ทนายดังชี้ รพ.ปฏิเสธรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน "มีโทษจำคุก 2 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท"

ทนายดังชี้ รพ.ปฏิเสธรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน "มีโทษจำคุก 2 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท"

ทนายดังชี้ รพ.ปฏิเสธรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน "มีโทษจำคุก 2 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีที่มีหญิงสาวโดนสาดน้ำกรดแล้วไปโรงพยาบาลแต่ถูกปฏิเสธการรักษาจนเสียชีวิตในที่สุดนั้น กลายเป็นประเด็นให้สังคมตั้งคำถามกันอย่างมากในเวลานี้

ล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทนายรัชพล ศิริสาคร แอดมินเพจ สายตรงกฎหมาย ระบุว่า การที่โรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาคนไข้ ถือเป็นเรื่องไร้จรรยาบรรณอย่างร้ายแรงมาก และยังผิดกฎหมายด้วย ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 36 และมาตรา 66 มีหลักคือ สถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและประเภทของสถานพยาบาลนั้นๆ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนั้น ผู้เสียหายยังเรียกค่าเสียหายได้อีก

>> สาวถูกสามีสาดน้ำกรด รพ.ดังไล่ไปรักษาที่อื่น สิ้นใจตายกลางทางบนแท็กซี่

>> “อัจฉริยะ” จ่อนำศพสาวถูกสาดน้ำกรด บุกหน้ารพ.เอกชน ไม่รับรักษาดับคาแท็กซี่

>> รวบตัวแล้ว มือสาดน้ำกรดหญิงดับหน้าโรงพยาบาล ญาติแบกโลงศพร้อง

>> คลิปปะทะเดือด! “อัจฉริยะ-หมอ รพ.ดัง” ลุกชี้หน้า ปมปัดรักษา สาวถูกสาดน้ำกรด

ทั้งนี้ เคยมีคำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ 11332/2555 พิพากษาว่า มีผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ มีอาการเจ็บปวด มีภาวะการบอบช้ำของสมองและโลหิตออกในสมอง จะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที พยาบาลเวรกลับสอบถามเรื่องใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เมื่อไม่มีคำตอบ จึงปฏิเสธที่จะรับผู้ป่วย และแนะนำให้ไปรักษายังโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งการปฏิเสธดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ป่วยตาย สถานพยาบาลต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ญาติผู้เสียชีวิต ดังนั้น สถานพยาบาล ไม่สามารถปฏิเสธผู้ป่วยฉุกเฉินได้ เพราะหากฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมายและต้องชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งผู้เสียหายควรเข้าแจ้งความดำเนินคดีไว้ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป การรับโทษทางทางอาญา ใครเป็นคนออกคำสั่งสั่งไม่รับผู้ป่วย คนนั้นอาจติดคุกได้ ส่วน รพ อาจต้องเสียค่าปรับ นอกจากนั้น ในเรื่องค่าเสียหาย คนที่ออกคำสั่งไม่รับผู้ป่วย+รพ อาจต้องร่วมกันรับผิดชอบ

โดยการรับโทษทางทางอาญา ใครเป็นคนออกคำสั่งไม่รับผู้ป่วย คนนั้นอาจติดคุกได้ ส่วนโรงพยาบาลอาจต้องเสียค่าปรับ นอกจากนั้น ในเรื่องค่าเสียหาย คนที่ออกคำสั่งไม่รับผู้ป่วย และโรงพยาบาล อาจต้องร่วมกันรับผิดชอบ

>> 6 อาการฉุกเฉินวิกฤติ เข้ารักษาในโรงพยาบาลฟรี 72 ชั่วโมง

>> วิธีปฐมพยาบาล คนที่โดนสาดน้ำกรด-กลืนน้ำกรดเข้าท้อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook