เกรงกระทบเจ้าถิ่น สะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า ใช้ “นักอนุรักษ์” ประกบวิศวกรตลอดการก่อสร้าง

เกรงกระทบเจ้าถิ่น สะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า ใช้ “นักอนุรักษ์” ประกบวิศวกรตลอดการก่อสร้าง

เกรงกระทบเจ้าถิ่น สะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า ใช้ “นักอนุรักษ์” ประกบวิศวกรตลอดการก่อสร้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่า เนื่องจากสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า เป็นสะพานข้ามทะเลที่ยาวที่สุดในโลก การก่อสร้างสะพานแห่งนี้จึงต้องคำนึงถึง “เจ้าถิ่น” อย่าง “โลมาขาว” เป็นอันดับแรกๆ เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่หายากเทียบเท่ากับแพนด้ายักษ์ ตลอดโครงการก่อสร้าง จีนจึงต้องให้นักอนุรักษ์ทำงานร่วมกับวิศวกร เพื่อสร้างสะพานโดยไม่ทำร้ายโลมาขาว 

“ถ้าสภาพอากาศเหมาะสมให้ออกทะเลได้ เราก็จะออกสำรวจพื้นที่เป็นประจำ” เซี่ยวโหย่วเซิง เจ้าหน้าที่คนหนึ่งระบุกับสำนักข่าวซินหัว “และเราก็ยังต้องตรวจสอบคุณภาพน้ำไปด้วย”

ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา นายเซี่ยวและทีมของเขาออกลาดตระเวนเพื่อสำรวจพื้นที่ดังกล่าวมากกว่า 70 วันต่อปี ถ่ายภาพโลมาแต่ละตัวเพื่อระบุตัวตนและสำรวจจำนวนประชากรของมัน

ทั้งนี้ ระหว่างการก่อสร้างมีโลมาจำนวนมากว่ายอพยพออกไปจากพื้นที่ดังกล่าว ทางด้านสถาปนิกก็ได้ออกแบบเกาะเทียม 2 แห่งขึ้นมาเพื่อรักษาสภาพการไหลของน้ำให้สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลอาศัยอยู่ได้เหมือนเดิม

นอกจากนี้ แรงงานก่อสร้างยังถูกฝึกมาให้จับตาตรวจสอบดูโลมาอยู่เสมอ ซึ่งรายงานระบุว่าไม่มีโลมาขาวบาดเจ็บหรือตายเพราะการก่อสร้างสะพานเลยแม้แต่ตัวเดียว

การก่อสร้างส่วนหลักของสะพานเสร็จสิ้นไปเมื่อปี 2016 เวลานี้โลมาขาวเริ่มกลับมายังถิ่นของมันแล้ว 

เจ้าหน้าที่ระบุว่า ภารกิจยังไม่เสร็จสิ้นแต่เพียงเท่านี้ เมื่อสะพานเปิดให้สาธารณชนใช้สัญจร ยังต้องจับตาดูเรื่องของมลพิษทางเสียงและมลภาวะทางอากาศอย่างใกล้ชิด ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันมีโลมาขาว 2,367 ตัว อาศัยอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงซึ่งเป็นที่ตั้งของสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ เกรงกระทบเจ้าถิ่น สะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า ใช้ “นักอนุรักษ์” ประกบวิศวกรตลอดการก่อสร้าง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook