น้ำเขื่อนแก่งกระจานเพิ่ม ล่าสุด สะพานแขวนในอุทยานฯจมแล้ว

น้ำเขื่อนแก่งกระจานเพิ่ม ล่าสุด สะพานแขวนในอุทยานฯจมแล้ว

น้ำเขื่อนแก่งกระจานเพิ่ม ล่าสุด สะพานแขวนในอุทยานฯจมแล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บรรยากาศที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ประชาชนยังทยอยเดินทางมาท่องเที่ยวแม้มีฝนตกโปรยปราย และปริมาณน้ำในเขื่อนแก่งกระจานสูงขึ้น จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ ระบุว่า เมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา ปริมาณน้ำสูงขึ้น

ทำให้สะพานแขวนที่นักท่องเที่ยวใช้เดินข้ามเที่ยวชมธรรมชาติ ไม้สะพานชำรุดน้ำท่วมช่วงกลางสะพาน จึงนำป้ายมาติดเพื่อไม่ให้นักเที่ยวข้ามส่วนจุดกางเต็นท์ อุทยานฯ อนุญาตให้กางเต็นท์ได้ บริเวณโซน เอ และ บี เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาที่อุทยานแก่งกระจาน ยังสามารถเดินทางมาได้ในระยะนี้ เนื่องจากน้ำยังไม่มากยังมีพื้นที่จุดกางเต็นท์รองรับ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่ 032-459293

ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำในเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ล่าสุด ปริมาณน้ำในเขื่อนอยู่ที่ 701.363 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 98.78% ของความจุอ่าง ส่วนบริเวณทางน้ำล้น หรือ สปิลเวย์ ท้ายเขื่อนแก่งกระจาน ที่เมื่อวานที่ผ่านมา นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ระบุว่าจากการคาดการณ์น้ำจะล้นสปิลเวย์ในช่วงเที่ยงของวันนี้

ซึ่งจากการสังเกตเจ้าหน้าที่ก็ยังคงใช้เครื่องสูบน้ำกว่า 5 เครื่อง ในการเร่งระบายน้ำออกจากเขื่อน โดยเมื่อวานจุดท้ายเขื่อนที่เป็นพื้นที่แห้ง ระดับได้เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 30 เซนติเมตร ทำให้กรมชลประทานต้องเร่งขนอุปกรณ์ ติดตั้ง “กาลักน้ำ” เพิ่มอีก 10 ท่อ จากเดิมที่มีอยู่ 12 ท่อ รวมเป็น 22 ท่อ เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากเขื่อนอีกทาง

ซึ่งการวางท่อ กาลักน้ำ เจ้าหน้าที่จะมีการวางทางน้ำใหม่ ยกให้สูงขึ้นเพื่อรวมๆ น้ำ พร้อมขยายแนวกระสอบกั้นน้ำบริเวณทางน้ำที่ไหลลงสู่ลำน้ำธรรมชาติก่อนลงสู่แม่น้ำเพชรบุรี โดยยืนยันจะไม่ให้กระทบต่อผู้ที่สัญจรไปมา

>> แจงข้อเท็จจริงพื้นที่รับน้ำเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี  

ด้าน นางสาวสุภาณี ศรจันทร์ อายุ 33 ปี พนักงานรีสอร์ทบ้านหน้าโก๊ะ ให้ข้อมูลว่า เจ้าหน้าที่มีการประกาศแจ้งเตือนให้ทราบก่อนหน้านี้แล้วว่าจะมีการพร่องน้ำออกจากตัวเขื่อน โดยน้ำเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่ช่วงเข้าพรรษา ทำให้ต้องโทรศัพท์ไปยกเลิกลูกค้าที่จะมาใช้บริการห้องพักว่าไม่สามารถล่องแพ หรือเล่นน้ำได้ตามปกติ

ที่ผ่านมาไม่ค่อยเกิดเหตุการณ์แบบนี้แต่ด้วยทำงานอยู่ริมน้ำก็จะต้องทำใจ และพร้อมรับมือโดยการเก็บของขึ้นที่สูงเพื่อป้องกันความเสียหาย ส่วนมวลน้ำที่ไหลลงมา ต้องใช้เวลากว่า 1 เดือนถึงจะเข้าสู่ภาวะปกติ หรือ หากไม่มีฝนตกลงมาเติมระดับน้ำก็จะลดลงเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม สำหรับบ้านเรือนประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากมวลน้ำที่เร่งระบายออกจากเคลื่อน ลงสู่แม่น้ำเพชรบุรี และเขื่อนเพชรบุรี จะมีอำเภอที่จะได้รับผลกระทบ คือ อ.บ้านแหลม อ.เมือง อ.บ้านลาด อ.แก่งกระจาน และ อ.ท่ายาง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook