มองต้นเหตุปัญหา “บุลลี่” เด็กเกเรควรถูกลงโทษหรือเยียวยา

มองต้นเหตุปัญหา “บุลลี่” เด็กเกเรควรถูกลงโทษหรือเยียวยา

มองต้นเหตุปัญหา “บุลลี่” เด็กเกเรควรถูกลงโทษหรือเยียวยา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรณีคลิปเด็กหญิงชั้น ป. 4 ถูกรุ่นพี่ ม. 2 รุมทำร้ายร่างกาย เมื่อช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้สังคมไทยมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดถึงการกระทำของรุ่นพี่ รวมทั้งยังเรียกร้องให้โรงเรียนลงโทษรุ่นพี่กลุ่มนี้อย่างสาสม จนกระทั่งล่าสุด ผู้ปกครองของเด็กหญิงได้ตัดสินใจแจ้งความเอาผิดกลุ่มรุ่นพี่ เนื่องจากกังวลเรื่องความปลอดภัยของลูกสาว

>> เด็ก ป.4 เหยื่อพี่ ม.2 รุมตี สมัครเข้าโรงเรียนใหม่แล้ว แม่ปลื้มมาตรการดูแลเด็ก
>> แม่นักเรียน ป.4 แจ้งความเอาผิดรุ่นพี่ ม.2 ปิดเทอมกลัวลูกไม่ปลอดภัย
>> รมว.ศธ.สั่งสอบ คลิปรุ่นพี่ทำร้าย ป.4 โดนแค่ทัณฑ์บนรู้สึกว่าน้อยไป

แม้ในที่สุด หลายฝ่ายจะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเยียวยาผู้ถูกกระทำอย่างจริงจัง อีกทั้งยังมีความตื่นตัวในเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เด็กๆ ตกเป็นเหยื่อการรังแก แต่อีกปัญหาที่ควรได้รับความสนใจก็คือ เหตุใดเด็กคนหนึ่งจึงกลายเป็นบุลลี่ ทั้งนี้ก็เพื่อทำความเข้าใจถึง “ต้นเหตุ” ของปัญหา และนำไปสู่การแก้ไขและป้องกันการบุลลี่อย่างตรงจุด

รูปแบบต่างๆ ของการบุลลี่

คุณเมริษา ยอดมณฑป นักจิตวิทยาเด็ก เจ้าของเพจ “ตามใจนักจิตวิทยา” กล่าวว่า การบุลลี่สามารถแบ่งออกได้หลายลักษณะ ได้แก่ การบุลลี่ทางวาจา เป็นการพูดทำร้ายจิตใจผู้อื่น เช่น การแซว การล้อเลียนปมด้อย โดยที่อีกฝ่ายไม่รู้สึกสนุกด้วย การบุลลี่ทางกาย คือการทำร้ายร่างกายให้เกิดรอยแผลอย่างชัดเจน การบอยคอตหรือการแบน ซึ่งเป็นการทำให้ผู้ที่โดนแบนไม่มีตัวตนในสายตาคนอื่น ทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกว่าถูกรังเกียจ และไม่ได้รับการยอมรับในสังคม และการบุลลี่ในโลกออนไลน์ (Social bullying) โดยการโพสต์สแปมหรือแชร์ภาพที่สร้างความอับอายให้แก่เจ้าของภาพ ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการบุลลี่ในลักษณะใด ย่อมสร้างบาดแผลทางใจให้กับผู้ที่โดนบุลลี่ทั้งสิ้น ส่วนเกณฑ์ในการตัดสินว่าบุลลี่หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผลกระทบต่อจิตใจของอีกฝ่ายมากกว่าความถี่ของเหตุการณ์ เนื่องจากแต่ละคนมีภูมิคุ้มกันทางใจไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้น แค่อีกฝ่ายเกิดความไม่สบายใจหรือเดือดร้อนใจ ก็ถือว่าเป็นการบุลลี่แล้ว

ทำไมเด็กจึงกลายเป็นบุลลี่

ปัจจัยที่หล่อหลอมให้เด็กกลายเป็นบุลลี่ มี 2 อย่าง ได้แก่ การขาดความรักและความมั่นคงปลอดภัยทางใจ และค่านิยมหรือทัศนคติในวัยเด็กที่ไม่ยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น ซึ่งคุณเมริษาได้ขยายความว่า

“เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือถูกเพิกเฉยจากพ่อแม่หรือคนในครอบครัว เขาจะรู้สึกไม่ปลอดภัย แล้วเขาก็จะไม่ไว้ใจใคร เพราะเขารู้สึกว่าไม่มีใครอยู่ตรงนั้นเพื่อเขา นอกจากนี้ เมื่อเขารู้สึกอ่อนแอ เขาก็ต้องสร้างกำแพงขึ้นมาปกป้องตัวเอง เพื่อให้เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เขาไม่มั่นคง เขาก็จะดูเหมือนเป็นเด็กที่แกร่งมาก รังแกคนอื่น เป็นหัวโจก แต่จริงๆ ข้างในเขาเปราะบาง ว่างเปล่ามาก ก็เลยมีคำหนึ่งที่ใช้กับเด็กกลุ่มนี้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็คือ เขาจะปฏิเสธคนอื่น ก่อนที่คนอื่นจะปฏิเสธเขา ทำร้ายคนอื่น ก่อนที่ใครจะมาทำร้ายเขา”

“ส่วนอีกแบบหนึ่งที่เราคาดไม่ถึงกัน ก็คือเด็กที่บุลลี่คนอื่นโดยไม่ได้เจตนา เนื่องจากการไม่ยอมรับความแตกต่างของคนอื่น เพราะเกิดจากการที่ถูกปลูกฝังค่านิยมหรือทัศนคติที่ไม่ยอมรับความแตกต่างในช่วงวัยเด็ก ซึ่งพ่อแม่หรือผู้ปกครองที่อยู่ใกล้ชิดเด็กอาจจะเผลอหรือไม่ได้เจตนา เช่น ถ้าเจอเด็กที่แต่งตัวมอซอ จะพูดกับลูกว่าอย่าไปเล่นกับเด็กคนนั้นนะ มันสกปรก เมื่อเด็กไม่ได้กลั่นกรอง และเชื่อทุกอย่างที่ผู้ใหญ่ให้มา เขาก็จะรับรู้ว่าคนแบบนี้ไม่ควรไปยุ่ง เมื่อเขาเข้าไปอยู่ในโรงเรียน แล้วไปเจอเพื่อนที่เรียนไม่เก่ง เพื่อนที่มีความผิดปกติทางร่างกาย หรือเพื่อนที่มีความแตกต่างจากตัวเอง ก็จะต่อต้านหรือบอยคอตเพื่อนแนวนี้” คุณเมริษาอธิบาย

สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเด็กที่เป็นบุลลี่ คุณเมริษาสรุปว่า ในกรณีของเด็กที่ขาดความรัก การทำร้ายผู้อื่นไม่ได้เติมเต็มความรักที่ขาดหาย และไม่ได้สร้างความผูกพันใหม่ หากไม่ได้รับการแก้ไขพฤติกรรมตั้งแต่วัยเด็ก ก็อาจส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ต่อต้านสังคม ทำสิ่งที่ผิดกติกาของสังคม หรือเรียกร้องความสนใจโดยการสร้างจุดเด่นหรือสร้างคุณค่าให้ตัวเองอย่างไม่เหมาะสม และหากไม่ได้รับความสนใจ ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะซึมเศร้า คิดว่าตัวเองไม่มีค่า และอาจจะมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย รวมทั้งอาจเป็นโรคทางจิตเวชอื่นๆ เช่น บุคลิกแปลกแยก โดยการสร้างตัวตนอีกคนหนึ่งขึ้นมา เพราะยอมรับตัวตนของตัวเองไม่ได้ กลายเป็นคนสองบุคลิก ส่วนกรณีของเด็กที่ไม่ยอมรับความแตกต่างของคนอื่น ก็จะมีทัศนคติที่ไม่เปิดกว้าง ยึดมั่นในความคิดของตัวเองเป็นหลัก

“เด็กเกเร” ต้องถูกลงโทษหรือเยียวยา?

ในขณะที่เด็กที่ขาดความรักและการปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้อง กลายเป็นเด็กเกเรที่สร้างปัญหาให้กับสังคม คุณทิชา ณ นคร หรือ “ป้ามล” ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก กลับมองว่า ความขาดแคลนเหล่านี้ไม่ได้เป็นความเลวร้ายที่ต้องถูกกำจัดออกจากสังคม แต่เป็นสัญญาณที่บอกว่าเราควรมีระบบหรือการจัดการอย่างเหมาะสม เพื่อที่จะดึงเด็กกลุ่มนี้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เด็กๆ เหล่านี้ควรได้รับโทษเมื่อกระทำความผิด แต่การลงโทษนั้นต้องเป็นการลงโทษที่มีเมตตา ไม่ผลักเด็กให้ตกหลุมที่ลึกลงไปกว่าเดิม แต่เป็นการให้บทเรียนเพื่อให้เด็กได้เริ่มต้นใหม่ และมีกำลังใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ไม่มีสูตรสำเร็จ

อย่างไรก็ตาม แนวทางของคุณทิ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook