เป๊ปซี่ ชวนท้าพิสูจน์ปลายทางของการแยกขยะ ถูกจับเทรวมกันหรือรีไซเคิลได้จริง
เราว่าหลายๆ บ้านน่าจะเคยเกิดปัญหานี้ เมื่อคนหนึ่งอยากแยกขยะตามประเภทก่อนทิ้ง แต่อีกคนกลับบอกว่าเดี๋ยวคนเก็บขยะก็เอาไปเทรวมกันอยู่ดี เสียเวลาแยกไปทำไม แถมในบางครั้งเราก็เห็นกับตาว่า คนเก็บขยะจับทุกถังทุกถุงเทรวมกันในรถเก็บขยะจริงๆ ว่าแต่ นี่คือปลายทางที่แท้จริงของการจัดการปัญหาขยะแน่ๆ ใช่ไหม
เป๊ปซี่เลยขอชวนคุณมาตามหาคำตอบด้วยกัน ผ่านคลิปวิดีโอสั้นๆ ชิ้นนี้ ที่ตีแผ่เบื้องลึกเบื้องหลัง มุมมอง และขั้นตอนการทำงานของคนเก็บขยะว่า ที่จริงแล้วกระบวนการเก็บขยะนั้นดำเนินไปอย่างไรบ้าง
ที่เราเข้าใจกันผิดว่าคนเก็บขยะต่างก็เอาขยะของทุกบ้านไปเทรวมนั้น กลับกลายเป็นว่าความจริงชวนสะอึกที่ว่า ก็เพราะพวกเราเกือบทุกบ้านนั่นแหละที่ไม่ได้แยกขยะเอาไว้ ทำให้พวกเขาต้องเทขยะรวมกันในรถ ก่อนที่จะต้องใช้เวลาหยิบขยะที่ Recycle ได้ แยกออกทีละชิ้น เช่น กระดาษ แก้ว ขวดพลาสติก กระป๋อง ฯลฯ ไว้ในถุงตามชนิด ก่อนจะนำขยะเหล่านั้นไปเข้าสู่วงจรการรีไซเคิลอย่างเป็นระบบผ่านโรงงานรับ Recycle อีกทอดหนึ่ง
ดังนั้น ถ้าพวกเราทุกคนช่วยกันแยกขยะตั้งแต่ต้นทางที่บ้านเรา ก็จะยิ่งช่วยให้พวกเขาทำงานได้ง่ายและเร็วขึ้น แถมยังสามารถดึงขยะที่ยังใช้ได้ออกมา Recycle ได้มากขึ้น ไม่ต้องไปปะปนกับขยะเปียกหรือเศษอาหารเหม็นเน่า จนเป็นอุปสรรคต่อการ Recycle ในท้ายที่สุด
แล้วรู้กันรึเปล่าว่า ประเทศไทยสร้างขยะพลาสติกลงทะเลสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก! ซึ่งแน่นอนว่าทางแก้ในแบบอุดมคติอย่างการไม่ใช้พลาสติกเลยนั้นเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่ก็เกิดขึ้นได้ยากที่สุดเช่นกัน ดังนั้น ในเมื่อเรายังจำเป็นต้องใช้พลาสติกกันอยู่ เมื่อใช้เสร็จแล้วก็ควรแยกทิ้งให้ถูกวิธี เพื่อให้พลาสติกที่ยังใช้การได้ถูกนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก ไม่ต้องเป็นขยะถมทะเลจนทำให้ระบบนิเวศน์เสื่อมโทรมลง
ยิ่งจากตัวเลขทางสถิติที่ระบุว่า ทุกวันนี้ คนเก็บขยะต้องจัดการกับขยะปริมาณมหาศาลมากถึง 27 ล้านตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับช้าง 13 ล้านตัว! แต่เรากลับนำขยะมา Recycle ได้เพียง 8 ล้านตันเท่านั้น ดังนั้น ถ้าพวกเราทุกคนเริ่มต้นแยกขยะที่บ้านของตัวเองตั้งแต่วันนี้ เชื่อเถอะว่า ปริมาณขยะใช้แล้วทิ้งจะต้องลดลงอย่างแน่นอน
#Pepsi #ขอบคุณทุกคนที่แยกขยะ
(Advertorial)