คนไทยรู้ไว้! ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ใช้ "สิทธิ UCEP" เข้าโรงพยาบาลได้ทุกที่

คนไทยรู้ไว้! ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ใช้ "สิทธิ UCEP" เข้าโรงพยาบาลได้ทุกที่

คนไทยรู้ไว้! ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ใช้ "สิทธิ UCEP" เข้าโรงพยาบาลได้ทุกที่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีเกิดเหตุหญิงสาวรายหนึ่งถูกสาดน้ำกรดเสียชีวิตบนรถแท็กซี่ โดยผู้ก่อเหตุเป็นสามีของผู้เสียชีวิตเอง ซึ่งรายงานระบุว่า หญิงสาวคนดังกล่าวได้เดินทางไปถึงรพ.แห่งหนึ่งพร้อมลูกสาววัย 12 ปี แต่ทางรพ. ได้บอกให้เด็กหญิงพาแม่ไปรพ.ที่มีประกันสังคม แต่คนเจ็บทนไม่ไหวเสียชีวิตก่อนจะไปถึงโรงพยาบาล เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา

>> สาวถูกสามีสาดน้ำกรด รพ.ดังไล่ไปรักษาที่อื่น สิ้นใจตายกลางทางบนแท็กซี่

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถเข้ารับบริการที่รพ.ที่ใกล้ที่สุด ได้หรือไม่..

เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว เฟซบุ๊กแฟนเพจชื่อดัง Drama-addict ได้อธิบายว่า ถ้าเป็นเจ็บป่วยฉุกเฉินและวิกฤติชีวิต สามารถเข้ารับบริการได้ในหน่วยบริการรัฐหรือเอกชนที่ใกล้ที่เกิดเหตุ ตามนโยบายของรัฐบาล และรพ.นั้นก็ต้องดูแล 72 ชม ก่อนส่งต่อไปยัง รพ.รัฐตามสิทธิต่อไป

ทั้งนี้ หาก รพ.เอกชนแห่งใด ปฏิเสธไม่รับการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการฉุกเฉิน ก็จะมีความผิดตาม พรบ.การแพทย์ฉุกเฉิน และหมอที่ปฏิเสธการรักษา สามารถถูกร้องเรียนถึงแพทย์สภา ถึงขั้นถอดถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้

สิทธิ UCEP หรือ Universal Coverage Emergency Patients คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายของรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤต และสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

สำหรับขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP มีดังนี้

  1. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
  2. โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
  3. ศูนย์ประสานความคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
  4. กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันที แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
  5. กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต ให้รับประสานโรงพยาบาลตามสิทธิ หากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

6 อาการที่เข้าข่าย ภาวะฉุกเฉินวิกฤต

  1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
  2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
  3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
  4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
  5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
  6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต 

ทั้งนี้ หากพบอาการที่เข้าข่ายเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถโทรไปที่เบอร์ 1669 ได้ทันที

>> 6 อาการฉุกเฉินวิกฤต เข้ารักษาในโรงพยาบาลฟรี 72 ชม.

>> วิธีปฐมพยาบาล คนที่โดนสาดน้ำกรด-กลืนน้ำกรดเข้าท้อง 

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ ของ คนไทยรู้ไว้! ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ใช้ "สิทธิ UCEP" เข้าโรงพยาบาลได้ทุกที่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook