"มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค" อัด "กสทช." เลือกปฏิบัติ กรณีลอยแพลูกค้าดีแทค

"มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค" อัด "กสทช." เลือกปฏิบัติ กรณีลอยแพลูกค้าดีแทค

"มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค" อัด "กสทช." เลือกปฏิบัติ กรณีลอยแพลูกค้าดีแทค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และอดีตประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมของ กสทช. กล่าวว่า จากการติดตามกรณีของมาตรการเยียวยามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ซึ่งเกิดเหตุสิ้นสุดสัมปทานบริการโทรศัพท์มือถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทย พบว่า ทาง กสทช. ได้ออกประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 มารองรับการสิ้นสุดสัมปทานของบริษัท ทรู มูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด (DPC – บริษัทในเครือ AIS) ทำให้ทั้งสองบริษัทได้อยู่ในมาตรการเยียวยานานนับปี นั่นคือได้ใช้คลื่นความถี่ต่อโดยไม่ต้องมีการประมูล

ต่อมาในปี 2558 ก็มีการใช้ประกาศดังกล่าวกับกรณี AIS สิ้นสุดสัมปทานอีก ซึ่ง กสทช. อ้างว่า การให้บริการในช่วงเยียวยานั้นเป็นการให้บริการแทนรัฐ รายได้จะไม่ตกเป็นของบริษัท ต้องนำมาคืนรัฐ แต่ปรากฏว่าจนบัดนี้ทั้งสองบริษัทก็ยังไม่ได้นำส่งรายได้ที่จัดเก็บจากการให้บริการช่วงเยียวยาที่ผ่านมา เข้าเป็นงบประมาณของแผ่นดินแต่อย่างใด

>> ซิมดับหลังเที่ยงคืน 15 ก.ย.นี้! กสทช.เร่งลูกค้าดีแทค 850 MHz เปลี่ยนคลื่น-ย้ายค่าย

ด้าน นางสาวพวงทอง ว่องไว อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ด้านสื่อและโทรคมนาคม ระบุว่า ข้ออ้างของ กสทช. ที่ว่า ดีแทคมีลูกค้าบนคลื่นความถี่ 850 MHz เพียงประมาณ 95,000 เลขหมาย โดยเป็นลูกค้าทั่วไปประมาณ 60,000 เลขหมาย ซึ่งเทียบกับยอดรวมของซิมดับจากการสิ้นสุดสัมปทานที่ผ่านมามีกว่า 400,000 เลขหมายนั้น เป็นการเปรียบเทียบแบบพูดความจริงไม่ครบและละเลยรายละเอียด เพราะเรื่องความเดือดร้อนจากซิมดับไม่ได้มีสาระอยู่ที่จำนวนมากน้อยเป็นสำคัญ แต่อยู่ที่ว่าซิมที่ดับนั้นเป็นซิมที่มีการใช้งานมากน้อยเพียงใด และคนที่ต้องพึ่งพาหรือใช้งานซิมนั้นมีทางเลือกอื่นใดหรือไม่ รวมทั้งมีระยะเวลาเพียงพอที่จะจัดการปัญหาหรือไม่

>> จี้ "ดีแทค" เร่งแจ้งลูกค้าย้ายค่าย ก่อนซิมดับ 15 ก.ย.นี้

นอกจากนั้น กสทช. ยังจงใจละเลยผู้ใช้บริการของบริษัท DTN (Dtac TriNet) จำนวน 22 ล้านเลขหมาย ที่มีการโรมมิ่งร่วมใช้คลื่นความถี่ 850 MHz ของดีแทคด้วย

นางสาวสารี ยังกล่าวด้วยว่า สำหรับทางแก้นั้น กสทช.ควรเร่งนำคลื่นความถี่ออกมาประมูลอีกครั้ง โดยปรับกติกาให้สมเหตุสมผล โดยเฉพาะเรื่องราคาตั้งต้นประมูล ควรมีการศึกษาหาราคาที่เหมาะสม แล้วออกแบบการประมูลให้เป็นเรื่องของการแข่งขันจริงจัง เพื่อให้เกิดการกำหนดราคาโดยตลาดอย่างแท้จริง ไม่ดันทุรังตีกรอบในสิ่งที่ไม่ควรตี นอกจากนั้นก็ควรให้ดีแทคเข้าสู่มาตรการเยียวยาจนกว่าที่จะมีการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อที่บริการจะได้มีความต่อเนื่องและมีคุณภาพดีเพียงพอ

>> ย้ายค่ายเลย! ลูกค้า “ดีแทค” เตรียมซิมดับเที่ยงคืน 15 กันยายน 2561

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook