นิด้าโพลเผย คนอยากเห็น "พล.อ.ประยุทธ์" นั่งนายกฯ ต่อ แต่ยังไม่เชื่อเลือกตั้งกุมภา

นิด้าโพลเผย คนอยากเห็น "พล.อ.ประยุทธ์" นั่งนายกฯ ต่อ แต่ยังไม่เชื่อเลือกตั้งกุมภา

นิด้าโพลเผย คนอยากเห็น "พล.อ.ประยุทธ์" นั่งนายกฯ ต่อ แต่ยังไม่เชื่อเลือกตั้งกุมภา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง เรื่อง “ประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน (ครั้งที่ 4)” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17 – 18 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.63 อยากให้พรรคการเมืองใหม่ๆ เข้ามาเป็นรัฐบาล เพราะอยากเห็นแนวคิดใหม่ๆ เข้ามาบริหารและพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ส่วนบุคคลที่ประชาชนอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรี พบว่า ร้อยละ 29.66 ระบุว่าเป็น พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองลงมา ร้อยละ 17.51 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคเพื่อไทย) ร้อยละ 13.83 ระบุว่าเป็น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่) ร้อยละ 10.71 ระบุว่าเป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์)

ทั้งนี้ เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้ได้คะแนนเสียงมากที่สุด และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.78 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย รองลงมา ร้อยละ 20.62 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 19.58 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 15.51 ระบุว่าเป็น พรรคอนาคตใหม่

ส่วนปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ใช้ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.80 ระบุว่า เป็นบุคคลที่มีผลงานประจักษ์ ทำประโยชน์ในพื้นที่หรือต่อประเทศไทย รองลงมา ร้อยละ 22.54 ระบุว่า ชอบพรรค/นโยบายของพรรค ที่ผู้สมัครสังกัด ร้อยละ 12.07 ระบุว่า ชื่นชอบเป็นการส่วนตัว (เช่น บุคลิก หน้าตา ท่าทาง มีแนวคิดคล้ายตนเอง เป็นคนบ้านเดียวกัน เป็นต้น) 

สำหรับปัญหาที่อยากให้นายกฯ คนต่อไปเข้ามาแก้ไขมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.81 ระบุว่า ปัญหาปากท้องและหนี้สินของประชาชน รองลงมา ร้อยละ 25.42 ระบุว่า ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ ร้อยละ 11.67 ระบุว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน การใช้อำนาจโดยมิชอบ ผู้มีอิทธิพล

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยไม่เลื่อนออกไปอีก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.76 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่น เพราะยังไม่มีความพร้อม ไม่ชัดเจนในหลายๆ เรื่อง สถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ปกติ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเลื่อนการเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้งเลยทำให้ขาดความเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 45.16 ระบุว่า เชื่อมั่น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ เป็นไปตามโรดแมปที่รัฐบาลวางไว้ เชื่อมั่นในความสามารถ และความพร้อมของรัฐบาล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook