อุบลฯ ประกาศชี้แจง แซนด์วิชไส้หมูหยองปริศนา จัดให้เป็นอาหารปลอม

อุบลฯ ประกาศชี้แจง แซนด์วิชไส้หมูหยองปริศนา จัดให้เป็นอาหารปลอม

อุบลฯ ประกาศชี้แจง แซนด์วิชไส้หมูหยองปริศนา จัดให้เป็นอาหารปลอม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ชี้แจงกรณีแซนด์วิชยี่หนึ่งในท้องถิ่น ต้องสงสัยสอดไส้หมูหยองปลอม ส่งพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์อยู่ พร้อมประกาศให้เป็นอาหารปลอม มีโทษผิดตาม พ.ร.บ.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุวิทย์ โรจนศักดิ์โสธร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวแซนด์วิชไส้หมูหยองปลอม ยี่ห้อหนึ่ง ผลิตอยู่ที่ อ.เมืองอุบลราชธานี มีเลขสารบบครบถ้วน แต่การตรวจสอบสถานที่ผลิตตามที่แสดงในฉลาก พบว่าปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเป็นบ้านเช่า ไม่มีการผลิตอาหารดังกล่าว

ดังนั้นผลิตภัณฑ์แซนด์วิชยี่ห้องดังกล่าวจึงเป็นอาหารที่มีลักษณะตามมาตรา 27 (4) อาหารที่มีฉลากเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องสถานที่ผลิตจึงเข้าข่ายเป็นอาหารปลอมตามมาตรา 25 (2) พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับข้อสงสัยของชาวบ้านดังที่ปรากฏในข่าวว่าแซนด์วิชยี่ห้อดังกล่าว สอดไส้สำลีแทนหมูหยองนั้น ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีได้ส่งตัวอย่างไปยังกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อตรวจหาสิ่งปลอมปนประเภทเส้นใย ซึ่งเป็นการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ โดยหากมีการนำสำลีมาใช้ทำไส้หมูหยองจริงผลตรวจวิเคราะห์จะพบเส้นใยของสำลี

>> ชาวบ้านแทบอ้วก กัดแซนด์วิชหมูหยอง กินไส้เหมือนพลาสติก

ทั้งนี้รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.สมฤกษ์ จึงสมาน ได้ให้ความสำคัญและติดตามดูแลกระบวนการตรวจวิเคราะห์ตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดกระบวนการขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการตรวจวิเคราะห์ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ยังคงมีวางจำหน่ายในท้องตลาดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

อีกทั้งยังสั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอาหารในทุกอำเภอให้ดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังร้านค้า ร้านชำ ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบหากพบมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารปลอม ให้รวบรวมนำส่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีโดยด่วนส่วนสถานที่ที่ใช้ในการลักลอบผลิต ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามค้นหาเพื่อพิจารณาลงโทษกับผู้ผลิตตามกฎหมายต่อไปด้วย

จึงอยากขอเรียนให้พี่น้องประชาชน ตลอดจนผู้ประกอบการผลิต และจำหน่าย ทราบว่าตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25 (2) ผู้ใดผลิตหรือจำหน่ายซึ่งอาหารปลอม มีบทลงโทษตามมาตรา 59 ต้องระวางโทษจำคุกหกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานีมีสถานที่ผลิตหมูหยอง รวมทั้งสิ้น 4 แห่งได้แก่ สามชัย กรุ๊ป ชมดี ก.เจริญ และร้อยใจอุบลฯซึ่งทุกแห่งได้รับอนุญาตผลิตถูกต้อง สถานที่ผลิตถูกสุขลักษณะและได้รับการตรวจประเมินได้มาตรฐานตามเกณฑ์ GMP เป็นประจำทุกปี ที่สำคัญเนื้อหมูซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตมีแหล่งที่มาจากฟาร์มหรือโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานจากกรมปศุสัตว์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook