เฝ้าระวัง! ระดับน้ำมากกว่า "น้ำท่วมใหญ่ปี 54"-ตั้งศูนย์ดูแลตลอด 24 ชม.

เฝ้าระวัง! ระดับน้ำมากกว่า "น้ำท่วมใหญ่ปี 54"-ตั้งศูนย์ดูแลตลอด 24 ชม.

เฝ้าระวัง! ระดับน้ำมากกว่า "น้ำท่วมใหญ่ปี 54"-ตั้งศูนย์ดูแลตลอด 24 ชม.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รัฐบาลเตรียมเปิดศูนย์เฉพาะกิจติดตามสถานการณ์น้ำ 24 ชั่วโมง หลังสถานการณ์น้ำอยู่ในระดับสีเหลือง เตรียมพร้อมเฝ้าระวัง รับมือพายุจ่อเข้าไทยกลางเดือนสิงหาคมนี้ เตือน 4 จังหวัดริมโขง เฝ้าระวังระดับน้ำอาจสูงถึง 1 เมตร

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. เปิดเผยว่า ปริมาณน้ำในปีนี้ บางพื้นที่สูงกว่า ปี 2554  เช่น เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ แต่ยังสามารถบริหารจัดการน้ำได้ ขอประชาชนอย่ากังวล เพราะหากมีการพร่องน้ำจะมีการประกาศล่วงหน้า

ขณะที่ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขง คาดว่าจะทยอยเพิ่มสูงขึ้นในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย นครพนม และมุกดาหาร ซึ่งอาจมีระดับสูงตั้งแต่ 70 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร หากมีการปล่อยน้ำมาจาก สปป.ลาว และจีน ดังนั้นต้องเร่งประสานขอแผนการระบายน้ำจากทั้ง 2 ประเทศ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ

เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า ในวันที่ 3 สิงหาคมนี้ จะเปิดศูนย์เฉพาะกิจร่วม 24 ชั่วโมง ที่กรมชลประทาน เพื่อติดตามสถานการณ์และบริหารจัดการน้ำ โดยศูนย์แห่งนี้จะรวมข้อมูลเกี่ยวกับน้ำทั้งหมดในประเทศ มีเจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงานเข้าร่วม ซึ่งจะประมวลผลเป็นข้อมูลชุดเดียวกันใช้กับทุกหน่วยงาน มีอำนาจการตัดสินใจอยู่ที่ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี สั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งการระบาย และพร่องน้ำ ซึ่งจะทำงานอย่างรวดเร็วและไม่ซ้ำซ้อน

สำหรับสถานการณ์น้ำของประเทศล่าสุด อยู่ในระดับสีเหลือง หรือเตรียมการเฝ้าระวัง เนื่องจากคาดว่าในช่วงกลางเดือนสิงหาคมนี้ จะมีพายุเข้ามายังประเทศไทย เบื้องต้นสิ่งที่เฝ้าระวัง แบ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 11 แห่ง มี 2 แห่ง ที่น่าเป็นห่วง คือ เขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร และเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุ จึงต้องพร่องน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดภายใน 5 วัน โดยได้แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ก่อนล่วงหน้า 3 วัน

ขณะที่ อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ซึ่งมีมากกว่า 30 แห่ง อยู่ในการดูแลของกรมชลประทาน และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ที่มีมากกว่า 1,000 แห่ง มอบหมายให้ส่วนท้องถิ่นตรวจสอบความแข็งแรง และเฝ้าระวังระดับน้ำอย่างใกล้ชิด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook