ถามหาผู้รับผิดชอบ-วิศวะหนุ่มใหญ่ร้องทางหลวงชนบท เหตุโคมไฟยักษ์หล่นใส่รถภรรยา
( 6 ส.ค. 61 ) ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อผู้ใช้เฟซบุ๊ก ชื่อ “Siripol Sri” หรือ นายศิริพล อายุ 50 ปี วิศวกรเคมีบริษัทแห่งหนึ่ง หลังจากได้เผยแพร่ภาพและข้อความว่า
“#เตือนภัยสะพานพระราม 4 ภรรยาผมไปรับลูกที่โรงเรียน ขากลับบ้านขึ้นสะพานพระราม 4 ขาออกลงถนนชัยพฤกษ์ ประสบอุบัติเหตุชนกับโคมไฟขนาดใหญ่มากบนสะพานซึ่งร่วงตกลงมาหน้ารถพอดี โชคดีมากครับเพราะหากโคมไฟนี้ล่วงลงมาช้ากว่านี้สัก ครึ่งวินาที คงอัดใส่กระจกหน้ารถฝั่งคนขับ ซึ่งไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับภรรยาและลูกผม ปัจจุบันอยู่ระหว่างเรียกร้องค่าเสียหายกับกรมทางหลวงชนบทครับ ระวังด้วยนะครับขับรถข้ามสะพานนี้ โคมที่แขวนอยู่บนสะพานนี้น่าจะมีเกือบร้อยดวงตลอดระยะสะพาน"
ซึ่งกลังเกิดเหตุได้เข้าแจ้งความไว้ที่ สภ.ชัยพฤกษ์ และส่งเรื่องร้องทุกข์ให้กับ ทางหลวงชนบท โดยทีคลิปภาพหน้ารถเป็นหลักฐาน
ภาพจากกล้องหน้ารถสามารถบันทึกเหตุการณ์ได้เมื่อเวลา 15.37 น. วันที่ 26 ก.ค.61 ภรรยาขอผู้โพสต์ได้ขับรถยนต์นี่ห้อฮอนด้า รุ่นซีอาร์วี โดยมีลูกชายวัย 9 ขวบนั่งอยู่ที่เบาะหลัง โดยขึ้นสะพานพระรามสี่จากห้าแยกปากเกร็ด จากนั้นได้ขับมาตามถนนบนสะพานในช่องขวาสุด ผ่านไปประมาณ 1 นาทีกว่า ขับข้ามสะพานมาฝั่งแม่น้ำและใกล้จะลงสะพาน จากนั้นโคมไฟที่อยู่บนหัวเสาได้หล่นลงมาที่ด้านหน้ารถและได้กระแทกกับด้านหน้ารถเสียหาย
นายศิริพล กล่าวว่า วันเกิดเหตุภรรยาได้ขับรถไปรับลูกชายกลับจาก โรงเรียนที่ เมืองทองฯ และขึ้นสะพานพระรามสี่เพื่อกลับบ้านที่ถนนชัยพฤกษ์ เมื่อขับมาในช่องขวาสุดช่วงก่อนลงสะพานได้มีวัตถุหล่นใส่รถเสียหาย แต่โชคดีที่ภรรยาและลูกไม่ได้รับบาดเจ็บแต่รถยนต์เสียหายด้านหน้าฉีกขาดเข้าซ่อมนานกว่า 20 วัน
ในวันเกิดเหตุตนอยู่บ้าน และภรรยาโทรศัพท์มาบอกว่า รถชนกับอะไรไม่ทราบ ตนจึงขับรถไปดูแต่ก็ไม่ทราบว่า เป็นอะไรเพราะแตกละเอียด จึงได้โทรเรียกประกันภัย หลังจากนั้นเมื่อกลับถึงบ้านจึงเปิดกล้องหน้ารถดูพบว่า เป็นโคมไฟของทางหลวงชนบทหล่นใส่หน้ารถ ภรรยาตนเห็นเหตุการณ์ในคลิปสิดีโอถึงกับร้องไห้ และบอกว่าโชคดีที่ไม่หล่นใสรถ เพราะถ้าหล่นใส่รถลูกชายและภรรยาคงบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
ในวันต่อมา ตนจึงได้เข้าแจ้งความและได้โทรติดต่อไปที่ทางหลวงชนบท พร้อมทำหนังสือร้องทุกข์ไปที่ทางหลวงชนบท แต่ได้รับคำตอบว่า จะสะสางเรื่องไปตามขั้นตอนและต้องให้ฝ่ายกฎหมายตรวจสอบก่อน
ทั้งนี้ ตนอยากให้เหตุกาณ์นี้ เป็นตัวอย่างเพื่อเตือนให้ประชาชนได้ระมัดระวังเวลาขับขี่ และสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะมีมาตรการในการตรวจสอบ ซ่อมบำรุงและเยียวยาประชาชนที่ประสบเหตุมากกว่านี้ รถยนต์ของตนเสียหายซ่อมกว่า 20 วัน ต้องเช่ารถให้ภรรยาและลูกใช้อีกร่วมเดือน แต่ไม่มีหน่วยงานไหนรับผิดชอบ
ผู้สื่อข่าวได้สอบถาม นายรณรงค์ แก้วเพ็ชร ทนายความ ถึงข้อกฎหมายและวิธีการเรียกร้องค่าเสียหาย ทราบว่าในทางกฎหมายแพ่ง ผู้ใดประมาทเลินเล่อกระทำต่อผู้อื่นให้ได้รับความเสียหายต้องชดใช้ค่าเสียหาย หรือตาม พ.ร.บ.ตามความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ กรณีละเมิด บอกไว้ว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ดูแลรักษาซ่อมบำรุงอุปกรณ์ของหลวงและปรากฎว่าไม่ซ่อมบำรุงให้ดี พอจนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเสียหายแก่ร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สิน หน่วยงานของรัฐจะต้องชดใช้
แต่ปัญหาที่ตามมา คือ หน่วยงานชองรัฐไม่สามารถจ่ายเงินให้ได้โดยตรง ต้องให้ผู้เสียหายไปฟ้องต่อศาลปกครองหรือศาลแพ่งให้มีคำพิพากษาของศาลมาก่อนถึงจะจ่ายเงินเยียวยาได้ ผู้เสียหายต้องเก็บหลักฐานทุกอย่างที่เป็นค่าเสียหายไว้ยื่นต่อศาล ขั้นตอนอาจจะยุ่งยากแต่สุดท้ายจะได้เงินคืน หากประสบเหตุแบบนี้ควรถ่ายรูปที่เกิดเหตุ ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวัน และใบเสร็จทุกอย่างที่จ่ายเกี่ยวกับความเสียหาย ยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและยื่นฟ้องต่อศาล
ต้องบอกเลยว่า หน่วยงานรัฐมีหน้าที่ต้องดูแลซ่อมแซมของหลวง ถ้ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นจะด้วยไม่ดูและหรือไม่ซ่อมถือเป็นความสะเพร่า ถ้ามีการบำรุงรักษาโคมไฟก็จะไม่หล่นลงมา เหตุที่หล่นลงมาไม่ได้เกิดจากพายุ ไม่ใช่เพราะลมแรง แต่จู่ๆ เกิดหล่นลงมาได้ เรื่องนี้ต้องมีการสอบสวนว่า การซ่อมบำรุงเป็นไปตามกฎหมายกำหนดไหม เป็นของการซ่อมถูกไหม ให้รวบรวมทุกอย่างยื่นต่อหน่วยงานกรมทางหลวงชนบท ยื่นต่อสำนักนานกรัฐมนตรี ยื่นต่อศาลแพ่งและศาลปกครองให้ศาลสั่งเยียวยา
อัลบั้มภาพ 7 ภาพ