“สนามบินลำปาง” ลุยขยายรันเวย์-หารือชาวบ้านกลุ่มเสี่ยงรับผลกระทบสิ่งแวดล้อม
( 31 ต.ค. 61 ) เวลา 11.30 น. ที่บริเวณห้องประชุม โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยจังหวัดลำปาง นายประจวบ กันธิยะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง, นางนวพร มีวาสนา ผู้อำนวยการท่าอากาศยานลำปาง เป็นประธานในการจัดการประชุม เข้าร่วมฟังความคิดเห็นของประชาชน
ในการศึกษาผู้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาท่าอากาศยานจังหวัดลำปาง โดยมีพ่อค้าประชาชนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องต่างๆ กว่า 500 คน เข้ามาร่วมประชุมในโครงการศึกษาผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการพัฒนาท่าอากาศยานจังหวัดลำปาง
เป็นโครงการปรับปรุงขยายรันเวย์ ขยายหลุมจอดเครื่องบินภายในท่าอากาศยาน ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ของกรมการท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม
โดยวันนี้ ( 31 ต.ค. ) มีการประชุม พูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดการนำเสนอโครงการจากบริษัทที่ปรึกษาต่างๆ เป็นการรับฟังของผู้เข้าร่วมประชุม เป็นการตอบข้อซักถามและผลกระทบอื่นๆ ที่ประชาชนจะได้รับ
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลการติดตาม ผู้โดยสารที่มาใช้บริการท่าอากาศยานจังหวัดลำปาง พบว่าปี 2560 มีผู้โดยสารกว่า 280,000 คน จำนวน 4,652 เที่ยวบินตามลำดับ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวเห็นว่ามีแนวโน้มการใช้บริการด้านการบินของจังหวัดลำปางสูงขึ้นต่อเนื่อง และคาดการณ์ว่าจำนวนผู้โดยสารในปี 2568 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า ท่าอากาศยานจังหวัดลำปาง อาจจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการ มากกว่า 5 แสนคน และมีแนวโน้มซึ่งจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นกรมการท่าอากาศยานจึงพิจารณา ศักยภาพของท่าอากาศยานลำปาง น่าจะไม่เพียงพอต่อการรองรับการขนส่งที่จะเกิดขึ้น ปัจจุบันท่าอากาศยานจังหวัดลำปางมีทางวิ่งกว้าง 30 เมตร และมีความยาว 1,975 เมตร ซึ่งตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ icao (ไอเคโอ) นั้นเป็นทางวิ่งที่ไม่สามารถรองรับอากาศยานขนาด 180 ที่นั่ง หรือสายการบินโบอิ้งได้
ซึ่งส่วนใหญ่สนามบินต่างๆ จะใช้ท่าอากาศยานที่มีความยาวของทางวิ่งหรือรันเวย์มากกว่านี้ และที่ผ่านมาทำไม่ให้สามารถ พัฒนาขยายสนามบินลำปางให้ใหญ่มากกว่านี้ได้ นอกจากนี้พื้นที่ความปลอดภัยทางวิ่งยังมีขนาดไม่เป็นไปตามมาตรฐานของการบินพลเรือน
อย่างไรก็ตามทางท่าอากาศยานจังหวัดลำปางนั้นมีความจำเป็นจะต้องขยายรันเวย์ขยายทางวิ่งเพื่อให้ปลอดภัยมากกว่านี้และรวมไปถึงลานจอดเครื่องบินและระบบไฟฟ้าต่างๆ ส่วนประกอบสิ่งก่อสร้างที่พักผู้โดยสารหลังใหม่เพื่อจะสามารถขยายและรองรับผู้โดยสารและรองรับอากาศยานที่มีขนาดใหญ่เช่นโบอิ้ง 737
และเป็นการรองรับกิจกรรมทางด้านขนส่งที่เดิมเพิ่มมากขึ้นจึงได้เข้ามาทำการศึกษาของเขตพื้นที่ศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในพื้นที่
อย่างไรก็ตามปัจจุบันสนามบินลำปางนั้นมีเที่ยวบินสายการบินเพียง 2 สาย คือ บางกอกแอร์เวย์และสายการบินนกแอร์ ซึ่งมีเที่ยวบินไปกลับต่อวันเพียง 7 เที่ยวบินเท่านั้น และใช้เครื่องบินขนาดเล็ก เป็นเครื่องบินใบพัดซึ่งมีขนาด 66 ที่นั่ง ไปจนถึง 86 ที่นั่งเท่านั้น
ซึ่งการประชุมผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง การขยายทำรันเวย์สนามบินลำปางในครั้งนี้ ได้นำประชาชน ชาวบ้าน ในพื้นที่ ผู้รับผลกระทบต่างๆ เข้ามาพูดคุยปัญหาเกี่ยวกับการก่อสร้างและการขยายรันเวย์ของท่าอากาศยานลำปาง ซึ่งมีชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ เข้ามาประชุมเป็นชาวบ้านในพื้นที่ที่รับผลกระทบจากการก่อสร้างอากาศยานพื้นที่ 11 ตำบล
โดยขอบเขตที่จะศึกษาและผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้นสนามบินจะสร้างแนววิ่งไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้ ซึ่งการก่อสร้างอาจจะไปกระทบกับประชาชนใน 11 ตำบลในพื้นที่ของจังหวัดลำปางดังกล่าว
อัลบั้มภาพ 6 ภาพ