจะทำงานเพียง 4 วันต่อสัปดาห์ และ 9 ชั่วโมงต่อวัน ภายในปี 2030 

อย่างไรก็ดี รายงานกล่าวว่า ก่อนที่จะปรับเวลางานดังข้างต้น จีนควรทดลองการทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน (36 ชั่วโมง) กับพนักงานในองค์กรรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่และขนาดกลางทางภาคตะวันออกของประเทศในช่วงปี 2020-2025 ก่อน จากนั้นตั้งแต่ 2025 เป็นต้นไป จึงจะสามารถดำเนินการได้ในบางอุตสาหกรรมในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศ จนถึงหลังปี 2030 เป็นต้นไป จึงสามารถบังคับใช้การทำงาน 4 วัน หยุด 3 วันได้ในทั่วประเทศ

นอกเหนือจากเวลาทำงานและเวลานอนแล้ว เวลาว่างโดยเฉลี่ยของชาวจีนในปี 2017 อยู่ที่ 2.27 ชั่วโมง ในขณะที่เมื่อ 3 ปีก่อนชาวจีนมีเวลาว่างเฉลี่ย 2.55 ชม.

ชาวเมืองในเซินเจิ้น, กวางโจว, เซี่ยงไฮ้ และปักกิ่ง ทั่วไปแล้วมีเวลาว่างในแต่ละวันน้อยกว่าชาวจีนในเมืองอื่น โดยอยู่ที่ 1. 94, 2.04, 2.14 และ 2.25 ชั่วโมง ตามลำดับ ซึ่งล้วนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

ในทางกลับกัน รายงานระบุว่า เวลาว่างโดยเฉลี่ยในประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐฯ, เยอรมนี และสหราชอาณาจักร อยู่ที่ประมาณ 5 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นเกือบ 2 เท่าของชาวจีน

นอกจากนี้รายงานยังแนะนำว่า ในช่วงปี 2020-2025 วันหยุดยาวช่วงตรุษจีนยังควรขยายเพิ่มเป็น 8 วัน เพื่อรวมวันหยุดของเทศกาลโคมไฟเข้าไปด้วย (ชาวจีนไม่มีวันหยุดตามกฎหมายในเทศกาลนี้) พร้อมเสริมว่าจีนควรจะเร่งการดำเนินการการจ่ายเงินในวันหยุดในช่วงเวลาเดียวกัน เนื่องจากระบบการจ่ายเงินในวันพักผ่อนยังไม่ได้รับการดำเนินการอย่างเต็มที่ เวลาว่างของชาวจีนจึงไม่สมดุลและไม่เป็นอิสระ

จากการสำรวจโดย CASS ผู้ตอบแบบสอบถาม 40.1% กล่าวว่า พวกเขาไม่มีวันหยุดประจำปีที่ได้รับค่าจ้างเลย ในขณะที่ผู้ที่ตอบว่ามีวันหยุดที่ได้ค่าจ้างด้วยมีเพียง 4.1% เท่านั้น แต่ก็ยังไม่ยืดหยุ่นมากพอ 18.8% กล่าวว่าตนมีวันหยุดเช่นนี้ แต่ไม่สามารถจัดตารางเองได้ มีผู้ตอบแบบสอบถาม 31.3% เท่านั้นที่ระบุว่าตนมีวันหยุดที่ได้รับเงินค่าจ้างและมีอิสระในการจัดตารางวันหยุดของตัวเอง

ข้อเสนอดังกล่าวทำให้เกิดกระแสถกเถียงกันอย่างรวดเร็วในโซเชียลมีเดียจีน ชาวเน็ตที่สนับสนุนนโยบายนี้กล่าวแสดงความเห็นว่า “ฉันอยากจะให้ปรับใช้มาตรการนี้ภายในสัปดาห์หน้าเลยได้ไหม”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook