ไขปริศนาชื่อ "พายุมังคุด" ไต้ฝุ่นรุนแรงที่สุดของปี ชื่อนี้ไม่ได้ตั้งเล่นๆ

ไขปริศนาชื่อ "พายุมังคุด" ไต้ฝุ่นรุนแรงที่สุดของปี ชื่อนี้ไม่ได้ตั้งเล่นๆ

ไขปริศนาชื่อ "พายุมังคุด" ไต้ฝุ่นรุนแรงที่สุดของปี ชื่อนี้ไม่ได้ตั้งเล่นๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"พายุมังคุด" หรือ ไต้ฝุ่นมังคุด กลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนภูมิภาคแปซิฟิกที่มีความรุนแรงที่สุดของปี 2018 โค่นแชมป์เก่าอย่าง "ไต้ฝุ่นเชบี" หลังจากที่ครองสถิตินี้ได้เพียงไม่กี่วัน พลังความรุนแรงของพายุมังคุดสร้างความเสียหายให้กับหลายประเทศที่พายุพาดผ่าน โดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์, เกาะฮ่องกง และประเทศจีนตอนล่าง

ขณะนี้ พายุไต้ฝุ่นมังคุด ได้อ่อนกำลังลงกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ปกคลุมอยู่บริเวณมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ไม่มีผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทย แต่ทางกรมอุตุนิยมวิทยา ก็ได้ออกประกาศเตือนให้ประชาชนทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เตรียมรับมือกับปริมาณฝนตกหนักในระยะ 1-2 วันนี้ ส่วนลมมรสุมตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้พื้นที่ภาคใต้ทั้ง 2 ฝั่งทะเลจะมีฝนตกต่อเนื่องด้วย

แต่หลังจากพายุลูกนี้พัดผ่านไปแล้ว ทำให้ชื่อของพายุรุนแรงที่สุดของปีลูกนี้ได้รับความสนใจจากคนไทยเป็นอย่างมาก เพราะประหลาดใจที่ชื่อผลไม้ที่รู้จักกันเป็นอย่างทั้งดี จะกลายเป็นพายุวายร้ายที่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนมากมายหลายประเทศเช่นนี้

สำหรับชื่อ "พายุมังคุด" เป็นไปตามกฎการตั้งชื่อพายุหมุนในเขตร้อน จาก 14 สมาชิกประเทศ (WMO Typhoon Committee) ประกอบด้วย กัมพูชา, จีน, เกาหลีเหนือ, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, ลาว, มาเก๊า, มาเลเซีย, ไมโครนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้, ไทย, สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

โดยทุกประเทศจะส่งรายชื่อพายุอย่างเป็นทางการ ประเทศละ 10 ชื่อ โดยจะหมุนเวียนใช้ตั้งชื่อพายุเรียงตามลำดับอักษรประเทศในภาษาอังกฤษ เช่น พายุไต้ฝุ่นเชบี ที่พัดถล่มญี่ปุ่นนั้น เป็นชื่อจากเกาหลีใต้ ตามมาด้วย พายุไต้ฝุ่นมังคุด เป็นตัวแทนชื่อจากไทย และต่อมาเกิด พายุโซนร้อนบารีจัต ซึ่งเป็นชื่อจากสหรัฐอเมริกา ตามมาตามลำดับ

news05-1

สำหรับชื่อพายุหมุนในเขตร้อนจากประเทศไทย ที่ได้เลือกใช้อย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่เป็นชื่อเฉพาะของสิ่งของหรือชื่อในวรรณคดี ได้แก่ พระพิรุณ, มังคุด, วิภา, บัวลอย, เมขลา, อัสนี, นิดา, ชบา, กุหลาบ และ ขนุน

อย่างไรก็ตาม ชื่อพายุหมุนในเขตร้อนยังมีวันเกษียณอายุตัวเองด้วย เนื่องจากกฏเกณฑ์ในการตั้งชื่อพายุแต่ละลูกครั้ง จะวนใช้ซ้ำไปเรื่อยๆ แต่ในทุกปีมักจะมีพายุหมุนรุนแรงและสร้างความเสียหายอย่างหนัก คณะกรรมการจะมีการตัดสินพิจารณาถอดถอนบางชื่อของพายุออกไป โดยสมาชิกจะต้องส่งรายชื่อใหม่เข้าไปทดแทนตามลำดับ

โดยที่ผ่านมา ชื่อพายุหมุนในเขตร้อนจากประเทศไทย ที่เคยเกษียณอายุก็มีหลายชื่อเช่นกัน อาทิ "พายุไต้ฝุ่นทุเรียน" ที่เคยพัดเข้าชายฝั่งเวียดนามและลงสู่ทะเลอ่าวไทย ก่อนจะข้ามด้ามขวานไทยลงสู่อ่าวเบงกอล เมื่อ 12 ปีที่แล้ว หลังจากนั้นชื่อนี้ก็เกษียณอายุลงไป หรือ "พายุไต้ฝุ่นสาริกา" เมื่อ 2 ปีก่อน ที่เคยพัดสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับฟิลิปปินส์ แต่มีการใช้ชื่อนี้ซ้ำมาแล้วหลายครั้ง เป็นต้น

และนอกจากชื่อพายุหมุนในเขตร้อนภูมิภาคแปซิฟิกแล้ว ประเทศไทยยังเป็นสมาชิกร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย ที่ดูแลสภาพอากาศในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียตอนเหนืออีกด้วย โดยภูมิภาคนี้มีสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ, อินเดีย, มัลดีฟส์, เมียนมา, โอมาน, ปากีสถาน, ศรีลังกา และไทย

โดยทั้งหมดจะส่งชื่อ 8 ชื่อ ที่จะใช้ในการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ โดยหมุนเวียนตามลำดับอักษรประเทศในภาษาอังกฤษเช่นเดียวกัน ซึ่งพายุหมุนในภูมิภาคนี้จะเรียกว่า "พายุไซโคลน" โดยชื่อจากประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นชื่อเรียกของอัญมณี ได้แก่ มุกดา, ไข่มุก, เพชร, ไพลิน, โกเมน, โมรา, เพทาย และ อำพัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook