อพวช...เร่งปลุกหัวใจนักวิทย์ในตัวเยาวชนให้ตื่นตัวพร้อมรับ 4.0

อพวช...เร่งปลุกหัวใจนักวิทย์ในตัวเยาวชนให้ตื่นตัวพร้อมรับ 4.0

อพวช...เร่งปลุกหัวใจนักวิทย์ในตัวเยาวชนให้ตื่นตัวพร้อมรับ 4.0
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คำว่าวิทยาศาสตร์ ฟังแล้วดูเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน น่าเบื่อ และห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นใดใดของเราได้ หรือง่ายๆ คือเราไม่สนใจในเรื่องวิทยาศาสตร์นั้นเอง เพราะความคิดว่าวิทยาศสาตร์ “ยาก” นี้ ถูกฝังไว้ในประสบการณ์การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมาตั้งแต่เยาว์วัย  วิชาวิทยาศาสตร์ไม่สร้างแรงบันดาลใจ เรียนยาก มีแต่เรื่องให้ท่องจำมากเกินไป จนกลายเป็นว่า เราเริ่มกลัว ค่อยๆ หันหลังให้กับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่ละน้อยจนมองข้ามความสำคัญของความรู้ด้านวิทยาศสาตร์ที่อยู่รอบตัวเราไปในที่สุด แต่ความเป็นจริงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาแนวคิดของผู้คน การดำเนินชีวิต การประกอบวิชาชีพ ตลอดจนการสร้างความเจริญก้าวหน้าและเพิ่มความสามารถแข่งขันของประเทศและทั่วโลกต่างให้ความสำคัญเร่งเครื่องพัฒนาองค์ความรู้ และกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมากมาย  

ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้พูดถึงการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์   ภายในงาน “วิทย์สร้างคน” ตอน Gen-Z Gen-Science  ณ สยามสแควร์ วัน ไว้อย่างน่าคิดตาม ความตอนหนึ่งว่า
“การสร้างสังคมให้ผู้คนตระหนักว่า วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญ...สิ่งแรกที่เราต้องทำ คือ ต้องทำให้เลิกคิดว่า วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยากๆ  เราถูกสร้างให้คิดว่ายากด้วยการเรียนการสอนหรืออะไรก็ตาม...เราต้องสร้างสิ่งแวดล้อมวิทยาศสตร์ขึ้นมาให้มันง่าย เริ่มตั้งแต่ครอบครัว พ่อ แม่ ก็ต้องช่วยกระตุ้นว่า วิทยาศสตร์อยู่รอบๆ บ้าน เช่น ตื่นเช้าขึ้นมาอาบน้ำ เราเจอะสบู่ สบู่นี่ก็เป็นวิทยาศาสตร์เหมือนกัน...ครูก็เช่นกันที่ต้องเรียนตามหลักสูตรก็ว่ากันไป  แต่เราควรมีสิ่งที่เรียกว่าออกมานอกหลักสูตร นอกห้องเรียน เพื่อที่จะทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ๆตัว เป็นเรื่องที่สัมผัสได้ ไม่ได้ยากเข้าไม่ถึง” 

“MINDSET ด้านวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ กลุ่มเป้าหมายของ อพวช.ไม่ใช่แค่เยาวชนที่สนใจด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น สิ่งที่ต้องทำคือทำอย่างไรถึงจะปลุกให้คนที่ไม่สนใจด้านนี้เลย หันมาให้ความสนใจ อย่างน้อยให้เข้าใจว่าความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญช่วยพัฒนาระบบความคิด ช่วยให้เค้าประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข ให้เค้าค่อยๆ ซึบซับ เข้าใจ เกิดความรู้และนำมาใช้ในที่สุด  ส่วนที่คนสนใจวิทยาศตร์แล้ว  สิ่งหนึ่งที่ต้องเน้นย้ำคือ นอกจากการมีความรู้แล้ว เค้าต้องมีความกล้าที่จะล้มเหลว กล้าที่จะสำเร็จ กล้าที่จะบอกว่าล้มเหลว ไม่ใช่เพียงบอกแค่ความสำเร็จ  นอกจากนี้ยังต้องกล้าที่จะสื่อสารและต้องเป็นนักสื่อสารที่ดี  ทำผลงานดีๆ เก็บไว้ชื่นชม ไม่ได้เผยแพร่ก็คงไม่มีประโยชน์ คำว่าเผยแพร่ไม่ใช่แค่เพียงการตีพิมพ์ในวรสารวิชาการเท่านั้น แต่ต้องสื่อสารให้ชาวบ้านทั่วๆ ไปเข้าใจได้ เห็นประโยชน์จากผลงานที่เราทำ รู้เท่าทันได้ ก็มีแรงบันดาลใจ“

ที่ผ่านมา อพวช.ได้จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆ และเยาวชนมามากมายหลายล้านคน มาวันนี้ก็ยังเน้นย้ำประกาศจุดยืนว่ากระทรวงวิทยาศสตร์ฯ มีความจริงจัง ตั้งใจขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลายกิจกรรมที่ได้จัดทำขึ้นก็เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นเด็กไทยให้ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงาน โดยมีเวทีการประกวดเป็นแรงขับเคลื่อน  เพื่อที่พวกเค้าจะได้มีโอกาสนำชิ้นงานไปต่อยอด ในเรื่องของการเรียน การทำงาน และสร้างอาชีพต่อไป และผลงานจากการประกวดทั้ง 9 กิจกรรมโครงการในปีนี้  เราได้เห็นถึงความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ที่มาไกลเกิดคาดหวัง หลายชิ้นงานสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในอนาคต และเชื่อมั่นว่าจะมีผลในทางบวกกับการที่จะช่วยให้เด็กไทยสนใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้น

กิจกรรม “ วิทย์สร้างคน” ตอน Gen-Z Gen-Science ได้จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่  18 ตุลาคม 2561 ณ Siam Square One ชั้น 3 สยาม สแควร์ กรุงเทพมหานคร  เนื่องในวันเทคโนโลยีแห่งชาติซึ่งตรงกับวันที่ 19 ตุลาคม และเป็นการจัดแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์จากการแข่งขัน 9 โครงการประกวดที่น่าสนใจ อาทิ สมองกลปัญญาประดิษฐ์จับโจร, หุ่นยนต์ซู่โม่จิ๋ว, หุ่นยนต์เก็บมะม่วง, หุ่นยนต์จากโครงการแข่งขันโอลิมปิคนานาชาติ, จักรยานพลังงานทดแทนแรงลมอัด,  สิ่งประดิษฐ์เชิงวิศวกรรมด้านการบินและอวกาศ, ผลงานจากโครงการประกวดขวดน้ำ และ ดาวเทียมกระป๋อง ,ผลงานการอบรมและแข่งขันพัฒนาเกมส์ดิจิทัล, Showcase ผลงานจากรายการประกวด PM Science Award , สิ่งประดิษฐ์สุดล้ำจากรายการ สมรภูมิไอเดีย และโครงงานจาก Big Rock Project ของ สวทช. เป็นต้น

ผศ.ดร.รวิน ได้กล่าวเพิ่มอีกว่าเติมว่า  “โครงการ “วิทย์สร้างคน” เป็นหนึ่งใน 3  ของนโยบายกระทรวงวิทยาศาสตร์  โดยเริ่มต้นจากวิทย์สร้างคน เพราะคนเป็นปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ  เมื่อ สร้างวิทย์สร้างคนแล้ว ก็จะเอาไปสร้างวิทย์แก้จนได้ ก็คือเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประกอบอาชีพปรับปรุงคุณภาพชีวิต  ส่วนสเตปที่ 3  คือ วิทย์เสริมแกร่ง  เสริมแกร่งก็คือเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ  โดยเรื่องของวิทย์สร้างคนโดยมากทุกคนก็จะมองเหมือนกันคือมองไปที่ เด็ก เพราะเด็กเป็นพื้นฐานสำคัญของอนาคต แต่เราอยากมองให้นอกกรอบ เพราะอพวช. เองมีศักยภาพในทำงานด้านสนับสนุนให้กับทุกหน่วยงาน ทั้งกระทรวงวิทย์  กระทรวงศึกษา อื่นๆ  ก้าวต่อไปเราต้องมองว่าเรามี ศักยภาพในการเดินนำร่องช่วยกันสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่จะช่วยสร้างเสริมนักวิทยาศาสตร์  สร้างสิ่งที่ทำให้คนสนใจด้านวิทยาศาสตร์ กิจกรรมการประกวดก็คือหนึ่งในเครื่องมือ  อพวช. จึงได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรปลุกเรื่องนี้ขึ้นมา  เราจะเล่นเรื่องของพ่อแม่ และครู เราจะเล่นเรื่องของเวทีการประกวดให้เด็กและเยาวชน และคนทุกๆ กลุ่มที่สนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งคนที่ไม่ได้สนใจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่มีความคิดสร้างสรรค์ได้มีโอกาสเข้ามาแสดงฝีมือ  โดยเริ่มต้นจากนวัตกรรมเป็นตัวตั้ง เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีนวัตกรรมของเราเองนักวิทยาศตร์จะถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัตเพื่อรองรับกับการเติบโตของนวัตกรรม  นวัตกรรมที่ว่าอาจจะเป็นนวัตกรรมเครื่องสำอางค์ อาจจะเป็นโรบอ๊ต อะไรก็ได้ที่เป็นนวัตกรรมทุกอย่างต้องการนักวิทยาศสาตร์ทั้งหมด“

ก็น่าไม่ใช่เรื่องแปลก...ที่ทุกวันนี้ผู้คนที่ไม่ได้สนใจในคำว่าวิทยาศาสตร์ กลับหลงใหลและยอมรับในเทคโนโลยี หรือ นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามาในชีวิตประจำวันกันอย่างง่ายดาย ตื่นเต้นทุกครั้งที่จะได้พบอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้อันทันสมัย ทั้งที่เทคโนโลยี หรือ นวัตกรรม ก็ล้วนแล้วแต่มาจากความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะนวัตกรรมและเทคโนโลยีคือวิทยาศาสตร์ที่เราสัมผัสเข้าถึงและจับต้องได้มากที่สุดนั่นเอง ทุกวันนี้แม้เรายังจะไม่สามารถทำให้ทุกคนเห็นถึงการใช้วิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  เรายังอาจจะมองไม่เห็นวิทยาศาสตร์ในฐานะระบบการคิดวิธีหนึ่งที่มีเหตุและผล อธิบายปรากฎการณ์ทางธรรมชาติใกล้ตัว และเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ  ได้ แต่ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สดใส ที่อพวช เร่งปลุกหัวใจนักวิทย์ในตัวเราให้ตื่นขึ้น นับเป็นสัญญาณที่ดีว่า วิทย์สร้างชาติกำลังเดินมาถูกทางแล้ว

(Advertorial)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook