ฮือฮา! ตั้ง “พุทธิพงษ์” อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ นั่งรองเลขาธิการนายกฯ ฝ่ายการเมือง

ฮือฮา! ตั้ง “พุทธิพงษ์” อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ นั่งรองเลขาธิการนายกฯ ฝ่ายการเมือง

ฮือฮา! ตั้ง “พุทธิพงษ์” อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ นั่งรองเลขาธิการนายกฯ ฝ่ายการเมือง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ในตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ครม.มีมติเป็นต้นไป

สำหรับประวัติทางการเมืองของ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ เคยเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

นายพุทธิพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 มีชื่อเล่นว่า บี เป็นบุตรคนโตของ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ เหลือพร และนางดาริกา ปุณณกันต์ เป็นพี่ชายแท้ๆ ของนายดนุพร ปุณณกันต์ (บรู๊ค) ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย รวมทั้งยังเป็นหลานของ พลเอก พงษ์ ปุณณกันต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และกระทรวงอุตสาหกรรม

บี พุทธิพงษ์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2535 และจบปริญญาโท การบริหารธุรกิจ (MBA) จากสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2539 แล้วกลับมาทำงานเป็นผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ บริษัท ราชธานี กรุ๊ป ต่อจากนั้นเข้ารับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการลงทุน (BOI) สำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนเข้าสู่วงการเมือง

ชีวิตส่วนตัวที่น่าสนใจ พุทธิพงษ์ สมรสกับ นุสบา วานิชอังกูร มีทายาทเป็นลูกชายคือ ปุณณ์ ปุณณกันต์

ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 นายพุทธิพงษ์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ พื้นที่เขต 4 กรุงเทพมหานคร ซึ่งก็คือ เขตพญาไท โดยแข่งขันกับ นางกรรณิกา ธรรมเกษร อดีตพิธีกรโทรทัศน์ชื่อดัง ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย ผลการนับคะแนนปรากฏว่า นางกรรณิกาเป็นฝ่ายชนะได้รับการเลือกตั้ง และได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ทว่าหลังจากสภาฯ ชุดดังกล่าวทำงานไปได้เกือบ 1 ปี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติให้ใบเหลือง นางกรรณิกา และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งครั้งนี้ ชัยชนะตกเป็นของนายพุทธิพงษ์แทน

ในระหว่างที่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยแรก (พ.ศ. 2547-2551) นายพุทธิพงษ์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง โฆษกกรุงเทพมหานคร นับเป็นบุคคลแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้ และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดูแลงานด้านการศึกษาและพัฒนาสังคม กีฬา การท่องเที่ยว และด้านการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร

ในปี พ.ศ. 2553 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม และรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ควบคู่กับการดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งรองโฆษกฯ ในเวลาต่อมา

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 7 (เขตห้วยขวาง)

ผลงานทางการเมือง

พ.ศ. 2544 ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี และผู้ช่วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ)

พ.ศ. 2545 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เขตพญาไท-ราชเทวี)

พ.ศ. 2549 รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

พ.ศ. 2551 รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คนที่ 1)

พ.ศ. 2552 ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

พ.ศ. 2553 ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2554 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 7 (ห้วยขวาง-วังทองหลาง)

ในวิกฤติการเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายพุทธิพงษ์เป็น 1 ใน 9 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและกรรมการบริหารพรรค แล้วเข้าเป็นหนึ่งในแกนนำ กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) โดยมีบทบาทเป็นผู้ดูแลผู้ชุมนุมที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต และหลายต่อหลายครั้งจะเป็นแกนนำในการนำพาผู้ชุมนุมเข้าปฏิบัติการที่ค่อนข้างโลดโผนหรือเสี่ยงอันตราย จนได้รับฉายาว่า “สี่ทหารเสือ” ร่วมกับแกนนำและแนวร่วมคนอื่นๆ ที่เป็นคนหนุ่มวัยใกล้เคียงกัน คือ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ, นายชุมพล จุลใส และนายสกลธี ภัททิยกุล

โดยในระยะแรกของการชุมนุม ซึ่งสถานที่ชุมนุมยังเป็นที่บริเวณสถานีรถไฟสามเสน นายพุทธิพงษ์เป็นผู้สำรวจสถานที่ และตัดสินใจเลือกสถานที่ดังกล่าวเป็นที่ชุมนุมร่วมกับนายณัฏฐพล

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จากการชุมนุมในครั้งนั้น ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏและความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินคดีตามกระบวนการของกฎหมาย โดยนายพุทธิพงษ์เป็นผู้ต้องหาหมายเลข 4

หลังเหตุการณ์นี้ นายพุทธิพงษ์ได้เข้าอุปสมบทที่วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ก่อนย้ายไปจำวัดที่วัดธารน้ำไหล จังหวัดสุราษฎร์ธานี เช่นเดียวกับแกนนำคนอื่นๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook